อาจเป็นคำถามที่คาใจใครหลายคนมานานแล้ว รวมถึงตัวฉันเองในอดีต
ไม่นานมานี้ฉันมีโอกาสได้รู้จักผู้ป่วยโรคนี้เป็นการส่วนตัวหลายคน และส่วนมากจะไม่เปิดเผยตัวตนกันว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า
ซึ่งฉันก็เป็นหนึ่งในนั้น
นั่นก็เพราะว่า
1. โรคนี้มันก็เหมือนหลุมดำ ที่อยู่ลึกสุดในใจ
เป็นเหมือนดาร์กไซด์ เป็นพื้นที่หวงห้าม
ที่สำคัญมันสร้างมลพิษให้โลกของคนรอบข้าง
เมื่อบอก ยิ่งรู้สึกว่าตนเป็นภาระ และยิ่งตอกย้ำความไร้ค่าในตัวเอง
2. การกระทำและสายตาของคนรอบข้างจะเปลี่ยนไป
ฉันเคยเปิดเผยเรื่องนี้เป็น public ในช่วงแรก
และได้รับรีแอกชันกลับมาอย่างหลากหลาย
เริ่มจากพ่อและแม่ของฉันที่พูดคุยกับฉันเหมือนเด็กตัวน้อย
ปกป้องราวกับเป็นขนนกที่บอบบาง
เพื่อนสนิทที่เลิกเล่าปัญหาชีวิตต่าง ๆ ให้ฉันฟังอีก เพราะกลัวฉันคิดมาก
เพื่อนที่เอะอะก็ให้กำลังใจอยู่เสมอ
โชคดีอยู่อย่างที่ยังไม่เคยเจอใครตีตัวออกห่างไปจากชีวิต
มันเหมือนจะดีใช่ไหมล่ะ? แต่เปล่าเลย
ยิ่งถูกปฏิบัติใส่เหมือนคนอ่อนแอ
ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองผิดปกติและแปลกแยกไปจากสังคม
ยิ่งรู้สึกเป็นภาระ ไร้ประโยชน์ และด้อยค่า
ไม่ใช่ว่าการได้รับกำลังใจเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับคนป่วย
แต่การได้รับมากเกินไปจะทำให้เรารู้สึกอ่อนแอกว่าเดิม
พออ่านจนถึงบรรทัดข้างบนแล้ว อาจจะมีสักคนที่คิดในใจว่า
"ยุ่งยากน่ารำคาญจังเนอะ การปฏิบัติตนต่อผู้ป่วยโรคนี้เนี่ย"
จริง ๆ แล้วมันไม่ยากเลยนะคะ
แค่เป็น คุณ คนเดิม คนที่ก่อนจะรู้ว่าเราป่วย เท่านั้นก็พอแล้ว
note พาคนใกล้ชิดที่อยู่กับเรา(ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า) ไปพบจิตแพทย์ด้วยกันได้นะคะ หมอจะแนะนำวิธีอยู่ร่วมกับผู้ป่วยแบบสบาย ๆ ให้ค่ะ : )
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แล้วคุณคนที่อ่านอยู่ มีเหตุผลส่วนตัวอะไรที่อยากแชร์ไหมคะ? : )
มาแชร์กันนะ
คนอื่นมองว่าเราเป็นคนเครียด เป็นคนโรคจิต
และเป็นคนบ้าครับ
ถ้าเรารู้ถึงหลักความเศร้าหมอง และไม่เศร้าหมองภายใน และความเป็น ‘สักแต่ว่า’ ของสิ่งทั้งหลาย เราจะเข้าใจธรรมชาติและหน้าที่ต่อธรรมชาติได้ดี คือ ธรรมชาติส่วนไหนควรกำหนดรู้ ธรรมชาติส่วนไหนควรละ ธรรมชาติส่วนไหนควรเข้าถึง ธรรมชาติส่วนไหนควรทำให้เจริญงอกงาม
พระอาจารย์ชยสาโร