เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
What I'm Readingthefirstofmine
[เล่าให้อ่าน] โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน


  • โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน

    เขียนโดย ภูธร ภูมะธน
    สำนักพิมพ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

    เล่มนี้เป็นวารสารมิวเซียมสยาม สามารถสั่งซื้อได้ ที่นี่ 

    เราได้เล่มนี้มาจาก Museum inFocus ครั้งพิเศษ: ‘ประวัติศาสตร์พูดยาก’ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2016 แต่
    กว่าจะได้หยิบมาอ่านจริงๆ ก็เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 นี่เอง 

    ขอขอบคุณ Museum Siam มา ณ โอกาสนี้ด้วย








    "สัจธรรมจากประวัติศาสตร์ คือ บทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยตาย"




  • เนื้อหาภายในก็จะมีเรื่องราวรอบข้าง และประวัติของโกษาปาน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เปิดโลกใหม่ให้เราได้ ในสมัยของพระนารายณ์ อย่างเช่น 

    "พระนารายณ์พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดและโรงเรียนบ้านเณรให้กับบาทหลวงล็อมแบร์ต เดอ ลาม็อต คือวัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา"

    นี่คือเรื่องใหม่ที่เรารู้เลย


    พระนารายณ์ส่งราชทูตไปฝรั่งเศส
    • ครั้งแรก โดยพายุล่มแถบเกาะมาดากัสการ์ 
    • ครั้งที่สอง ไปถึงฝรั่งเศส ทั้งสองครั้งส่งไปเพื่อถวายพระราชสาส์น


    สาเหตุที่แท้จริงที่อยุธยาส่งราชทูตไปเพื่อสรรเสริญและให้ทะนุถนอมมิตรไมตรีต่อกัน 
    แต่ฝรั่งเศสต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตให้แน่นแฟ้น ให้พระนารายณ์เข้ารีต


    ประวัติของโกษาปาน
    • ในบันทึกของลาลูแบร์กับเดอแชซไม่ได้ระบุว่าแม่เป็นใครและพี่ชายชื่ออะไร 
    • ระบุแต่เพียงโกษาปานเป็นลูกพระนมของพระนารายณ์และพี่ชายเป็นขุนนางสำคัญในรัชสมัยพระนารายณ์ชื่อว่า พระคลังผู้ใหญ่ 
    • แต่ก็มารู้แน่ชัดจากหลักฐานอื่นว่า แม่คือเจ้าแม่วัดดุสิต และพี่ชายคือโกษาเหล็ก (ที่ชื่อเจ้าแม่วัดดุสิตเพราะธรรมเนียมผู้หญิงในราชสำนักอยุธยาจะทูลลาพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จากวัง ไปพักที่ตำหนักใกล้วัดเมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์เก่าตายโดยอาจผนวชเป็นชี เหมือนตอนพระเพทราชาสวรรคต กรมพระเทพามาตย์ (พระอัครมเหสี) ทูลลาขุนหลวงสรศักดิ์ไปประทับที่ตำหนักใกล้วัดดุสิต ที่ประทับเดิมของเจ้าแม่วัดดุสิต)
    • เอกสารฝรั่งเศสบางเล่มเรียกโกษาปานว่า "หม่อมปาน" น่าจะหมายความว่าโกษาปานเป็นเชื้อพระวงศ์ (Journal d' un voyage fait aux /indes Orientales tome 1)


    เมื่อคราวที่โกษาปานไปถึงฝรั่งเศส
    • หลักฐานไทยบอกโกษาปานได้เมียฝรั่งเศสมีลูกอยู่ด้วยกันสามปีแล้วจึงกลับ 
    • แต่เอกสารฝรั่งเศสบอกว่าราชทูตอยู่กรุงปารีสแค่ 5 เดือนเท่านั้น


    พงศาวดารอยุธยาไม่ได้ระบุถึงหน่อเนื้อเชื้อไขของโกษาปานว่าคือใคร แต่ยกย่องมารดาโกษาปานว่าเป็นผู้ที่พระนารายณ์ทรงเกรงใจ

    เซอร์จอห์นเบาว์ริงขอประวัติราชวงศ์จักรีจากพระบาทสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานพระราชหัตถเลขามาให้ว่า 
    • ต้นตระกูลราชวงศ์จักรีเป็นชาวเมืองหงสา (ชาวมอญ) เมืองหลวงของอาณาจักรพะโค เมื่อพระนเรศวรลูกพระมหาธรรมราชาขณะเป็นเมืองขึ้นของพะโคหนีกลับอยุธยาแล้วตั้งตนเป็นอิสระคนในตระกูลที่เป็นทหารของพระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ติดตามพระนเรศวรกลับมาด้วย ตั้งหลักแหล่งอยู่ในอยุธยา สร้างพระพุทปฏิมากรองค์ใหญ่ไว้ 
    • แล้วจารึกตระกูลขาดหายไปจนถึงรัชกาลพระนารายณ์ สองพี่น้องที่สืบเชื้อสายจากตระกูลที่ติดตามพระนเรศวร เป็นผู้ที่พระนารายณ์โปรดปรานมากที่สุด ผู้พี่รับตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ผู้น้องชื่อปาล (Pal) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตไปเยือนฝรั่งเศส
    • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่ากล่าวกันว่า บุพการีของพระองค์สืบสายเลือดต่อลงมาจากท่านผู้เป็นอภิชาตบุตร (โกษาปาน) นี้เอง


