เทอมนี้เป็นเทอมที่เริ่มต้นมาอย่างสิงห์แต่จบอย่างหมา ๕๕๕๕๕๕ สำหรับนี่ต้นเทอมชิลมากกกกกก มากจนมีเวลาเหลือเฟือ เริ่มเอนจอยชีวิต เริ่มเชื่อที่เค้าบอกปี 4 จะสบาย เลยสปอยตัวเองเต็มที่มาก ทั้งเที่ยว ดูหนัง ดูซีรีส์รัวๆ อ่านนิยาย แต่พอท้ายเทอมเท่านั้นแหละ แพลนเนอร์แน่นเอี้ยด งานถล่มแบบนึกว่าจะตาย สุดท้ายก็ mental breakdown ตามเทอมก่อนไปติดๆ ๕๕๕๕๕๕ อะไรว้า แม้จะเป็นเทอมที่สุขภาพจิตดีขึ้นมาก (ไม่รู้เพราะปลงตกแล้ว หรือวิชาที่ลงไม่โหดเหี้ยม) แต่ก็เป็นเทอมที่คุนหลอกดาว ไหนว่าจะไม่หนัก!!!
เริ่มรีวิวจากวิชาที่ชอบน้อย
ที่สุด ไล่เรื่อยๆ ไปจนถึงวิชาที่ชอบมาก
ที่สุด เทอมนี้เรียน 6 ตัว วิชาเอกสายสกิล 2 วิชาเอกสายลิท 1 วิชาโท 1 และเจนเอ็ด 2 ค่ะ
*คำเตือน: รีวิวเป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคล และ "...คนที่อ่านรีวิวพึงตระหนักที่ส่วนนี้ แล้วถ้าเชื่อตามนั้นแล้วผลไม่ตรง อย่าโวยวาย ปัจจัยเยอะแยะที่จะทำให้ผลออกมาไม่เหมือนกัน รีวิวจะให้ผลซ้ำได้ใกล้เคียงสุดก็ต้องทำให้ทุกอย่างแทบจะเหมือนกัน...อย่าลืมว่าการใช้รีวิวเป็น inductive reasoning เท่านั้น" (อ.วศิน, 2017)
* รายละเอียดวิชาอาจแตกต่างไปตามปีที่เรียนและอาจารย์ที่สอน
1. Principle of Marketing (ปริ้นมา)
เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ
✎ สอบมิดเทอมและไฟนอล ช้อยส์ 100+ ข้อ, ส่งงานสัปดาห์เว้นสัปดาห์
✎ เรียนเกี่ยวกับหลักการตลาดเบื้องต้น เช่น 4Ps คืออะไร แต่ละแบรนด์ทำการตลาดยังไง ใช้เครื่องมือใดบ้าง ปัจจัยภายนอกภายในของตลาด ฯลฯ
การเรียนการสอน
เราเรียนเซคที่อาจารย์แก่ๆ มีอายุนิดนึง วิธีการสอนเค้าคือเลกเชอร์ล้วนเลย เปิด Powerpoint แล้วอธิบายตามชีทงี้ ดีตรงให้ตัวอย่างเยอะ แต่พอได้ยินว่าเซคอื่นมีดิสคัสไม่น่าเบื่อเท่าเลยรู้สึกผิดหวังพอสมควร ;__; คือแม้เนื้อหาจะสนุกแค่ไหนแต่ถ้าคนสอนสอนแบบเดิมเรื่อยๆ 3 ชมเราก็เบื่อได้ แต่ถ้าพูดถึงว่าสอนเข้าใจไหม อาจารย์ก็สอนเข้าใจค่อนข้างมาก แม้จะชอบนอกเรื่องบ่อยๆ ๕๕๕๕๕๕๕ แต่เนื่องจากว่าอาจารย์อาวุโสแล้วและอยู่คณะบัญชีด้วย ก็จะเคร่งเรื่องกฎระเบียบการแต่งกายหยุมหยิมมากกกกถึงขั้นที่ประจานออกไมค์ไปเลย เลิกสอนเกินเวลาเป็นชั่วโมงหลายคาบ และบ่นเรื่องนู้นเรื่องนี้เช่นเรื่องอัตลักษณ์ความน่าภูมิใจของจุฬาที่เราว่ามันไม่เกี่ยวกับการตลาด ในขณะที่อีกเซคมีสรุปละเอียดให้ อ่านอันนั้นไปสอบแล้วเข้าใจกว่าที่เรียนทั้งเทอม รู้สึกไม่แฟร์ประมาณนึง สรุปได้ว่าวิชานี้อาจารย์ดีชีวิตดี ใช้แต้มบุญกันไป orz
ส่วนข้อสอบ ต้องอ่านเยอะมากกกกกกกกทีเดียวเพราะมีทั้งหมด 14 บทจุกๆ ข้อสอบแม้ช้อยส์จะเยอะเทียบกับเวลาที่ให้แล้วก็ทันอยู่ ส่วนงานน่าจะเยอะเพราะเป็นเซคนี้ อาจารย์สั่งงานไม่ยากแต่สั่งถี่ อาทิตย์เว้นอาทิตย์ บางทีก็ 3-4 อาทิตย์ติด เริ่มคิดว่าเป็นเจนเอ็ดที่เยอะจริงๆ ว้อยยยยยยย คือถามว่าหนักมั้ยระหว่างเรียนมันก็ไม่หนักแต่จุกจิกโคตรๆ หนักอีกทีตอนสอบนู่นเลย อ่านตาแฉะอยู่เหมือนกันนะ
ความคิดเห็นส่วนตัว
❥ ความยาก
ถือเป็นเจนเอ็ดที่เรียนละเอียด รู้ลึกรู้จริง ดังนั้นเลยตามมาด้วยความยาก ไม่ใช่วิชาที่เอง่ายเทียบกับเจนเอ็ดตัวอื่นๆ ที่เราเคยเรียน เนื้อหาเยอะมากกกกกแบบ ก. ไก่ล้านตัว ต้องจำละเอียดและวิเคราะห์ได้ด้วย เป็นวิชาที่ใช้ทุกทักษะจริงๆ แล้วข้อสอบไฟนอลหลอกเก่งมากกกกกกกกก เค้าชอบยกตัวอย่างแล้วให้เราโยงกับสิ่งที่เรียนเอง ไม่ใช่ถามตอบธรรมดาๆ ฟีลการทำข้อสอบปริ้นมาคือตัดช้อยส์เหลือ 2 ข้อแล้วลังเล ต้องสุ่มเอาว่าข้อไหนถูก มันก้ำๆ กึ่งๆ ไปหมดเลย ยอมรับว่าไม่ตั้งใจเรียนเองด้วย ชอบหนีออกมาก่อนเวลา orz แต่ก็อ่านเฉลี่ยประมาณ 3 รอบ คิดว่าจะทำข้อสอบได้แล้วนะ แต่ก็ยังเจอคำถามที่เซอร์ไพรส์ เฮ้ยเคยอ่านผ่านนะ แต่ไม่รู้คำตอบว่ะจำได้ไม่ค่อยแม่น เป็นงี้บ่อยมากเลย T v T ดังนั้นขอจัดอยู่ในหมวดทำได้ถ้าอ่านมา แต่ต้องอ่านจริงๆ จังๆ เลยแหละ
