เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
kumagumi X APP JP LINGkumagumi
8. Story Telling ② : เล่าเรื่องอย่างไรให้เหมือนคนญี่ปุ่น

  • สวัสดีค่าทุกคน クマグミ กลับมาพร้อม Storytelling part 2 ตามสัญญาแล้วว รอกันนานไหมคะ(≧▽≦)
    แม้ในครั้งที่แล้ว (Storytelling ① : การเล่าเรื่องที่ดีเราได้รู้แล้วว่าโครงสร้างของเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องที่ดีเป็นยังไง แต่ในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ถ้าอยากจะเล่าให้ลื่นและเข้าใจง่ายเหมือนกับคนญี่ปุ่น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ก็สำคัญค่ะ ถ้าเกิดใช้สำนวนที่ปกติไม่ใช้ในการเล่าเรื่อง ถึงจะยังเข้าใจได้อยู่ แต่ก็อาจทำให้ฟังแล้วไม่ลื่นหู หรืออ่านแล้วสะดุดในบางช่วงได้เช่นกันค่ะ

    ดังนั้น ก่อนที่เราจะไปดูสำนวนที่ใช้ในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น มาทำควิซที่เรารักกันดีกว่าค่า55555 (ครั้งก่อนไม่ได้ทำ คิดถึงกันแล้วแน่ ๆ ?)

    Q: ข้อใดพบในการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นมากกว่าคนไทย?
      A. เน้นการเล่าแบบบรรยาย ไม่เน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร
      B. ไม่ใช้คำสันธาน (接続詞) เชื่อมระหว่างประโยค
      C. มีการใส่บทสรุปและความคิดเห็นของผู้เล่า

    เฉลย : C. มีการใส่บทสรุปและความคิดเห็นของผู้เล่า นั่นเอง ตอบกันถูกไหมเอ่ย
    .
    .
    .
    ตอบกันถูกไหมน้า? สำหรับเหตุผลของคำตอบจะขออธิบายในส่วนถัดไปนะคะ

    *คำตอบของควิซด้านบน และความแตกต่างในการเล่าเรื่องระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นที่เราจะพูดถึงต่อจากนี้มาจากรายงานหนึ่งฉบับและข้อสังเกตที่ได้จากการเรียนในห้องเท่านั้นนะคะ ในการเล่าเรื่องจริง ๆ อาจจะพบอะไรที่หลากหลายกว่านี้ก็ได้ จำไว้เป็นความรู้พอกรุบกริบละกันเนอะ


    ?คนไทยเล่าเรื่อง VS คนญี่ปุ่นเล่าเรื่อง?

    จากครั้งที่แล้วที่เราได้ลองเล่าเรื่องจากภาพ 外国人 ไปและได้เห็นตัวอย่างของคนญี่ปุ่นแล้ว ทุกคนพอจะเห็นความแตกต่างบ้างไหมคะ ถัดไปเราจะไปดูความแตกต่างในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นของคนไทยกับคนญี่ปุ่นที่เราพบตอนเรียนในคาบกันค่ะ

    1. การใช้ 談話展開型連体修飾節(だんわてんかいがたれんたいしゅうしょくせつ)

    談話展開型連体修飾節 เป็นการนำสถานการณ์/สิ่งที่เกิดขึ้น ฯลฯ มาวางขยายหน้าคำนามที่เป็นประธานของประโยค ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวละครในเรื่อง เช่น
      
    かさを持って待っている子供に気がついた お父さんは、自分のかさを背中に隠しました。

    = พ่อที่เห็นลูกถือร่มรออยู่นั้นได้ซ่อนร่มของตนเองไว้ด้านหลัง

    ซึ่งเป็นการเน้นประธานในประโยคนี้คือ “พ่อ” และกล่าวโดยมองจากมุมมองของพ่อว่ามองเห็นอะไร รู้สึกตัวเรื่องอะไร (…子供に気がついた) ซึ่งการนำส่วนขยายยาว ๆ มาวางไว้หน้าคำนามแบบนี้พบในการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นมากกว่าค่ะ