    หลักฐานชุดหลัง (ชุดสมัยยุคต้านลัทธิล่าอาณานิคม สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง 5) ดูเป็นหลักฐานที่ตั้งใจให้รายละเอียดสัมพันธ์กับเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่รู้กันดี



    มาถึงเรื่องราชทินนามโกษาปาน "ออกพระวิสูตรสุนทร" หรือ "ออกพระวิสุทธสุนทร" กันแน่ 
    กรมพระยาดำรงราชานุภาพหาข้อยุติได้ว่า 
    • วิสุทธิ์, วิสูทธ์ = สะอาด หมดมลทิน บริสุทธิ์
    • วิสูตร = ม่าน 
    ดังนั้น ราชทินนามโกษาปาน คือ ออกพระวิสุทธสุนทร

    ส่วนราชทินนามที่สมบูรณ์ของโกษาปาน คือ เจ้าพระยาศรีธรรมราช เดชชาติ อำมาตยานุชิต พิพิทรัตนราชโกษาธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ (Siamese Documents of the Seventeenth Century)





    ศัพท์แบบไทยๆ เช่น
         อิงวิยาโดร เอกโตรวิยารี > Envoy Extra Ordinary
         กุมปันหญี > Company






    ในส่วนของช่วงท้ายเล่ม จะมีคำถามและคำตอบที่เราน่าจะสงสัยกันเอาไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า บางเรื่องนั้นไม่ตรงกันระหว่างหลักฐานอยุธยากับหลักฐานฝรั่งเศส

    ใครเลือกโกษาปานเป็นราชทูตไปฝรั่งเศส?
    • หลักฐานอยุธยา: โกษาปานเป็นราชทูตไปฝรั่งเศสเพราะโกษาเหล็กเป็นผู้ผลักดัน
    • หลักฐานฝรั่งเศส: เชอวาลิเยร์ เดอ โชม็องต์ เห็นแววเฉลียวฉลาดจึงแนะนำให้ฟอลคอนเป็นผู้พิจารณาเลือกให้เป็นราชทูต

    โกษาปานไปฝรั่งเศสเพื่ออะไร? 
    1. หลักฐานอยุธยา: ให้โกษาปานไปฝรั่งเศสเพื่อสืบรู้ข้อเท็จจริง ว่าฝรั่งเศสในความเป็นจริงเป็นยังไง
    2. จัดหาของที่พระนารายณ์ต้องการ: พระมาลา 54 ใบ อาวุธ แว่นตาทองคำ กระจกเงา กล้องส่อง แก้วตกแต่ง สถาปัตยกรรม เครื่องแก้วเจียระไน นาฬิกาพก ฯลฯ
    3. เพิ่มพูนมิตรภาพเพื่อประโยชน์ทางการค้าของทั้งสองประเทศ
    4. ประกาศพระบรมเดชานุภาพกับประชาคมโลก

    ทำไมคนฝรั่งเศสจึงสนใจติดตามพฤติกรรมโกษาปาน?
    • พูดภาษาฝรั่งเศสได้ สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสปนภาษาไทยตั้งแต่เริ่มก้าวสู่แผ่นดินฝรั่งเศส
    • รสนิยมด้านศิลปะ มีการทดสอบรสนิยมของโกษาปานว่าชิ้นไหนควรชนะ ซึ่งตรงกับคณะกรรมการตัดสินการประกวดทุกประการ
    • เป็นนักพูด ช่างเยินยอ มีไหวพริบในการโต้ตอบ




    รู้หรือไม่? ที่ฝรั่งเศสก็มีโกษาปานฟีเวอร์กันนะ
    • ช่วงกลาง ค.ศ. 1686 - ต้น ค.ศ. 1687 มีการพูดถึงคณะราชทูตของโกษาปานอย่างทั่วเมือง มีการทำลอมพอกที่โกษาปานสวมขายกันเป็นพันๆ ใบ ภาพเหมือน และอีกต่างๆ นานา




    และในบั้นปลายชีวิตของโกษาปาน ถูกเฆี่ยนและถูกลงอาญาจนต้องตาย/ฆ่าตัวตาย





  • หนังสือเล่มนี้ให้เกร็ดความรู้เราเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


    จริงๆ เราเคยค้นๆ ประวัติของโกษาปานดูนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้อะไรมากมาย (เพราะตอนนั้นติดนิยายของรอมแพง เรื่องบุพเพสันนิวาส เลยไปค้นดู)


    อาจจะเป็นเล่มแรกๆ ที่เราอ่านแล้วรู้สึกตื่นเต้นกับข้อมูลของโกษาปาน


    จริงๆ เล่มนี้เหมาะกับการเอามานั่งอ่านเล่นมากๆ เลยนะ อ่านเพลินๆ เนื้อหาไม่หนักเท่าไหร่ แต่ได้ข้อมูลเพียบเลย แนะนำๆ


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in