❥ ความชอบ
เนื้อหารวมๆ แล้วค่อนข้างชอบ การตลาดสัมพันธ์กับการสังเกตและเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ มันเป็นเหตุเป็นผล เรียนแล้วก็สนุกดี วิชาเปิดหูเปิดตา ว้าวๆ อะ เวลาอาจารย์ยกตัวอย่างแบรนด์ใกล้ตัวกับการตลาดที่เลือกใช้มันก็น่าสนใจเพราะเรารีเลทได้ เราเห็นภาพ แถมความรู้ที่ได้ก็ใช้ได้จริงด้วย กลายเป็นผู้บริโภคที่รู้เท่าทันกลยุทธ์ต่างๆ หรือถ้าใครอยากต่อด้านมาร์เกตติ้งก็ยิ่งเป็นคอร์สที่มีประโยชน์เลย แต่ก็ยังชอบน้อยที่สุดในเทอมเพราะตัวอาจารย์นี่แหละ วิธีการสอน วิธีการพูด ค่อนข้างจะน่าเบื่อและรำคาญ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เลยคิดว่าถ้าอยู่เซคอื่นอาจแฮปปี้กว่านี้
❥ ข้อความสุดท้ายถึงวิชานี้
ขอขอบคุณสตาร์บัค แบรนด์ผู้รับบทเป็น case study ทุกอาทิตย์ไปเลยจ้า
2. Creative Writing (ครีเอทีฟ)
เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ
✎ ส่งเรื่องสั้นมิดเทอมและไฟนอล, attendance และงานกลุ่ม, writing journals 9 ชิ้น
✎ เรียนการเขียนฉาก สร้างบรรยากาศ คาแรกเตอร์ บทสนทนา เวลา ฯลฯ ง่ายๆ คือองค์ประกอบโดยรวมของนิยายหรือเร่ื่องสั้น เน้นเขียนส่ง แชร์ในคลาส และรับฟีดแบ็ก
การเรียนการสอน
เราเรียนเซคไซม่อน ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องลีลาการด่าและจิกกัดที่เจ็บแสบ บอกตามตรงว่าเทอมนี้เจอมาอ่วมมากจริงๆ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เริ่มจากวิธีการสอนก่อน ไซม่อนสอนน้อยมากกกกกกกถึงมากที่สุด แต่ละคาบเหมือนเข้ามาฟังว่าวันนี้เค้าจะด่าอะไร แต่สอนไม่เกินครึ่งชั่วโมง มีบ้างที่แจกชีทและเอาตัวอย่างมาเปิดให้ดู ส่วนใหญ่แจกงานกลุ่มให้ทำ (ซึ่งเราไม่ชอบเลย เพราะการเขียนนิยายเป็นกลุ่มคือฝันร้ายชัดๆ) แล้วเอามาพรีเซ้นต์ในห้อง ให้เพื่อนๆ และเค้าคอมเม้นงาน ก็คือโดนสับนั่นเอง สับจริงๆ สับละเอียด เพราะเค้าจะคอมเม้นแบบไม่คำนึงถึงความรู้สึกใดๆ บางทีก็เจอแบบเสียเวลาอ่าน งานขยะ โง่ อะไรแบบนี้เลย แต่ถ้าเรียนผ่านไปสักพักก็จะชินและทำใจไปได้เองจนหัวเราะปลงๆ ใส่เค้าในที่สุด ๕๕๕๕๕๕ แต่ข้อดีคือไซม่อนให้อิสระและฟังความเห็นนะ ถ้าเถียงชนะเค้า เค้าก็จะยอมลงให้ แต่เค้ามีมาตรฐานและความชอบของตัวเองอยู่ที่ไม่ว่าใครก็ทำให้สั่นคลอนไม่ได้ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ อีกอย่างที่ชอบคือเค้าเป็นคนที่ยืดหยุ่นนะ ส่งไม่ทันเค้าก็ไม่ว่า ไม่ก็ว่าแบบไม่จริงจัง และให้เวลาเด็กๆ ทำงานเยอะพอสมควร
งาน Writing Journal จะเป็นการเขียนบรรยายประมาณไม่เกิน 1 หน้า ตามโจทย์ที่เค้าให้ แบ่งเป็นบรรยายคน บรรยายสถานที่ และบรรยายความรู้สึก ซึ่งเราต้องไปสำรวจคนหรือสถานที่เหล่านั้นจริงๆ แล้วเขียนส่ง ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดช่วยให้เราเขียนบรรยายได้ดีขึ้น เพราะไซม่อนชอบอ่านการบรรยายมากกกกกกกกกกกกกก ชอบให้บรรยายรายละเอียดให้เห็นภาพโดยไม่พยายามประดิษฐ์คำให้สวยหรือเพิ่มอารมณ์ให้มัน อันนี้คือสิ่งที่ต้องจำขึ้นใจเลย ผิดแกรมม่าร์ใดๆ ก็ไม่เท่าพยายามจะ poetic, เน้นพล็อต, หรือ melodramatic ในสายตาไซม่อน
ส่วนเรื่องสั้น ตอนมิดเทอมจะได้โจทย์ ตอนไฟนอลฟรีสไตล์ ความยาว 3-7 หน้า จริงๆ ไซม่อนก็ไม่ได้ระบุจำนวนหน้าแบบชัดๆ เพราะเค้าบอกว่าถ้าเขียนแล้วรู้สึกว่ายาวไป = งานห่วย ให้รวบรัดขึ้น T v T
ความคิดเห็นส่วนตัว
❥ ความยาก
