เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สิ่งละอัน วันละหน่อยgood morning
1984 กับประเทศไทย 2020
  • “ระบบการควบคุม การโฆษณาชวนเชื่ การทำให้คนคิด พูดเหมือนกัน ละนำมาซึ่งการเซนเซอร์คนที่คิดต่างเห็นต่าง มันเป็นสิ่งเดียวกันเพียงแต่ในสังคมไทยมันมีกระบวนการทำที่แยบยล


    ข้อความจากอาจารย์วันรัก สุวรรณวัฒนา ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ใน Voice TV ในข้อ “1984 กับประเทศไทย สังคมที่ไร้เสรีภาพทางความคิด” เมื่ 8 ปีที่แล้ว... นานแล้วนะ แต่เรายังสามารถหยิบเรื่องนี้มาคุยกันได้ในยุคนี้อีก เป็นเศร้า

     

    เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาทั้งๆ ที่ไม่ได้เขียนอะไรจริงจังมาแสนนาน เขินแต่ก็อึดอัดหัวใจมาก เลยอยากชวนฟัง ชวนดูหนัง ชวนอ่าน “1984” วรรณกรรมรักในดวงใจของเรา เพราะมันเข้ากับบริบทสังคมไทยมากๆ ผ่านมาแล้วหลายปีมันนน ก็ยังเข้ากับสังคมไทยอยู่ งงนะ

     

    เอาล่ะก่อนที่จะเลือกข้างอะไรเราอยากให้มองย้อนกลับมาที่ตัวเองก่อน ตั้งคำถามกับหัวสมองนี่แหละ ต้องเข้าใจมันก่อนว่าคนเรามันปลูกฝังด้วยสังคม การเลี้ยงดู การศึกษา ชุดความคิดที่เกิดขึ้นมันเกิดจากการที่คนบางคนเลือกแล้วว่าจะใส่อะไรลงไปในสมองนุ่มนิ่มอ่อนแอของมนุษย์คนนึง แล้วมันก็ถูกถ่ายทอดส่งต่ออย่างกลมกลืนในสังคมจนเราแทบไม่รู้สึก ไม่เคยตั้งคำถาม แหกปากร้องเพลงชาติ ถอนสายบัว ไหว้พระสวดมนต์ เรียนประวัติศาสตร์ไทยไปตามที่ครูสั่ง ตามที่หนังสือบอก

     

    ความอันตรายมันอยู่ที่ความแยบยลที่ประเทศไทยทำได้นั่นแหละ ประชาธิปไตยปลอมๆ ที่เราคิดว่ามันงดงามสมบูรณ์ มันเป็นเรื่องตอแหล ทั้งๆ ที่หลายจุดมันแทบไม่ต่างจากการปกครองของเกาหลีเหนือหรือจีนเลย

     

    ประวัติศาสตร์ โฆษณาชวนเชื่อที่ถูกคัด ตัด ต่อ ปกปิด บิดเบือน เสริมแต่ง มันคือสิ่งที่มีอยู่จริง และในสมัยก่อนเทคโนโลยีที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้เราไม่เคยรู้เท่าทัน ติดแหงกและเชื่อหมดหัวใจในสิ่งที่ข่าวสารในหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์หยิบยื่นให้เรา พอมาถึงยุคนี้อินเทอร์เน็ตพาคนทั้งโลกมาพบกันมาแลกเปลี่ยนกัน ข่าวสารข้อเท็จจริงจากหลายแหล่งทั้งวงใน ทั้งตปท. เริ่มผุดขึ้นมาทำให้กลุ่มเด็กรุ่นใหม่หรือกลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้เบิกเนตรกับเรื่องราวที่ไม่เคยได้รับรู้ พวกเขากล้าที่จะยอมรับว่าเคยโง่ เสียใจกับการกระทำ ขอโทษคนที่เขาเคยต่อว่า และต้องการลุกขึ้นมาเรียกร้อง "สิทธิ" ร้องขอ "ความเป็นธรรม" และส่งต่อ “ความจริง”  

     

    ใน 1984 มีทั้งการลบประวัติศาสตร์ เขียนขึ้นมาใหม่ โฆษณาชวนเชื่อ ควบคุมความคิดด้วยการสร้างภาษาที่จำกัด ใช้การกระทำรุนแรงกับคนเห็นต่าง ทำให้คนที่มีความคิดไม่เหมือนชาวบ้านคิดว่าตัวเองผิดปกติ สำหรับเราตอนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนปี 1 ในวิชา TU110 สหวิทยาการมนุษยศาสตร์ (Integrated Humanities) อาจจะไม่เข้าใจมากนัก แต่ก็ได้รู้ว่าการล้างสมองเป็นแบบนี้นี่เองและยังจำฉากสุดท้ายของหนังได้ดี (ไม่สปอยหรอกนะและในวรรณกรรมหรือหนังเรื่องนี้มันก็เหมือนเอาประเด็นสังคมการเมืองที่ในหลายๆ ประเทศอาจกำลังเป็นอยู่มาเล่าให้เห็นภาพชัดมากขึ้นจนบางคนอาจบอกว่าไม่เห็นเหมือนไทยเลย สังคมในหนังมันเวอร์ไป แต่เรื่องจริงที่น่าเศร้าคือมันเหมือนกันนั่นแหละแต่ประเทศเรามันเก่ง มันแยบยล มันถูกทำให้เป็นเรื่อง “ปกติ” ทั้งที่ความจริงมัน "ไม่ปกติ" 

     

    เจตนาของเราคือไม่ว่าจะอยู่ข้างไหน อยากให้เข้าใจว่าเรื่องการถูกควบคุมความคิดความอ่านมันเป็นไปได้ มันมีอยู่จริง สมองที่เราไว้ใจนักหนาว่าเป็นของเรา เราคิดเองได้ มันไม่ใช่เสมอไป มองย้อนกลับไปสำรวจบริบทของสังคมที่หล่อหลอมเรามาตั้งแต่เด็กๆ ความเชื่อทุกอย่างที่พ่อแม่ครูอาจารย์ปลูกฝัง ตั้งคำถามกับมัน เปิดใจศึกษาหาข้อเท็จจริงในสังคมที่ไม่คุ้นชิน อย่าเพิ่งแบะปาก อย่าเพิ่งต่อว่าตัดสิน อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นการปลุกปั่น 

    เพราะสิ่งที่เราเป็นตอนนี้มันอาจเป็นผลผลิตจากการปลุกปั่นมาตลอดชีวิตก็ได้

     

    - อยากให้ลองฟังคลิปนี้จาก Voice TV ดูนะคะ หรือใน Readery ที่เล่าเรื่องในหนังสือได้ดีมาก และถ้าใครมีเวลาอยากอ่านหนังสือก็มีขายตามร้านค้าทั่วไปเลย ส่วนหนังเราหาซับไทยได้แค่เวอร์ชันเก่าขาว-ดำปี 1956 (ที่เราเคยดูเป็นเวอร์ชันปี 1984) อยากให้หนังแมสหาดูได้ง่ายจัง ทำไมกันนะ แง 


    1984 วรรณกรรมของการประท้วงในโลกที่ถูกบังคับให้ 2+2=5 | Readery EP.87

    https://www.youtube.com/watch?v=1oAsHL7C7f0

    1984 กับประเทศไทย สังคมที่ไร้เสรีภาพทางความคิด Voice TV

    https://www.youtube.com/watch?v=d7yI0V2PFec

    ภาพยนตร์ขุด "ไปลงนรกเถอะ Big Brother หรือ 1984" (บรรยายไทย)

    https://www.youtube.com/watch?v=IoSyVABfIUc

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in