สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้เกี่ยวกับบรรยากาศการเรียนของเราในคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี1 จนถึงปัจจุบัน
หลังจากจบการศึกษามัธยมปลายเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียนคณะอะไรดีเพราะคณะที่อยากเข้าคะแนน admission ของเราไม่ถึงตามที่คณะต้องการ จนเพื่อนมาแนะนำว่าให้ลงคณะสังคมวิทยาฯเอาไว้ณ ตอนนั้นคะแนนadmission อยู่ประมาณ 18,000+ รวมกับพี่เราแนะนำด้วย ทำให้เราตัดสินใจที่จะลง admission เป็นอันดับหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับคณะเลย เช่น ไม่รู้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร สภาพสังคมในคณะ มหาวิทยาลัย คิดแค่ว่ามีที่เรียนก็พอแล้วในตอนนั้น หลังจากผ่านการสัมภาษณ์แล้วเข้ามาเป็นนักศึกษาคณะนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้น
ปี 2 : ทฤษฎีพื้นฐานพี่ผ่านมาหมดแล้ว
ปี 1 ที่เรียนมายังไม่เข้าใกล้ความเป็นนักสังคมวิทยาเท่าไรนักมีแค่ วิชาการเขียนของนักสังคมวิทยา ที่เราสัมผัสและรับรู้ได้ถึงความไม่ธรรมดาของคณะนี้เข้าให้แล้ว วันเวลาผ่านไปทักษะการเขียนที่ได้รับการสั่งสอนมาดูเหมือนจะหายไปกับการปิดเทอม เมื่อเริ่มต้นปี 2 ความเข้มข้นของวิชาคณะที่เราต้องเจอก็เริ่มต้นขึ้น
วิชาที่ควรลง! พวกวิชาพื้นฐานของคณะ เช่น สังคมวิทยาเบื้องต้น มานุษยวิทยาเบื่องต้น ปรัชญาและวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม และวิชาในเอกที่ตนเองเลือกไว้ เนื่องจากวิชาที่กล่าวมาในความคิดเรามันเป็นตัวช่วยให้มองเห็นภาพ หรือเข้าใจแนวคิดต่าง ๆ ที่นำไปใช้ในการทำวิจัยช่วงปี 3 ปี 4
วิิชาข้างต้นที่กล่าวมาเราได้ลงเรียนในปี 2 ทั้งหมด ความตลกร้ายในชีวิตเราคือ ไม่เข้าใจอะไรเลยที่อาจารย์แถมเพื่อน ๆ ในห้องยังดูมีการเตรียมตัวมาก่อน พออาจารย์พูดถึงทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนก็ดูเข้าใจไปหมด เรากลับมานั่งครุ่นคิดหรือนี้จะเป็นบททดสอบเพื่อมาพิสูจน์เรากันนะ เริ่มที่วิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น สอนเกี่ยวกับ ทฤษฎีทางสังคม เช่น โครงสร้าง-หน้าที่ ขัดแย้ง และมีอีกหลายทฤษฎี
ส่วนวิชามานุษยวิทยาเรารู้สึกเข้าใจง่ายกว่าสังคมอาจจะเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่า ในตอนนั้นมีอาจารย์สลับกันมาสอนในแต่ละสัปดาห์ เรื่องที่สอนมีเกี่ยวกับ ภาษา โบราณคดี วิวัฒนาการมนุษย์ พิพิธภัณฑ์ และศาสนาความเชื่อ ยังมีเนื้อหาอื่นที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
วิชาที่เป็นไฮไลท์สำหรับเราคือ ปรัชญาและวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม วิชานี้อาจารย์ให้เราดูภาพยนตร์ตามเรื่องที่กำหนดให้ หลังจากนั้นก็หาความจริงทางปรัชญา(จำไม่ค่อยได้ว่าอาจารย์ให้โจทย์ว่าอย่างไรแต่เกี่ยวกับปรัชญา) เป็นงานที่โหดสำหรับเรามาก เป็นอะไรที่เกี่ยวกับนามธรรมสุด ๆ ตอนเรียนเราก็ต้องแยกความจริง ไม่จริง คำถามต่าง ๆ ที่ชวนให้เราสงสัยว่าคนที่คิด คิดออกมาได้อย่างไร เป็นวิชาที่ถ้าใครได้เรียนแล้วก็ต้องจำฝั่งใจกันบ้าง555
เราเรียนรู้ว่าความง่ายในการเรียนคือ ถ้าคุณเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ของทฤษฎีหรือแนวคิด และแยกองค์ประกอบของมันได้ คุณจะรู้ทันทีว่าทฤษฎี แนวคิด นั้นต้องการสื่อถึงอะไร
ส่วนความยากคือ ถ้าคุณเป็นเหมือนเราที่ไม่เข้าใจ ก็จะไม่รู้ว่าทฤษฎีต้องการเสนออะไรกันแน่
ทำให้ สิ่งที่เราพบเจอในช่วงปี 2 ส่วนใหญ่เป็นความมึนงงกับทฤษฎีต่าง ๆ ว่าต้องการจะสื่ออะไร ข้อเสนอคืออะไร ต้องวิเคราะห์เข้ากับปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างไร แต่พอเรียนจนถึงปี 3 ก็ช่วยคลายความมึนงง เพราะ ทักษะที่เราได้เพิ่มมาจากการเรียนคือ การอ่าน เราต้องอ่านทฤษฎีเหล่านั้นซ้ำไปมา ทำความเข้าใจจะช่วยให้เห็นข้อเสนอของทฤษฎี
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in