ความยากคือแล้วแต่คนมากๆ เลย เพราะทุกคนมีพื้นฐานและพกบุญเก่ามาไม่เท่ากัน อย่างเรารู้สึกว่ากว่าจะเขียนจบไปงานนึงนี่ใช้พลังลมปราณมากทีเดียว ปัญหาหลักๆ ของเราเลยคือศัพท์บรรยายในหัวน้อยมาก แล้วไซม่อนชอบให้ใช้ verb หรือ adj. ที่เห็นภาพ ทำให้เวลาเขียนทีต้องศึกษาศัพท์ใหม่เยอะมาก ทำให้รู้ว่าการเขียนนิยายภาษาอังกฤษแบบจริงๆ จังๆ มันโคตรยากที่จะใช้คำสั้นแต่ได้ความหมาย ใช้คำสวยเหมาะกับบริบท นี่ยังไม่ไปถึงแกรมม่าอื่นๆ ที่ถ้าผิดไซม่อนก็จะเอามาประจานหน้าห้องเลย เพราะเวลาคอมเม้นงาน ไซม่อนคอมเม้นแบบเรียกชื่อเจ้าของงาน แล้วอ่านคอมเม้นติชมให้ฟังต่อหน้าทั้งห้อง orz
ความยากอีกอย่างคือทำให้ถูกใจไซม่อน คือเค้าใช้มาตรฐานตัวเองตรวจงานแบบไม่เปิดใจกว้างเท่าไหร่เลย เป็นคนที่ conservative มากจริง มีรูปแบบในใจอยู่แล้ว ดังนั้นการจะทำได้ดีคือเขียนแนวที่เค้าชอบ แบบที่เค้าชมว่าดี กลายเป็นวิชาที่ไม่รู้สึกว่าครีเอทีฟเท่าไหร่ พอออกนอกเซฟโซนก็ต้องเสี่ยงเอาว่าจะปังหรือแป้ก ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
นี่ยังไม่พูดถึงความยากในการฟังสำเนียงไซม่อน เป็นอาจารย์คนเดียวในอักษรที่เราฟังแล้วแบบ ห๊ะ บ่อยมากกกกกกกกกก ก็ว่าทักษะหูตัวเองไม่แย่ขนาดนั้น แต่ไซม่อนพิสูจน์ว่าคิดผิด ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ พูดฟังยากมากกกกกกกกก ฟังได้ 60% จนชินแล้วเทอมนี้
แต่ด้วยความที่มันเป็นวิชาที่ไม่มีผิดถูกนี่แหละ ทำให้เราพัฒนาตัวเองและเรียกคะแนนคืนได้ในช่วงท้าย พลิกจาก B มาเป็น A แบบงงๆ ต่างจากวิชาสายสกิลหลายตัวที่พัฒนายังไงก็ไม่ทันเพื่อนที่เค้าเก่งอยู่แล้ว จะมองจุดนี้เป็นจุดที่ทำให้รู้สึกว่า Creative writing ไม่ยากขนาดนั้นก็ได้มั้ง
❥ ความชอบ
จริงๆ ชอบตรงที่มันเป็นวิชาสายสกิลที่ชิลตัวนึง และไม่มีผิดถูก ไม่ต้องอ่านสอบ งานน้อย ในคาบไม่ต้องใช้สมองมาก แต่ทรมานตอนเขียนงานไปส่งทีและตอนรับฟีดแบ็ก มีช่วงที่ซัฟเฟอร์ด้วยคือตอนส่งเรื่องสั้นสำหรับไฟนอลแล้วปั่นไฟลุกมาก เกือบส่งไม่ทัน ทำให้รู้เลยว่าจงอย่าประมาท เห็นเป็นครีเอทีฟเลยปั่นช้าหน่อยงี้ orz แต่ที่ทำให้ไม่ชอบที่สุดคือเราไม่ถูกจริตกับการสอนไซม่อน คือเค้าก็ด่าแซ่บดี ฟังเค้าแซะทุกสิ่งแบบ non-pc เพลินๆ ตลก แต่ไม่ค่อยได้ความรู้เท่าที่เราหวัง และบางครั้งเค้าก็ใช้คำพูดทำร้ายจิตใจไปหน่อยจนไม่กล้าจับงานเขียนไปพักนึงเลย หลอน เลยไม่รู้จะเข้าคลาสทำไมถ้าแทบไม่ได้เรียนเทคนิคการเขียนเท่าไหร่ เพราะพอเขียนจริงๆ ศัพท์ต่างๆ คือพึ่งตัวเองเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายก็รู้สึกว่ามาเรียนวิชานี้เพื่อโดนด่าอะ และไม่รู้ด้วยว่าฟีดแบ็กที่ได้จะทำให้เราแกร่งขึ้นหรือยิ่งท้อ
❥ ข้อความสุดท้ายถึงวิชานี้
"If you're going to write rubbish, make it short" - Simon
3. Trans E-T (ทรานส์อิ๊งไทย)
เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ
✎ 3 tests, สอบไฟนอล, โปรเจคแปลเรื่องสั้น, attendance
✎ แปลข่าว สารคดี เรื่องแต่ง สารโต้แย้ง และสุนทรพจน์
การเรียนการสอน
เราเรียนเซค อ.สุเบญจา วิธีการสอนของอาจารย์ก็คือให้นิสิตอ่านมาก่อน แบ่งงานให้แต่ละกลุ่มไปแปล แล้วมาดูไปด้วยกันพร้อมคอมเม้นจากอาจารย์ บอกเลยว่าอาจารย์สอนสนุกสุดๆๆๆๆๆๆๆ และตั้งใจสอนมาก คืออาจารย์ตลกธรรมชาติ เอนจอยจริงๆ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ และอาจารย์ก็สอนละเอียด ให้ทริคแบบไม่หมกเม็ด เต็มที่กับทุกคาบ มีศัพท์ใหม่ๆ กับสำนวนมาสอนให้เปิดหูเปิดตา รู้สึกว่าได้ความรู้เพียบและอัดแน่นในทุกคาบอะ แต่เวลาอาจารย์คอมเม้นการแปลทีก็ไม่ปรานีเหมือนกันนะ สาหัส ๕๕๕๕๕๕ แต่ถือเป็นประสบการณ์ดีๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน โดนคอมเม้นก็คุ้ม
