เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
JJ’s Cambodian Culture Diaryjjjaypc
[บันทึกหน้า 9] สีสันแดนอีสานใต้: กันตรึม feat. หมอลำ
  • เราเคยไปเที่ยวสุรินทร์เมื่อตอนปีใหม่ 2 ปีที่แล้ว ไปอยู่บ้านเพื่อนสนิทคนสุรินทร์ อ.รัตนบุรี ขับรถไปคาเฟ่ศรีสะเกษ ไปต่อร้อยเอ็ด กลับอ.เมืองสุรินทร์ ทริปนี้เปิดหูเปิดตาอีสานใต้มาก ไม่เคยอยู่นานขนาดนี้ เราคนอีสานเหนือ สกลนคร รู้สึกว่าถนนหนทางอีสานใต้มันเจริญจัง (ฮา) รู้นะว่ามีประเทศบุรีรัมย์แต่ก็อดเปรียบเทียบไม่ได้


    ที่มาของภาพปกบันทึกของเรามาจากทริปสุรินทร์นี้แหละ ฟ้างามยามแลง ถ่าย ณ อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ เพื่อนคนสุรินทร์ของเราบอกว่าตัวเองสายลาว ไม่มีญาติฝั่งกัมพูชา รู้คำเขมรไม่กี่คำ แต่ถ้าเลยอำเภอนี้ไปแล้วเขาพูดภาษาถิ่นเขมรกัน ลาว-เขมร-ไทย Triligual ไปเลย นี่แหละทฤษฎีสัมผัสภาษา ตอนหาหัวข้อรายงานวิชาภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับภาษาไทย เพื่อนคนนี้บอกว่ามีนิทานพื้นบ้านเรื่องหนึ่ง เนียงเดาะทม แปลตรงตัวว่า นางนมใหญ่ (ใครอยากอ่านเพิ่ม ขอแปะลิงก์ https://e-shann.com/เนียง-ด็อฮ-ทม-นางนมใหญ่/ ไว้) แต่เราก็ไม่ได้ทำเรื่องนี้หรอก ถึงจะเคยเรียนวิชานิทานพื้นบ้านมาเทอมที่แล้วก็ตาม เราทำหัวข้อคำยืมภาษาเขมรในชื่อสถานที่ในจังหวัดสกลนคร


    กลับมาเข้าเรื่อง ขออัญเชิญเพลงในตำนานของอ้ายไผ่ พงศธรอีกรอบ เพลงดังรองลงมาจาก คนบ้านเดียวกันแค่มองตากันก็เข้าใจอยู่~ นั่นก็คือ เพลงสาวกันตรึม สีสันแดนอีสานใต้ หนุ่มบ้านไกลได้มาพบพา~ 


    ความพิเศษของอีสานใต้คือมีวัฒนธรรมเขมรชัดเจน รุ่งเรือง พูดภาษาถิ่นเขมร มีปราสาทเขมร เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จ.โคราช และอีกมากมายเป็นร่องรอยของผู้ปกครองเขมร อีกสิ่งหนึ่งที่เราเพิ่งจะรู้ว่าเป็นรากเขมรเช่นกัน คือ เพลงกันตรึม ซึ่งตอนแรกเราคิดว่าเป็นการแสดงฟ้อนระบำ ใครจะรู้ว่าเทียบเท่าหมอลำ ปกติเราฟังหมอลำอยู่แล้ว เป็นคนอีสานใครก็หนีไม่พ้นการฟังลำนะ ปรากฏว่าดนตรีกันตรึมเป็นดนตรีเช่นเดียวกับหมอลำ มีเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ร้องภาษาเขมร ไม่ว่าจะกันตรึมในอีสานใต้ หรือกันตรึมในกัมพูชา ต่างก็มีขนบที่ฟังดูก็รู้ว่าเป็นดนตรีแนวเดียวกัน เช่น กันตรึมมีการร้องว่า เจิ๊ดเอยเจิ๊ด หมอลำมีเด้อนางเด้อ เพลงทำนองสูงต่ำซ้ำท่อน ซึ่งถ้าใครฟังกันตรึมเกินสองเพลงต้องจับได้แน่นอน


    สิ่งที่เราตื่นเต้นอันดับแรกคือได้เจอนักร้องกันตรึมร่วมสมัย อันดับสองคือได้เจอหมอลำอีสานที่ไปร้องกันตรึม ไปเรียนรู้ขนบเพลงอีกแนว เป็นการพบปะสองวัฒนธรรม ลาว-เขมร หมอลำ-กันตรึม


    Note: เพลงหมอลำ-กันตรึมแนะนำให้ฟังสดจากการแสดงไลฟ์หรือคอนเสิร์ตเพื่ออรรถรสสูงสุด แต่ในนี้จะขอแปะลิงก์ Official ของเพลง ver. studio


    เริ่มที่เพลงแรกกันก่อน “จ็องบานปะปวนปรัง(ចង់បានប្រពន្ធ Prang)-ร็อคคงคย” ได้ยินทุกงาน



    เพลงนี้ขาดไม่ได้ “เจิ๊ดเอ๋ยเจิ๊ด : ร็อกคงคย” ตำนานกันตรึม ก่อนลองหาข้อมูล เราคิดว่าเป็นเพลงเขมรของกัมพูชาเลย ใครจะว่าเป็นเขมรสุรินทร์ เพราะร้องเป็นเขมรล้วน 100% ลาว 0% ไทย 0% ในเอ็มวีมีเนื้อเพลงคาราโอเกะภาษาไทยด้วย มี ver. remastered ใน YouTube ทั้งอัลบั้มนี้เลย




    เท่าที่ไปฟังการแสดงสดใน YouTube สองเพลงบนนี้ได้ยินทุกงานเลย อยากพาทุกคนเข้าวงการฟังดนตรีท้องถิ่นสด นักดนตรีมาจากกัมพูชาด้วย


    “โนกันตรึม - ยิ่งยง ยอดบัวงาม”



    เราชอบความหยอกล้อของเพลงนี้มาก มันเหมือนเพลง “อย่าขอหมอลำ : ต้อย หมวกแดง”



    สองเพลงนี้มีเส้นเรื่องเดียวกันคือ นักร้องปฏิเสธผู้ฟังที่มาขอเพลงว่าไม่ร้องหมอลำ/กันตรึม อ้างว่าไม่ทันสมัย ร้องไม่เป็น แต่ที่จริงก็ร้องเป็นปกติ ปฏิเสธพื้นเพไม่ได้ ตลกขบขัน เราชอบมาก มีอีกเพลงแนวเดียวกันคือ “กันตรึมสกา - ยิ่งยง ยอดบัวงาม”



    “รักบ่าวอีสานใต้ : จินตหรา พูนลาภ” เป็นการพบปะอีสานเหนือ-อีสานใต้ เอื้อยจินร้องตามขนบกันตรึม



    บันทึกหน้านี้เป็นหน้าโปรดของเราเลยแหละ ดูออกไหม เลือดอีสานมันเต้น หมอลำมันเข้ากับกันตรึม


    ตอนนี้หมอลำและเพลงอีสานมีแนวโน้มจะเป็น Popular culture เรื่อย ๆ กล่าวคือได้รับการยอมรับจากคนอีสานด้วยกันแบบไม่อายและคนภาคอื่น หวังว่ากันตรึมและเพลงเขมรจะได้รับการยอมรับ สืบทอด และเผยแพร่ไม่แพ้กัน

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in