    ลักษณะเฉพาะของ 談話展開型連体修飾節
    • 主名詞 หรือคำนามหลัก (ประธานของประโยค) มักจะเป็น “คน”
    • 連体節述語 หรือ ส่วนภาคแสดงของอนุประโยคที่ขยายคำนาม มักจะอยู่ในรูป ~た、~ていた
    • หลัง 主名詞 จะตามด้วย は/が
      ー> จะอยู่ในรูป 連体節+主名詞+は/が... (อนุประโยคขยายคำนาม+คำนาม+は/が...)
    • มักจะมี 知覚動詞 (คำกริยาที่แสดงการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การมอง, ฟัง, รับรส, รู้สึก, ฯลฯ) ในอนุประโยคที่ขยายคำนาม เช่น 見る、聞く、気づく、感じる เป็นต้น
    • มักจะมีการใส่ こ/そ ในอนุประโยคที่ขยายคำนาม เช่น それを見た男の子は...

    2. การใส่บทพูด/ความคิดของตัวละคร

    การใส่บทพูดเช่น 「やばい!どうしよう」และการอธิบายว่าตัวละครกำลังคิดอะไรอยู่นั้นช่วยให้เรื่องเล่าของเราไม่น่าเบื่อ และเข้าเข้าใจความรู้สึกของตัวละครได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งการเล่าแบบนี้ก็พบในการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นมากกว่าค่ะ ในขณะที่เราและเพื่อน ๆ คนไทยมักจะเล่าด้วยการบรรยายแค่ว่าใครทำอะไร และเรื่องจบยังไงเท่านั้น ส่วนตัวรู้สึกว่าการเพิ่มบทพูดหรือมุมมองของตัวละครเข้าไปช่วยให้เรื่องสนุกขึ้นมากเลยค่ะ

    3. การใช้ ~てしまう・~ていく・~てくる เพื่อเพิ่มอรรถรส

    ~てしまう เป็นไวยากรณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดได้ด้วย จึงใช้เพิ่มอารมณ์ความรู้สึกได้ ค่ะ การใส่ ~てしまう ท้ายประโยคจึงช่วยให้เรื่องราวของเราดูมีชีวิตชีวา และน่าสนใจขึ้น
    ส่วน ~ていく・~てくる จะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลง/เคลื่อนที่เข้าหา-ออกจากอะไรบางอย่าง ทำให้เรื่องดูไม่แข็งไม่ทื่อค่ะ คิดว่าคนไทยอาจจะไม่ค่อยชินกับการใช้ไวยากรณ์เหล่านี้เท่าไหร่ ทำให้ไม่ค่อยพบในการเล่าเรื่องค่ะ แต่ถ้าเราใส่เพิ่มเข้าไปได้เรื่องก็จะยิ่งดูมีมิติขึ้นและดูเป็นธรรมชาติด้วยค่ะ

    4. การใช้ 接続詞

    ในการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นมักจะพบการใช้ 接続詞 หรือคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคค่ะ การเลือกใช้คำสันธานที่เหมาะสมจะช่วยให้เรื่องเราสมูทขึ้น และช่วยเน้นจุดสำคัญได้ เช่น ถ้าใช้คำว่า すると、...(ทันใดนั้น...) ก็จะทำให้รู้ว่ากำลังจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น และช่วยดึงความสนใจของผู้ฟัง/ผู้อ่านได้ค่ะ อย่าลืมเอาไปใช้กันดูน้า

    5. การสรุป/ความคิดเห็นในตอนท้าย

    ในรายงานเดียวกันกับแบบสำรวจเรื่องเล่าที่ดีสำหรับคนญี่ปุ่นที่เราได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ ก็มีการเปรียบเทียบการเล่าเรื่องของคนไทยกับคนญี่ปุ่นด้วยค่ะ และมีการสรุปออกมาว่าในการเล่าเรื่องจากภาพ 外国人 นี้ คนญี่ปุ่นมีการสรุปหรือใส่ความคิดเห็นเกือบ 40% ในขณะที่คนไทยมีไม่ถึง 20% ค่ะ และจากการสังเกตการเล่าเรื่องของเพื่อน ๆ ก็ไม่ค่อยเห็นการสรุปในตอนท้าย หรือใส่ความเห็นประเมินเรื่องราวเท่าไหร่ค่ะ ควิซในตอนต้นจึงตอบข้อ C. นั่นเอง ดังนั้นถ้าอยากให้เรื่องฟังดูเหมือนคนญี่ปุ่นมากขึ้น ก็ลองเพิ่มสองสิ่งนี้เข้าไปดูนะคะ

    นอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของไวยากรณ์ คำศัพท์ และสำนวนเฉพาะที่ใช้กับบริบทของเรื่องนั้น ๆ ค่ะ ถ้าไม่รู้มาก่อนว่าในบริบทแบบนี้ควรพูดยังไง ก็อาจจะทำให้เลือกใช้ผิดคำได้ (เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ555555)

    ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างสำนวนที่สามารถนำมาใช้กับเรื่องนี้ได้นะคะ

    ① สบตากับ...
    • ~と目線が合う (≠目を合わせる ถ้าใช้คำนี้จะหมายความว่าตั้งใจสบตาค่ะ)
    • たまたま目が合ってしまった
    • ふと、~と目が合ってしまった
    • ふと視線を移すと、外国人と目が合った
    ② คล้องกล้องไว้ที่คอカメラを首からぶらさげる
    ③ ถือแผนที่ไว้
    • 地図を片手に、~する
    • 地図を手に持った外国人
    • 柱を背にして地図を広げている観光らしき外国人と目が合ってしまう
    ④ แกล้งทำเป็นกำลังอ่าน ~読んでいるふりをする
    ⑤ ซ่อนในหนังสือพิมพ์ของคนข้าง ๆ
    • 隣の人の新聞に隠れてしまった
    • 新聞の陰に隠れた
    • 新聞の後に隠れてしまった
    • 新聞の中に隠れてしまった
    • 男Bは男Aの広げた新聞紙と胸の間に入り込んで顔を隠した



    ?มาปรับเรื่องเล่าให้ดีขึ้นกันเถอะ?

    ในเมื่อเรารู้แล้วว่าคนญี่ปุ่นเล่าเรื่องกันแบบไหน เราลองเอาเรื่องเล่าของตัวเองที่อัดเสียง/เขียนไว้ มาปรับแก้ตามนี้กันดีกว่า ด้านล่างเป็นตัวอย่างของเรานะคะ
      
    Before
     ある男の人が、ロビーのソファーに座っています。この男の人は、新聞を読んでいる男性の左側に座って、くつろいでいます。そのうち、ふと、地図を持っている外国人と目が合ってしまいました。すると、その外国人が座っている男の人に道を聞こうと近づいてきました。ところが、座っている男の人が外国人と話したくないので、突然隣の人の新聞の後に隠れて、一緒に読んでいるふりをしてしまいました。結局、そのしぐさが見えた外国人は、道を聞くのをやめることにしました。

    After
     ペエスケは、ロビーのソファーに座ってくつろいでいます。ペエスケの隣には、新聞を読んでいるおじさんがいます。そのとき、ペエスケは、ふと地図を手に持った外国人と目が合ってしまいました。すると、その外国人は目的地がどこにあるのかを説明してもらうために、ペエスケに近づいてきました。ところが、地に詳しいわけではないペエスケ面倒が起こる前に逃げたくなったので、隣のおじさんが読んでいる新聞の後に隠れて、一緒に読んでいるふりをしてしまいました。結局、そのしぐさを見た外国人は、道を聞くのをやめることにしました。

    สีน้ำเงินคือ 談話展開型連体修飾節 ที่เราเพิ่มเข้ามาค่ะ และตรงที่ขีดเส้นใต้คือความคิดของตัวละคร ส่วนตรงที่เป็นสีแดงเราแก้คำศัพท์ที่ใช้ผิด แล้วเราก็ใส่ชื่อให้ตัวละครด้วยค่ะ พอจะเห็นความแตกต่างกันไหมคะ (ใครลองแก้แล้วเป็นยังไงบ้างเอามาแชร์กันได้น้า)