โปรเจคแปลเรื่องสั้นเป็นงานกลุ่มที่ใช้เวลาทำเยอะที่สุดในชีวิตสี่ปีเลย คือคอลกันตั้งแต่ 3 ทุ่มยันเกือบตี 2 วันต่อๆ มาก็นัดทำด้วยกันต่ออีก เพราะการแปลมันต้องดูไปด้วยกันแบบละเอียดยิบ จุดนี้แหละที่ทำชีวิตหัวหมุน แต่ถามว่าสนุกมั้ยก็สนุกนะ เหมือนแปลนิยายส่งบก. ด้วยกันจริงๆ ๕๕๕๕๕๕๕
ในด้านการสอบ ก็คือการสอบแปลเหมือนที่เคยเจอมาตอนอินโทรทรานส์ แต่เปิดดิกได้
ความคิดเห็นส่วนตัว
❥ ความยาก
ขึ้นอยู่กับบุญเก่าและความถนัดอีกแล้ว แต่เราว่ายาก ยากกว่า T-E แน่นอนอะ เพราะต้องอ่านอังกฤษแตกก่อนแล้วต้องหาคำไทยที่ใช่ ที่ตรงอีก เนื้อหาก็ยากกว่าแบบคนละเรื่องเลย ข่าวนี่กลายเป็นง่ายสุดไปเลยมั้งพอเจอสารโต้แย้งกับสุนทรพจน์เข้าไป สอบพาร์ทสุนทรพจน์แล้วเราเละเป็นโจ๊กทุกรอบ ;-; คือ text ก็ว่าเข้าใจยากแล้ว เค้าเปรียบเทียบอะไรอยู่วะ แถมต้องหาคำไทยสวยๆ ประดิดประดอยมาช่วยให้มันอ่านลื่นเป็นสุนทรพจน์อีก T v T ระยะเวลาก็แสนสั้นและบีบคั้น คิดไปคิดมาก็ไม่เห็นจะมีอะไรง่ายเลย แต่แลกมาด้วยความชิล อ่านน้อย งานน้อย เพราะเตรียมตัวไม่ได้เด้อ ๕๕๕๕๕๕๕
❥ ความชอบ
เจออาจารย์ดีชีวิตดี เราชอบคลาสนี้เพราะเรียนสนุกนี่แหละ แต่ถ้าไม่ขยันฝึกทำก่อนเข้าคลาสไปบ้างก็อาจตายตอนสอบได้ ท้ายๆ เทอมรู้สึกกำลังใจท้อถอย ปล่อยช่างแม่ง ความชอบเลยลงมาเหลือกลางๆ แทน คาดหวังว่าตัวเองจะแปลได้ดีกว่านี้แต่วิชานี้ทำให้เรารู้ว่า ไม่ใช่จ้ะ ตื่น ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ แต่ก็ยังเป็นวิชาที่ไม่เครียดมากจนเกินไป เพราะมันทำอะไรไม่ได้แล้วนี่แหละนอกจากตั้งใจในคาบ เนื้อหาก็แรนด้อมมากเตรีวมตัวไม่ได้ ถ้าไม่ได้เกลียดแปลจริงๆ แล้วอยากเรียนอะไรที่ไม่ต้องท่องจำ ตัวนี้ถือเป็นวิชาสายสกิลที่แนะนำ
❥ ข้อความสุดท้ายถึงวิชานี้
"พวกคุณจะอ่านทำไม มันเตรียมตัวไม่ได้" said by ผู้สอนเอง u v u
4. Shakespeare
เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ
✎ สอบมิดเทอมและไฟนอล (essay only), term paper, attendance
✎ เรียนบทละครของเช็กสเปียร์ใน categories ต่างๆ เน้นธีมและตัวละคร ปีเราเรียน Henry IV (หมวด History) Twelfth Night (หมวด Comedy) และ Macbeth (หมวด Tragedy)
การเรียนการสอน
โทนี่เป็นอาจารย์ที่สอนชิลมากกกกกกกกกกกกกกกกถึงมากที่สุด เป็นลิทตัวแรกเลยมั้งที่ไม่ต้องอ่านก่อนไปเรียนก็ได้ (แรกๆ ก็ทำนะ แต่ภาษาลุงเช็กยากไป อ่านแต่สรุปเอา หลังๆ แม้แต่สรุปก็ขี้เกียจอ่าน ๕๕๕๕๕) เพราะโทนี่จะพาอ่านไปด้วยกัน ศัพท์ยากต่างๆ เค้าก็ช่วยแปลและตีความประโยคให้ คลาสลักษณะเลกเชอร์กึ่งดิสคัส เพราะโทนี่ตีความกลอนไป ก็จะถามความเห็น ชวนเราคุยบ้าง แต่ส่วนใหญ่เค้าจะอธิบายละเอียดให้เอง และเค้าก็สอนสนุกไม่ง่วง การเรียนการสอนเลยผ่อนคลายไม่เครียดไม่กดดัน แถมบางคาบเปิดวิดีโอละครให้ดูอีก นอกจากนั้นพอเป็นละครประวัติศาสตร์เค้าก็จะเอา primary source หรือ reference ต่างๆ ในอดีตมาให้อ่านแทรกเป็นเกร็ดความรู้
ข้อสอบจะเป็นเขียนเอสเสล้วน มีโจทย์ประมาณ 3 ข้อ แล้วก็ให้ช้อยส์มาด้วย เราเลือกเองได้ว่าจะเขียนโจทย์ไหนบ้าง โดยรวมออกคล้ายๆ ที่เค้าสอนเลย โจทย์กว้าง เขียนตอบได้หลากหลาย เค้าจะชอบให้ตอบครอบคลุมและยกตัวอย่างดีๆ ชัดๆ ส่วน term paper เขียนวิเคราะห์ประเด็นอะไรก็ได้ แต่ต้องเกี่ยวกับบทละครที่เรียนอย่างน้อย 2 เรื่อง หรือ 1 เรื่องถ้าจะเอาไปเปรียบเทียบกับบทละครอื่นๆ ของเช็กสเปียร์นอกชั้นเรียน
ความคิดเห็นส่วนตัว
❥ ความยาก
