สวัสดีครับ
ผมยำนาเบะ
วันนี้ผมจะมานำเสนอในหัวข้อเกี่ยวกับอาชีพหนึ่งที่คนเรียนญี่ปุ่นชอบทำกันครับ
.
…
…..
นั่นก็คือ สไตล์การแปลและปัญหาคำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 ที่นักแปลต้องปวดหัวกันครับ
ฮั่นแน่ หลาย ๆ คนก็คงจะเล็งอาชีพนี้ไว้ใช่ไหมแหละครับ หรือไม่ก็อาจจะมีบางท่านที่กำลังทำอยู่ก็ได้
(ผมเองก็เคยทำงานแปลในช่วงที่ยังเรียนอยู่ปี 2 แต่ก็นะ พอชั้นปีเริ่มสูงขึ้นก็เริ่มไม่มีเวลาทำแล้ว ฮา)
อนึ่ง วันนี้ผมไม่ได้จะมาพูดเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ นะครับ
//แป่ว
แหงแหละ ใครเขาจะพูดกัน !
เรื่องของเรื่องก็คือ ช่วงที่่ผ่านมาผมได้เข้าไปวิทยากรท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์การทำงานแปลมาก่อน
อันที่จริงก็คือรุ่นพี่ที่จบไปแล้วนั่นแหละ (ฮา)
โดยมากแล้วเขาจะพูดถึงระบบการทำงานในสำนักพิมพ์ การเลี่ยงคำบางคำ การไม่ใช่สำนวนต่างประเทศเวลาแปล หรือสำนวนในการแปล
แต่ !!!!
วันนี้ผมไม่ได้จะมาพูดเรื่องนั้นครับ แฮ่
ถ้าถามว่าทำไมเหรอ สไตลก์การแปลของผมกับพี่วิทยากรเขามันไม่ตรงกันเลยน่ะสิ
—--------------------------------
พี่เป็นใครใหญ่มาจากไหนเนี่ย เป็นแค่นักเรียนจะไปแข็งข้อกับคนมีประสบการณ์ทำงานได้ยังไง
// ฮือ ผมก็มีหลักการที่ผมเชื่อว่ามันถูกต้องอยู่เหมือนกันนะ
เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้อ่านทุกท่านที่สนใจจะทำอาชีพนักแปลในอนาคต คุณไม่ต้องเชื่อผมทุกเรื่องก็ได้ ทุกคนล้วนมีสไตล์เป็นของตัวเอง ผมไม่ตัดสินว่าสไตล์ไหนคือสไตล์ที่ถูกต้องอย่างแน่นอน
เอาล่ะ เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า
—---------------------------------
ปกติแล้วเวลาทุกคนแปล (การ์ตูน/มังงะ/ไลท์โนเวล/เกมม) ทุกคนจะเริ่มทำอะไรก่อนเป็นอันดับแรกครับ
อ่านงานที่ต้องแปลทั้งหมดก่อนแล้วค่อยแปล
ค่อย ๆ อ่านทีละประโยคแล้วแปลไปพร้อม ๆ กัน
แน่นอนครับว่าไม่มีวิธีไหนถูก 100% และก็ไม่มีวิธีไหนผิด 100% ครับ
แต่ถ้าให้ผมแนะนำ ผมแนะนำแบบแรกครับ
เหตุผลคือบางทีเราอ่านไปแปลไปแล้วเราไม่เก็ตในบางบริบทครับ
นึกภาพว่า เราแปลไลท์โนเวล เราเห็นบริบทที่ตัวละครรำพึงรำพันกับตัวเองแล้วในบทนั้นเรียกตัวเองว่า 自分
อ้าวแล้วนี่เป็นบทของใครล่ะ ?
ถ้าเป็นผู้ชายก็ใช้ ผม/ฉัน/ตัวเอง
ถ้าเป็นผู้หญิงก็ใช้ ฉัน/ตัวเอง
แน่นอนว่าแปลว่า “ตัวเอง” ก็ได้
แต่อย่าลืมนะครับว่าคำว่า “ตัวเอง” ในภาษาไทยไม่ได้ใช้เรียกตัวเองบ่อยเท่าภาษาญี่ปุ่น
ถ้าคุณร่ายยาวบทรำพึงรำพันว่า “ตัวเอง” คนอ่านจะรู้สึกว่าน่ารำคาญครับ
ในกรณีที่คุณแปลว่า ผม แล้วพออ่านไปอ่านมาปรากฎ บทนี้ผู้หญิงเป็นคนรำพึงรำพัน
คุณก็จะต้องกลับมาแก้ยาว ๆ เลย
คือถ้าพูดกันตามหลักภาษาศาสตร์ตรง ๆ คำใช้เรียกสรรพนามบุรุษที่ 1 (一人称)ในภาษาญี่ปุ่นมีมากกว่าภาษาไทยครับ
นั่นทำให้หากอิมเมจจากคำเรียกแต่ละคำจะแตกต่างกันไปเล็กน้อย เรียกได้ว่ายิบย่อยจนลำบากเลยก็ได้ครับ
ตัวอย่างเช่นคำว่า 俺 我々 自分 คำเหล่านี้เป็นคำที่ต้องตั้งสติเวลาจะแปลให้ดี
俺 เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 (一人称)ใช้เรียกตัวเองตั้งแต่คนทั่วไปจนถึงยากูซ่าเลยครับ
แต่ภาษาไทยจะใช้คำว่าอะไรดี
ใช้คำว่า ‘ผม’ ก็จะให้ความรู้สึกสุภาพหน่อย
ถ้าใช้ ‘กู’ ก็จะดูรุนแรง หยาบกระด้างเกินไปในบริบท
แล้ว 我々 กับ 自分 ล่ะ?