    จบแล้วเย่~ เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย การปรับปรุงทักษะการใช้ภาษาต้องใช้เวลาแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลเนอะ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่สามารถนำไวยากรณ์หรือสำนวนเหล่านี้ไปใช้ได้ทันทีเลยก็ไม่ต้องเสียใจไปนะคะ การหมั่นฝึกฝน และนำมาใช้บ่อย ๆ จะช่วยให้เราเล่าเรื่องได้คล่องและเหมือนกับคนญี่ปุ่นได้ในสักวันหนึ่งแน่นอน! เราเองก็ยังเล่าไม่เก่งเลยค่ะ ยังมีหลายจุดที่ต้องปรับแล้วก็ฝึกอีกเยอะเลย มาพยายามไปด้วยกันน้า がんばりましょう!ᕙʕ •ᴥ•ʔᕗ

    ตอนนี้ก็เป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์ kumagumi X APP JP LING แล้วค่า ขอบคุณทุกคนที่ติดตามมาจนถึงตอนนี้นะคะ?❤️

    クマグミ



    สรุปคำศัพท์

    接続詞      せつぞくし     = คำสันธาน/คำเชื่อม
    談話展開型連体修飾節 だんわてんかいがたれんたいしゅうしょくせつ 
                       = การนำสถานการณ์/สิ่งที่เกิดขึ้น ฯลฯ มาวางขยายหน้าคำนามที่เป็นประธานของประโยค
    気がつく     きがつく      = รู้ตัว
    背中       せなか       = หลัง
    隠す       かくす       = ซ่อน
    主名詞      しゅめいし     = คำนามหลัก
    連体節      れんたいせつ    = อนุประโยคขยายคำนาม
    述語       じゅつご      = ภาคแสดง
    知覚動詞     ちかくどうし    = คำกริยาแสดงการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส  
    首からぶらさげる くびからぶらさげる = คล้องไว้ที่คอ
    柱を背にする   はしらをせにする  = หันหลังให้เสา
    観光       かんこう      = การท่องเที่ยว
    ふりをする              = แกล้งทำเป็น...
    新聞紙      しんぶんし     = กระดาษหนังสือพิมพ์
    入り込む     はいりこむ     = เข้าไปข้างใน
    くつろぐ               = พักผ่อนหย่อนใจ/ทำตัวตามสบาย
    目的地      もくてきち     = จุดหมายปลายทาง
    近づく      ちかづく      = เข้าใกล้
    しぐさ                = ท่าทาง
    地に詳しい    くわしい      = เชี่ยวชาญ/รู้เกี่ยวกับสถานที่เป็นอย่างดี
    結局       けっきょく     = ในที่สุด/ท้ายที่สุด 


    Source:
    เอกสารประกอบการเรียนครั้งที่ 13-14 เรื่อง Storytelling
    近藤めぐみ 2014「「語り」において「話題に対する自分の態度を示す」重要性―日本語母語話者と学習者のストーリーテリングからみ る一考察―」 2223742言語習得入門レポート
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
padumpalm (@padumpalm)
พอลองมาเปรียบเทียบการเล่าแบบไทยๆกับของคนญี่ปุ่น รู้สึกว่าของญี่ปุ่นดูเร้าใจและเข้าใจง่ายกว่าจริง ๆ ค่ะ ยิ่งตรงที่เป็นการล้อคมุมมอง หรือการสรุปจบเนื้อเรื่อง ที่คูมคุมะกุมิสรุปไว้ถือว่าดีมากค่ะ แต่ส่วนที่เข้าใจยากก็น่าจะเป็นการขยายคำนามยาวๆค่ะ เพราะคนไทยไม่ค่อยนิยมพูดกัน ดูท่าจะต้องปรับตัวอีกเยอะเลยละค่ะกว่าจะเล่าได้เป็นธรรมชาติแบบนิฮงจิน
k.l.k (@k.l.k)
เป็นการสรุปที่ยอดเยี่ยมมาก ลำดับเรื่องชัดเจน มีตัวอย่างทั้งก่อนและหลัง ดีมากเลยค่ะ