เราว่าเป็นลิทที่ไม่ยาก เทียบกับตัวอื่นๆ แล้ว ตอนแรกลังเลเพราะดูจะน่าเบื่อและภาษาเช็กสเปียร์ก็ยากมากกกกกกกกก อ่านเองไม่รู้เรื่อง แต่กลายเป็นว่าอาจารย์ไกด์ให้ตลอดเลย สปีดก็ไม่ได้เร็วเกินจนสมองตามไม่ทัน แต่อาจจะยากตรงต้องพยายามโฟกัสกับบทละครที่บางทีก็เบื่อบ้าง หรือเพราะเราเรียนแมคเบธกับ Twelfth Night มาหลายรอบแล้วก็ไม่รู้ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ ข้อสอบแล้วแต่โจทย์เลย บางข้อก็ยากบางข้อก็ง่าย แต่ไม่ได้ออกแบบจะฆ่ากันตาย อ่านมาก็ตอบได้ โทนี่เองก็ใจกว้างและให้คะแนนไม่ยากด้วย แต่ฟีดแบ็กที่ได้อาจจะน้อยเทียบกับอาจารย์คนอื่นแล้ว
ยากที่สุดในวิชานี้สำหรับเราคือทำเปเปอร์ กลายเป็นว่าใครๆ ก็ทำเปเปอร์เช็กสเปียร์อะ หาหัวข้อใหม่ๆ แตกต่างยาก ธีมก็ออกจะวนๆ คล้ายๆ กัน ดังนั้นผ่านช่วงเวลาคิด Thesis Statement หาข้อมูล และลองเขียนจริงๆ ไปอย่างยากลำบากมาก แต่สุดท้ายก็จะผ่านไปได้เพราะต้องส่ง ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
❥ ความชอบ
จริงๆ ชอบงานเขียนของเช็กสเปียร์อยู่แล้ว พอได้เรียนยิ่งชอบเข้าไปใหญ่เพราะได้เห็นประเด็นที่ลึกและสมัยใหม่มาก ล้ำมาก โดยเฉพาะเมื่อคิดกลับไปว่าเช็กสเปียร์เขียนงานเหล่านี้ตั้งแต่สมัยไหนมาแล้ว แล้วพอได้ฟังโทนี่ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยุคของเช็กสเปียร์ก็รู้สึกว่ามีประโยชน์จริงจัง เข้าใจง่าย พอเรียนจบก็จำศัพท์จำแกรมม่าจำ syntax ของภาษาเช็กสเปียร์ได้มากขึ้นด้วยนะ รู้สึกเท่ ๕๕๕๕๕๕๕
อีกอย่าง ถ้าใครชอบศึกษาบทละคร บทละครของเช็กสเปียร์คือแหล่งศึกษาที่ดีมากๆ อาจารย์วิชาโทเคยสอนเราว่าอยากอ่านเช็กสเปียร์ให้เข้าใจต้องอ่านบทละครเช็กสเปียร์ติดต่อกัน แล้วจะเห็นธรรมชาติของความเป็นเช็กสเปียร์ว่าเค้าดำเนินเรื่อง สร้างตัวละครที่มีมิติ และทำให้เรื่องสนุกได้ยังไง ซึ่งจริง ยิ่งอ่านยิ่งพบว่าเช็กสเปียร์อัจฉริยะมากๆ และเข้าใจมนุษย์อย่างถ่องแท้
เรียนๆ ไปก็มีเบื่อบ้างอะไรบ้าง แต่เราก็ยังชอบวิธีสอนของโทนี่อยู่ดี เค้าตลกมากๆ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เลยกลายเป็นว่าชอบวิชานี้กว่าที่คิด
❥ ข้อความสุดท้ายถึงวิชานี้
Lady Macbeth's "Come you spirits" = my new motto when answering exam questions
5. Intro to Classical Music
เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ
✎ คลิปวิจารณ์คอนเสิร์ต (Orchestra, Opera or Ballet) 2 งาน, สอบฟังเพลง + ข้อเขียนไฟนอล, attendance
✎ ประวัติเพลงคลาสสิกแต่ละยุค รวมถึงโอเปร่าและบัลเล่ต์ คำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้อธิบาย ประวัตินักแต่งเพลงและความสำคัญของเพลงต่างๆ ตามลิสต์
การเรียนการสอน
วิธีการสอนเหมือนกันทุกสัปดาห์คือเข้าไปนั่งฟังอาจารย์เลกเชอร์ อาจารย์ก็จะเปิดเพลงให้ฟัง เปิดหนังสือสอน เน้นอธิบายลักษณะเด่นของแต่ละยุค ความสำคัญของแต่ละเพลง ให้ทำความรู้จักนักแต่งเพลงดังๆ แล้วก็จะให้ลิสต์เพลงยาวมากเกือบ 100 เพลงได้ เรียนสัปดาห์ละ 5-7 เพลง เพลงเหล่านี้จะออกสอบไฟนอล คือให้ฟังและเขียนชื่อผู้แต่งและชื่อเพลงลงไปให้ถูกต้อง บรรยากาศคลาสชิลมากกกกกกกกแม่ อาจารย์ใจดีสุดๆ ใส่ไปรเวทก็ได้ สายได้ 40 นาที (แต่ต้องเช็กชื่อนะ) ปล่อยเร็วกว่าเวลาจริง 1 ชั่วโมง สอนสนุกไม่น่าเบื่อเลย เหมือนมานั่งฟังเพลงเพราะๆ แล้วมีคนบรรยายเกร็ดน่ารู้ไปด้วย ๕๕๕๕๕๕๕๕ พอเรียนผ่านไปสักพักอาจารย์ก็จะลองควิซแบบไม่เก็บคะแนน ให้เราลองฟังเพลงแล้วบอกว่าเพลงอะไรของใครแต่ง หรือให้ตอบคำถาม เพื่อช่วยเตรียมพร้อมเราให้กลับไปทบทวนฟังเพลงดีๆ ไม่ให้บ้งตอนสอบ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