อย่างที่ทุกคนทราบครับ คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาไทยมักจะมีการแบ่งเพศ (โดยมากเป็นเพศชาย) อย่างชัดเจน อย่าง ผม หนู หรือในบางกรณีก็มีเรื่องความอาวุโสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แล้วอย่างคำสรรพนามเรียกบุรุษที่ 2 อีกล่ะ 汝(なんじ) แบบนี้
ถ้าไม่มีบริบทมาก่อนผมก็เลือกคำแปลที่ดีที่สุดไม่ได้หรอก
ดังนั้นแล้วผมเลยคิดว่าวิธีแรก (อ่านทั้งหมดแล้วค่อยแปล) มันดีกว่า
แต่ผมก็ลองไปถามความเห็นจากนักแปลหลาย ๆ ท่านที่ใช้วิธีที่สอง (ค่อย ๆ อ่านทีละประโยคแล้วแปลไปพร้อม ๆ กัน) ดู
เขาบอกว่า เพื่อไม่ให้เป็นการสปอยตัวเองนั่นเอง
อย่าลืมนะว่าถึงแม้เราจะเป็นนักแปลเราก็เป็นนักอ่านด้วย การอ่านทีเดียวจนจบแล้วค่อยมานั่งแปลหน้าแรกมันเสียอรรถรสในฐานะนักอ่านมาก
ส่วนคำที่ยังต้องรอบริบทเพิ่มเติมอย่างที่ว่าไว้ก็จะทำไฮท์ไลท์ตัวแดงไว้ว่าจะมาแก้ทีหลังครับ
อืม น่าสนใจดีนะครับ การทำตัวแดงไว้ว่าจะมาแก้ทีหลังก็ช่วยแก้ปัญหาได้อยู่นะ
*ดังนั้นแล้วใครที่อยากเป็นนักแปลที่ใช้อ่านไปทีละประโยคแล้วแปลไปพร้อม ๆ กันเพื่อไม่ให้เสียอรรถรสก็อย่าลืมทำสัญลักษณ์ให้ตัวเองจำได้ด้วยนะ
ป.ล. เรื่องคำที่ให้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับเพศไม่ได้มีแค่ในภาษาไทยภาษาเดียวเท่านั้น ภาษาอื่นก็มี
ยกตัวอย่างเช่น doctor ในภาษาอังกฤษ สามารถพูดถึงอาชีพหมอผู้ชายและหมอผู้หญิงได้ แต่ภาพที่คนส่วนมากนึกออกมักจะเป็นหมอผู้ชาย (ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น)
ปัญหานี้เป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจำวันก็จริง แต่มันทำให้นักแปลต้องปวดหัวบ่อย ๆ เพราะบางทีมันเป็นการเล่นคำจากต้นภาษา
ถ้าอย่างในภาษาญี่ปุ่นก็อาจจะมีคำว่า 俺 ที่ผู้หญิงก็ใช้ได้ หรือ お前 ที่จริง ๆ แล้วผู้หญิงก็สามารถใช้ได้ (แค่อาจจะเป็นส่วนน้อย)
(ถ้าในนิยายมีสถานการณ์ที่ผู้หญิงเรียกคนคนหนึ่งว่า お前 แล้วเราแปลว่า ‘นาย’ พอท้ายเรื่องเฉลยว่าคนที่ถูกเรียกคือผู้หญิงด้วยกันนี่ต้องมานั่งหาจุดที่ต้องแก้กันตาแตกเลย)
//ดังนั้นแล้ว ในใจของผมก็ยังคิดว่าการอ่านทั้งหมดแล้วค่อยแปลมันสบายกว่าจริง ๆ นะ
สุดท้ายนี้ก่อนจะจากกัน ผมอยากสรุปสั้น ๆ ให้ผู้อ่านทุกคนไม่ลืมกันอีกครั้งนะครับ
คำสรรพนามต่าง ๆ ของภาษาไทยมีจำนวนคำไม่เยอะและไม่ละเอียดอ่อนเท่าของภาษาญี่ปุ่นครับ
และคำที่มีความหมายใกล้กันระหว่างไทยและญี่ปุ่น บางทีจะมีภาพลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน เช่น เพศสภาพ ความอาวุโส ฯลฯ ดังนั้นเวลาแปลคำจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย อย่าลืมเช็คคำของภาษาปลายทางกันให้ดี ๆ นะครับ
หากใครอ่านมีความคิดเห็นข้อเสนอแนะก็สามารถเขียนลงในช่องความคิดเห็นได้เลยนะครับ ผมจะตามอ่านอยู่เสมอ
ถ้าอย่างนั้นแล้ว
ไว้พบกันใหม่ครับ
—-------------------------------------------------------------
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in