เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
JJ’s Cambodian Culture Diaryjjjaypc
[บันทึกหน้า 6] เขมรแดง: Historical Amnesia เจ็บแล้วลืม
  • อยากพาทุกคนมารู้จัก Historical Amnesia การลืมเลือนประวัติศาสตร์ มักเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลที่เจ็บปวด นองเลือด ไม่อยากพูดถึง พยายามยามร่วมใจกันลืม เช่น การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง คนดำ คนพื้นเมือง LGBT ประชาธิปไตย หรือเหตุการณ์สังหารหมู่ในระบอบเขมรแดงที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 ใน 3 ถึง 1 ใน 4 ของประเทศกัมพูชา คาดว่าคนไทยหลายคนน่าเคยได้ยินเกี่ยวกับเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาก่อน โดยเฉพาะการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชานี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นการฆ่าล้างคนกัมพูชาโดยคนกัมพูชาด้วยกันเอง (auto-genocide) ระบอบพอล พตได้รับอิทธิพลมาร์กซิสเลนินนิสต์ การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน ซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ใช้เด็กและวัยรุ่นเป็นสายลับ ปฏิเสธอดีตหรือผู้อาวุโส และมีนโยบายที่เหยียดชาวเวียดนามไปจนถึงศาสนาอื่น


    ก่อนที่กลุ่มเขมรแดงจะได้รับเสียงปรบมือและต้อนรับด้วยรอยยิ้มจากชาวพนมเปญ ในวันพนมเปญแตก ค.ศ. 1975 ประเทศนี้ถูกโจมตีด้วยระเบิดจากกองทัพสหรัฐฯ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมาก่อนแล้ว เมื่อรวมกับการพยายามปฏิวัติเพื่อเริ่มต้นใหม่ปีที่ศูนย์ Year Zero (Cambodge L’Année Zero) ทำให้ผลของการปฏิวัติที่บริสุทธิ์นี้มีเหยื่อถูกสังหารหลายล้าน จำกัดคนเห็นต่าง ศัตรูทางชนชั้น พึ่งพาแต่ทรัพยากรในประเทศ สร้างสังคมใหม่โดยลบล้างสังคมเก่า 


    ผู้คนที่ต้องหาทางออกนอกประเทศ ผู้คนที่ต้องโกหกเพื่อเอาตัวรอด ผู้คนที่ถูกสังหารในเหตุการณ์นี้มีมากมายเกินกว่าที่ประเทศนี้จะเยียวยารักษาได้ ทั้งจากระเบิด การล่าสังหาร และโรคภัยไข้เจ็บ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมรุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ ที่รอดชีวิตมาได้ จะไม่อยากจดจำ รื้อฟื้น พยายามลืม ไม่เล่าเรื่องนี้ประสบการณ์นี้ให้ใครฟัง คนกัมพูชาที่ออกนอกประเทศไปได้อาจปฏิเสธความเป็นกัมพูชาไปเลย ผลกระทบคือคนรุ่นหลังกลับไปหารากเหง้าตัวเองไม่ได้ ทิ้งไว้ให้เป็นประวัติศาตร์บาดแผลที่ไม่มีใครอยากพูดถึง


    กล่าวได้เลยว่า ในการศึกษาอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับกัมพูชาจะไม่สามารถพูดโดยที่ไม่ยกระยะเวลาที่เขมรแดงปกครองได้เลย ระยะเวลา 4 ปีแห่งความทุกข์ทนมันสาหัสก่อนที่เวียดนามจะเข้าปลดปล่อย มันเพิ่งผ่านมาได้ไม่นานเท่านั้น คนกัมพูชาไม่ได้รับการเยียวยา ทำได้เพียงพยายามลืมไปเท่านั้น บันทึกหน้านี้เราขอแนะนำหนังสารคดีที่ยกประเด็นสภาพจิตใจคนกัมพูชาหลังเหตุการณ์เขมรแดง และสารสำคัญที่ว่า “ผู้ใหญ่ต้องเล่าเรื่องเขมรแดงให้ลูกหลานฟังไหม”


    ที่มา: https://www.imdb.com/title/tt5104670/

    Angkor Awakens: a Portrait of Cambodia (2017) นำเสนอสภาพจิตใจของคนกัมพูชาที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ มีภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งช่วยในการทำความเข้าใจสภาพสังคมกัมพูชาในภาพรวม เป็นไปได้ว่าคนทั้งประเทศจะเป็นโรคนี้ทั้งประเทศ เพียงแค่มีสิ่งกระตุ้นก็มีอาการหวาดผวา เข่น เห็นเด็กเดินมาข้างหลัง สามารถกระตุ้น (trigger) ความหวาดกลัวจากยุคเขมรแดง ซึ่งใช้เด็กและวัยรุ่น เป็นสายลับและยุวทหาร สารคดีเรื่องนี้ตั้งความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่ที่รู้ความจริงของประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก นั่นคือจะไม่ให้มีแรงสนับสนุนใดที่จะทำให้มีกลุ่มความคิดสุดโต่งอย่างอุดมการณ์เขมรแดงเกิดขึ้นอีก อะไรที่ทำให้คนพนมเปญปรบมือยิ้มต้อนรับขบวนเขมรแดง อะไรที่ทำให้คนเขมรเชื่อมั่นในตัวผู้นำ พอล พต อะไรที่ทำให้คนเขมรยังกลัวที่จะเรียนสูง ๆ


    เรื่องจิตใจเป็นเรื่องอ่อนไหวอย่างมาก หนังเรื่องนี้บอกว่าผู้ใหญ่ควรเล่าอดีตให้เด็กฟัง เพราะอนาคตอยู่ที่ตัวคนรุ่นใหม่ที่มีความฝันจะนำพาประเทศที่มีศักยภาพไปสู่ความรุ่งเรื่องได้ คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษากำลังเติบโต มีความคิดเป็นของตนเอง คิดมากกว่าแค่เอาชีวิตรอดไปวัน ๆ ต้องรื้อฟื้นรื้อสร้างความสับสนนี้ที่อยู่ในใจคนกัมพูชา พื้นที่นี้เป็นความทรงจำของประวัติศาสตร์และโครงสร้างของความรู้สึกที่คนกัมพูชามีร่วมกัน


    หากใครสนใจดูเรื่องนี้สามารถเช่าดูโดยจ่าย 98 บาทได้ทาง Apple TV บันทึกหน้าต่อไปเป็นการแนะนำหนังสารคดีกัมพูชาอีก อ่านเพิ่มเติมได้ในหน้าถัดไปเลย

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in