เราต้องไปฟังคอนเสิร์ตเล่นสด 1 งาน แล้วก็จะดูเล่นสดหรือดูออนไลน์ผ่านยูทูบก็ได้อีก 1 งาน จากนั้นวิจารณ์คล้ายๆ รีวิวคอนเสิร์ตลงคลิป ส่งให้อาจารย์ช่วงท้ายเทอม ซึ่งเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสเพลงคลาสสิกจริงๆ ตรงหน้า และบรรยากาศก็แตกต่างจากดูในคลิป ส่วนตัวติดใจจนไปดูเล่นสดทั้ง 2 คอนเสิร์ตเลย
ข้อสอบไฟนอล ลิสต์เพลงอันหฤโหดจะเหลือให้ไปฟังเพียง 40 เพลง สุ่มสอบ 15 เพลง ต้องจำชื่อคนแต่งและชื่อเพลงเอาเอง ส่วนข้อสอบเติมคำมีหลายชุด แล้วแต่บุญแต่กรรมเลย บางชุดยาก บางชุดยากน้อยกว่า ๕๕๕๕๕๕๕ ออกแนวถ้ารู้ก็ตอบได้ ไม่รู้ก็ตอบไม่ได้มั่วไม่ถูก มีแค่นี้จริงๆ นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไรแล้ว งานก็ไม่มี วิชานี้คือชิลลลลลลลลลลลลอย่างแท้จริง หนักอีกทีไฟนอลเลยไม่มีสอบมิดเทอม แต่ปริมาณเนื้อหาไม่เยอะ สมมุติเทอมนึงเรียนตัวที่ต้องอ่านโหด วิชานี้ก็ยังถือว่าช่วย อาจารย์ออกพวกความรู้รอบตัว เรื่องเครื่องดนตรีที่ไม่ได้สอนหรือเน้นอยู่บ้าง อันนี้คือแล้วแต่ความรอบรู้และดวง ๕๕๕๕๕๕๕
ความคิดเห็นส่วนตัว
❥ ความยาก
เราไม่เคยฟังเพลงคลาสสิกมาก่อน มีแต่ได้ยินผ่านๆ เห็นรูปแบบข้อสอบฟังคิดว่าตายแน่ ซึ่งก็จริงในแง่ที่ว่าการจะทำข้อสอบได้ต้องกลับไปฟังเพลงคลาสสิกในลิสต์ในเวลาว่างอะ ฟังๆๆๆๆ เข้าไปจนมันเข้าไปในหัว ต้องฟังจบเพลงด้วยนะเพราะอาจารย์จะดึงท่อนไหนมาออกก็ได้ แต่เวลาสอบจริงๆ อาจารย์ก็ปรานีอะ เลือกแต่ท่อนที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลง ถ้าผ่านช่วงซึมซับเพลงเข้าไปในกมลสันดานแล้ว ตอนสอบก็จะไม่มีปัญหาเลยเพราะฝึกฟังจนคุ้นชินแล้ว แต่ช่วงแรกๆ เราก็เคว้งคว้าง ไม่รู้จะอินกับเพลงได้ยังไงนะ เพื่อนเลยส่ง how to listen to classical music มาให้และ guess what! it works! พอศึกษาเพิ่มเติมว่าคนเค้าฟังเพลงคลาสสิกกันยังไง ก็ช่วยให้เข้าถึงมากขึ้นจริงๆ เฮ้ย มันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นนี่นา
ความยากน่าจะอยู่ที่ข้อสอบไฟนอล รู้สึกว่าข้อไหนยากก็ยากจริงอะ ยากแบบเดาไม่ได้คิดไม่ออกเลย โดนถามว่าจงบอกเคร่ื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลอิงลิชฮอร์นและแคสตราเน็ต ตาแตก บางทีมันเป็นรายละเอียดยิบย่อยที่อาจารย์ไม่พูดถึงมาก เราก็ไม่ได้สนใจ ปรากฏออกสอบซะงั้น ให้ย้อนกลับไปก็คิดว่ายังทำไม่ได้ ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ พวกความรู้รอบตัวก็น่ากลัว เราโดนถามวงออเคสตร้าดังๆ ในไทยกับชื่อสถานที่แสดง ส่วนเพื่อนโดนชื่อคอนดักเตอร์ไทย แล้วข้อเขียนคือได้โจทย์ง่ายชีวิตดี เพื่อนเราได้ยุคบาโร้ค ซึ่งเขียนเกินครึ่งหน้าแน่ๆ กับอีกคนโดน cadenza ซึ่งเขียนได้แค่ 2 บรรทัดก็เก่งแล้วอะ แต่โจทย์บังคับครึ่งหน้า ไหนความยุติธรรมมมมมมมม ฮืออออออออออ แต่ข้อพวกนี้เป็นส่วนน้อย ส่วนมากก็ตามที่อ่านมาและอาจารย์ใบ้เลย
❥ ความชอบ
บอกเลยว่าวิชานี้เป็นวิชาเปลี่ยนชีวิต เรากลายเป็นคนชอบเพลงคลาสสิกไปแล้ว! วิชานี้ทำให้เราที่ไม่เคยสนใจเพลงประเภทนี้เลยได้หันมอง และหันมา appreciate มากขึ้น ว่าเพลงคลาสสิกอยู่รอบตัวเราและส่งผลกับวงการดนตรี วงการหนัง วงการสารพัด ซึ่งมันอเมซิ่งมากเลยนะที่เพลงที่เกิดมาเป็นร้อยปีแล้วจะทำได้ขนาดนี้ นอกจากนี้เรียนไปก็เหมือนได้ไขความลับชีวิตว่าเพลงที่เราได้ยินบ่อยๆ จากหนังหรือการ์ตูนมันเป็นของใคร ยุคไหน สำคัญยังไง ลักษณะยังไง พอฟังแล้วก็อ๋ออออ เพลงนี้เอง ว้าววววววว นี่เพลงสำหรับไวโอลินเท่านั้นหรอ เป็นเจนเอ็ดตัวเดียวที่ทำให้เราอยากเข้าเรียนทุกคาบ บรรยากาศการเรียนก็ดี อาจารย์สอนสนุกและใจกว้าง เป็นอาจารย์เจนเอ็ดชั้นสูง หายากมากๆๆๆๆๆๆๆ คุณค่าที่ทุกคนคู่ควร T w T
อีกอย่างที่ประทับใจคือได้ไปดูออเคสตร้าจริงๆ ครั้งแรกในชีวิต ประสบการณ์เดินเข้าไปนั่งแล้วจดจ่อแต่ดนตรีตรงหน้านี่เหมือนไม่ได้อยู่ไทยเลยอะ มันล้ำมาก ชอบ อิน ๕๕๕๕๕๕ ไม่ได้น่าเบื่อ หาว ง่วง อย่างที่คิด (แต่ใช่ ถ้าคอนเสิร์ตไหนเพลงน่าเบื่อ ไม่ใช่เพลงที่ถูกจริต ก็ง่วงเหมือนกัน) กลายเป็นว่าอยากจะเข้าวงการเพลงคลาสสิกกับเขาด้วยคนแล้ว u w u
สรุปว่าวิชานี้คือเจนเอ็ดที่ดีที่สุดในโลก ใครชอบฟังเพลงต้องลองจริงๆ อะ เทอมนั้นจะมีความสุขขึ้น 100000%
❥ ข้อความสุดท้ายถึงวิชานี้
Music always heals :-)
6. Writ TV (เขียนบทโทรทัศน์)
เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ
✎ concept presentation, บทละครสั้น 2 เรื่อง, treatment 16 ตอน และบทละครยาว (25 หน้า) 1 เรื่อง
✎ เรียนทั้งหมดเกี่ยวกับการเขียนบททีวี ตั้งแต่ขั้นตอนการเสนอคอนเซ็ปต์ ธีม ตัวละคร เรื่องราว มู้ดแอนด์โทนกับโปรดิวเซอร์ การเขียน treatment (แบ่งพล็อตเป็นฉากๆ) การเขียนบทละครและเทคนิคต่างๆ
การเรียนการสอน
แบ่งออกเป็นครึ่งเทอมแรกและครึ่งเทอมหลัง มีอาจารย์สองท่าน คือครูปิ๊ก (เชิญมาพิเศษ) และครูสาว ซึ่งวิธีการสอนห่างกันคนละโยชน์ ครูปิ๊กจะเน้นกิจกรรมในคลาสมากๆ เช่น ให้นำเสนอหน้าห้อง ให้ลองทำ exercise สร้างคาร์ตัวละครที่แน่นขึ้น หา objective ที่แท้จริงของตัวละคร เปิดคลิปให้ดู มีให้เพื่อนเล่นเป็นคณะกรรมการวิจารณ์พล็อตเราด้วย ฮือ ๕๕๕๕๕๕ เลือกนิยายมาให้ลองดัดแปลงเป็นบทละคร บอกเลยว่าเรียนเข้มข้นถึงใจ มีงานทุกสัปดาห์ ปั่นไม่ต้องพักเลย งานเยอะมาก แล้วฟีดแบ็กก็ให้แบบเต็มอิ่ม จุก ทั้งในคลาสทั้งนัดนอกรอบ ครูปิ๊กเป็นคนพูดตรงด้วย เขียนมาน่าเบื่อก็บอกน่าเบื่อ๕๕๕๕๕ แต่อ่านขาดมากๆ ฟีดแบ็กครั้งแรกคือครูปิ๊กทำตารางแบ่งเป็นช่องๆ แล้วใส่ชื่อนิสิตในคลาสลงไปว่าใครมีปัญหาหรือจุดอ่อนตรงไหนบ้าง ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ คาร์ไม่มีจุดเด่นบ้างล่ะ conflict ออกช้าบ้าง (ปกติควรออกตั้งแต่ 15 นาทีแรกของเรื่อง) ปู background น้อยไปบ้าง คิดซิธ (หรือ situation) ไม่ดีบ้าง การบ้านถือว่าเยอะและตรวจเข้มกว่าพาร์ทครูสาวเป็นเท่าตัว ได้เขียนไปทั้งหมด 2 เรื่อง แก้แล้วส่งใหม่ๆ วนไปแบบนั้น ทดท้อใจมาก ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ แต่ครูปิ๊กสอนดี ให้หมดทุกเทคนิคที่ควรรู้สมเป็นนักเขียนบทจริงๆ เน้นให้เราเขียนบทละครที่ขายได้ ส่งช่องได้ ออนแอร์ได้ ไม่ใช่เขียนแล้วอินเองอยู่คนเดียว สุดท้ายก็เป็นคลาสที่ได้ความรู้และสร้างสรรค์กันเต็มที่มาก
พาร์ทครูสาวดีตรงเชิญวิทยากรมา คือมี ว.วินิจฉัยกุล และโปรดิวเซอร์อีกท่าน ซึ่งก็ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานจริงในวงการทีวีแบบถึงรากถึงแก่น ฟังแล้วก็สิ้นหวังนิดๆ เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักก็ยังต้องการบทที่ค่อนข้างแพทเทิร์น และเป็นวงการที่อาศัยคอนเนคชั่น แต่ก็มีหวังเพราะมีช่องทางออนไลน์เกิดใหม่เรื่อยๆ แล้วไอ้บทแบบแพทเทิร์นนี่แหละที่ต้องเขียนส่งครูสาว T__T เขียนบทละครยาว 1 ชั่วโมง เท่ากับ 25 หน้า พร้อม treatment 16 ตอน ซึ่งเยอะมากกกกกกกกกกกแลกกับการที่แต่ละคาบชิล ท้ายเทอมเขียนบทจะเป็นตัวที่รังควานไม่จบไม่สิ้น แล้วครูสาวเจาะพล็อตแบบแม่เจ้าาาาาาาาาาาา ไม่ยอมปล่อยให้ลงบทจริงแน่ๆ ถ้าพล็อตไม่แน่น ซิธไม่ดีพอ ครูสาวคนละสไตล์กับครูปิ๊กตรงที่ไม่ค่อยสนการสร้างตัวละคร แต่มองภาพรวมอย่างคนทำงานจริงๆ ว่าขายได้มั้ย สนุกมีสีสันน่าติดตามพอมั้ย เอาคนดูอยู่มั้ย ยาวพอ 16 ตอนมั้ย ซึ่งบอกเลยว่าบางครั้งเราก็ต้องยอมถอยแล้วกลับเข้าแพทเทิร์นละครไทยเพื่อให้ผ่านด่านครูสาวไปอะ สรุปว่าวิชานี้งานเยอะและอาจารย์เคี่ยวเข็ญโหดมากจริงๆ เด้อ ยังไม่นับเจอกันนอกรอบอีก ใครไม่พร้อมเทอมนั้นอย่าลง T v T เตือนแล้วนะ!
ความคิดเห็นส่วนตัว
❥ ความยาก
ยาก! ยากกว่าการเขียนบทละครเวทีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก บทละครเวทีอย่างน้อยมันก็มีทางให้เราเดิน การผูกคอนฟลิกต์ ตัวละคร อาจารย์จะไม่อะไรเท่าละครทีวีซึ่งมันต้องดึงคนดูอยู่ ไม่งั้นจะเปลี่ยนช่อง ไหนจะการสร้างคอนฟลิกต์ให้สนุกทุกจังหวะ การคิดไดอะล็อกปังๆ แถมคนดูเข้าใจทั้งที่ไม่ตั้งใจฟังมาก น้ำตาแทบเล็ด ฮือ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงตอนที่ตัน คิดไม่ออก ไม่รู้จะปั่นอะไร เวลานั้นคือนรกเลยแหละ พาร์ทครูปิ๊กยากตรงที่ครูปิ๊กเข้มอะ เค้าจะไม่ปล่อยให้จุดผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ลอยนวล เจาะบทแบบซีนต่อซีน ยากตรงที่ตัวละครต้องลึกพอให้ครูปิ๊กเชื่อ ส่วนพาร์ทครูสาวยากตรงครูสาวมีมาตรฐานในใจอยู่แล้ว ดังนั้นจะออกนอกกรอบเยอะมากไม่ได้ โดนตีกลับ จะละครน้ำเน่าจ๋าไม่ได้ โดนตีกลับ จะล้ำสมัยคนไทยไม่ดูก็ไม่ได้ โดนตีกลับ อิสระจะไม่เยอะเท่าที่ครูปิ๊กให้ แต่ถ้าจุดไหนเค้าอ่านแล้วไม่สะดุดก็จะผ่านเลยไป เลยรู้สึกว่าครูสาวใจดีให้ผ่านง่ายกว่าด่านครูปิ๊ก แต่ไม่ว่าจะเรียนกับใครก็จะถูกสั่งให้แก้งานไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ยันท้ายเทอมอยู่แล้ว
ส่วนคะแนน แน่นอนว่าเป็นปริศนาเหมือนวิชาภาคละครตัวอื่นๆ อยู่ด้วยกันแบบใช้ความเชื่อใจว่าอาจารย์จะไม่ทำร้ายเรา T w T ดังนั้นถามว่าเกรดยากมั้ย ไม่ยากเท่าระหว่างทางที่ปูด้วยขวากหนามแน่นอน ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
❥ ความชอบ
ชอบน้อยกว่าบทละครเวทีเพราะอย่างหลังมันตามใจตัวเองได้มากกว่า ใส่ความเป็นตัวเองได้เต็มที่ แต่ก็เป็นวิชาที่ชอบมากที่สุดในเทอมอยู่ดีเพราะเราชอบเขียนบท ความรู้ที่ได้คือเปิดทางให้เห็นอนาคตมากว่าวันๆ ต้องเจอกับอะไรบ้าง ยิ่งรับฟีดแบ็กยิ่งแข็งแกร่งขึ้น ๕๕๕๕๕๕๕ ละครก็ยังเป็นแพชชั่นของเราตลอดสี่ปีมานี้ การได้รู้เทคนิคต่างๆ ที่ทำให้คนชอบหรือไม่ชอบละครเรื่องนึงได้มันเปิดหูเปิดตาเราและเป็นอะไรที่เราเอาไปประยุกต์ใช้ได้เสมอเลย ฮือ แต่การชอบวิชานี้คือเหมือนคนเสพติดความเจ็บปวด โดนสับๆๆๆๆ แค่ไหนก็รับไหว แต่ทุกครั้งที่โดนสับเราได้พัฒนาขึ้น ถือว่าคุ้มค่ามากๆ แล้วนะ และเราก็ชอบที่ไม่บอกคะแนน ทำให้เราไม่เครียด ไม่ต้องมานั่งสนเรื่องเกรด /ความจริงคือแค่มีส่งก็เก่งมากแล้ว
อ้อ แถมวิชานี้ยังได้ลิสต์ซีรีส์น่าดูมาเต็มไปหมดเลย เอาไว้ศึกษาการเขียนบทระดับเทพเซียน ตอนนี้ดูซีรีส์ตาแฉะตั้งแต่ต้นเทอมยันปิดเทอม ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
❥ ข้อความสุดท้ายถึงวิชานี้
การเขียนบท is still การแก้บท
สรุปแล้ว ปี 4 สบายจริงหรือ? เราว่าขึ้นอยู่กับวิชาที่ลง ๕๕๕๕๕๕๕๕ และสำหรับเรามันสบายกว่าช่วงปี 3 จริงช่วงต้นเทอมถึงปลายเทอม แต่ช่วงไฟนอลดันเดือดมากๆๆๆๆๆ ไฟลุกไม่แพ้ปีอื่นเลย เหมือนชดใช้กรรมที่ทำตัวสบายเกินไป หรือบางทีมันอาจจะไม่ได้สบายขึ้นเลยสักนิด แต่เราปลงมากขึ้นต่างหาก เริ่มหาความสุขอย่างอื่น ปล่อยๆ การเรียนไปบ้าง สอบครั้งไหนได้คะแนนแย่ก็พยายามฮีลตัวเองเร็วที่สุดไม่เก็บมาคิด สุดท้ายแล้วมันก็จะผ่านไปด้วยดี :-) เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่แวะมาอ่านเลยค่ะ แฮปปี้นิวเยียร์ล่วงหน้านะคะ!
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in