เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Urban in Love Projecturbaninlove ♡
ทฤษฎีการเกิดความสัมพันธ์ : ขั้นตอนการเกิดความสัมพันธ์
  •           ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้นเกิดขึ้นอย่างมีเงื่อนไข โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือ ท่าทีและความรู้สึกที่เราแสดงต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งกระบวนการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นเป็นไปตามขั้นตอน ดังนี้


    ขั้นตอนที่ 1 : การเริ่มความสัมพันธ์ โดยประกอบด้วยปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการเริ่ม ได้แก่

    1)     การมีลักษณะทางกายที่ดึงดูดใจ

    2)     ความถี่ของการได้พบเจอกัน

    3)     ความคล้ายคลึงกันในลักษณะต่างๆ


    ขั้นตอนที่ 2 : การสร้างความสัมพันธ์ โดยทั่วไปนั้นจะเกิดใน 2 ลักษณะ คือ

    1)     เกิดขึ้นทีละน้อยตามเวลาที่ได้ติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กัน

    2)     เกิดเพราะมีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้น แต่แล้วเมื่อเกิดความสัมพันธ์ขึ้นมาแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มปริมาณของความสัมพันธ์มากขึ้นเรื่อย ๆ


    ขั้นตอนที่ 3 : การกระชับความสัมพันธ์

    ในขั้นตอนนี้ต่างฝ่ายต่างพยายามหาวิธีเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน เรียนรู้นิสัยของซึ่งกันและกัน ในขณะเดียวกันก็พัฒนานิสัยบางอย่างเพื่อตอบสนองและปรับตัวเข้าหากัน

    แนวคิดทั้งหมดทำให้มองเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แปรเปลี่ยนไปได้เป็นระยะ หากเป็นไปตามขั้นตอนความสัมพันธ์จะก้าวคืบหน้าไปจนกระชับแน่น ในทางตรงข้ามหากขั้นตอนหมุนย้อนหลังความสัมพันธ์จะเสื่อมคลายลงและอาจมาถึงขั้นตอนที่ 4 คือ การจบความสัมพันธ์


    ขั้นตอนที่ 4 : การจบความสัมพันธ์

    ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ มีการเริ่มต้นและมีการสิ้นสุดและ การสิ้นสุดความสัมพันธ์มักตามมาด้วยความรู้สึกทางลบหรือความขัดแย้ง ในการจบความสัมพันธ์มีขั้นตอนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ (Duck, 1982)

    1)     ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในความสัมพันธ์

    2)     อีกฝ่ายหนึ่งจะเริ่มต้นสื่อให้อีกฝ่ายทราบถึงความรู้สึกนั้น

    3)     คู่สัมพันธ์เผชิญหน้ากับปัญหาอันอาจนำไปสู่การปรับความเข้าใจกันหรือความขัดแย้ง

    4)     หากไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้จะมีการหันไปหาฝ่ายที่สาม ซึ่งตรงจุดนี้จะมีการเข้าข้างหรือแยกฝ่าย

         5)     ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าความสัมพันธ์สิ้นสุดลงจึงอาจตัดสินใจยุติความสัมพันธ์หรือปรับ รูปแบบความสัมพันธ์ใหม่

     

    สืบเนื่องจากขั้นตอนของการเกิดความสัมพันธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ลักษณะของความเป็นเมืองนั้นมีสวนในการที่จะนำพาการพบเจอมีปฏิสัมพันธ์กันของผู้คน การมีพื้นที่สาธารณะ ทางเท้า และการขนส่งสาธารณะที่ดีนั้นมีผลต่อการเกิดความสัมพันธ์ของมนุษย์ในทุกขั้นตอน และเมื่อนำมาพิจารณากับลักษณะผังเมืองกรุงเทพฯ ที่มีส่วนของพื้นที่สาธารณะที่น้อย ทางเท้าที่ไม่มีคุณภาพ และระบบขนส่งสาธารณะที่เอื้อประโยชน์แก่ห้างสรรพสินค้า


    เหตุเพราะมีผู้แสดงความคิดเห็นในมุมมองนี้ว่า การเดินห้างสรรพสินค้าไม่ได้ช่วยในการพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์แต่อย่างใด เพราะทุกอย่างถูกห้อมล้อมไปด้วยแบรนด์เนมและร้านค้าชื่อดังต่างๆ ไม่ได้บ่งบอกรสนิยมหรือความสนใจใดๆของอีกฝ่าย เมื่อเปรียบเทียบกันกับการที่เราไปเดินหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ หรือสวนสาธารณะ ที่เปิดโอกาสให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การที่เราไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย แปลว่าเราสนใจงานประเภทหนึ่ง และการได้เจออีกคนที่ชอบเหมือน ๆ กับเรา สนอกสนใจและชอบสิ่งที่คล้ายกับเรา นี่จึงคือส่วนหนึ่งของสถานที่ที่จะทำให้พบเจอคู่รักและเอื้อให้เราตกหลุมรักกันได้ แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเพราะการมีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ พื้นที่สาธารณะที่น้อย เราจึงไปห้างสรรพสินค้า จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การเดินห้างสรรพสินค้าเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการที่จะสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมา โดยอ้างอิงจากในบทความของ แอนโทนี่ ฟอซซี่ (Anthony Fossi) ในเว็บไซต์ของ WHA กับหัวข้อที่ว่า What Makes a City Romantic? อะไรทำให้เมืองนั้นโรแมนติก ประกอบด้วยเงื่อนไขต่างๆในการพิจารณา ในบทความได้ยกตัวอย่างเมืองที่มีเงื่อนไขตรงตามในบทความที่ระบุ เช่น เมืองเวนิสประเทศอิตาลี เมืองปารีสประเทศฝรั่งเศส


    เงื่อนไของค์ประกอบของการเป็นเมืองที่โรแมนติก เหมาะในการตกหลุมรักหรือสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นนองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญคือการเดิน ซึ่งถามว่ากรุงเทพนั้นสามารถเดินได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ ซึ่งนั่นหมายความว่าเราก็ต้องอาศัยการใช้รถ แต่คำถามต่อมาก็คือ เราทุกคนสามารถเข้าถึงรถได้หรือไม่ 


    -

              “พื้นที่ธรรมดาง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตและมีกิจกรรมร่วมกันได้ การเดินทางที่โยงใยทั่วถึง ไม่ว่าคุณจะรวยหรือจน จะเดินเท้าหรือนั่งรถไฟฟ้า ก็ควรถึงที่หมายได้เช่นกัน 

    -
    “การสร้างเส้นทางอันหลากหลายและเห็นประโยชน์ของทุกชนชั้นในสังคม จะทำให้เมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ขนส่งสาธารณะก็ควรให้ความสำคัญกับคนทำงานกลางคืนรวมถึงคนรายได้น้อยด้วย"
    -
    “ความโรแมนติกของทางเท้าในปารีส นิวยอร์ก มาดริด หรือแม้แต่ในโตเกียว ไม่เคยเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ลำพังการหาทางเท้าที่ปลอดภัย เดินสะดวก และไม่มีสิ่งกีดขวางตลอดทางก็เป็นเรื่องยากแล้ว ทางเท้าที่ไม่เชื่อมต่อมียกพื้นลามไปจนถึงชำรุดผุพัง ทำให้การเดินทางเท้าในกรุงเทพฯ เป็นความวิบากมากกว่าโรแมนติก”
    -

                โดยแท้ที่จริงเมื่อมองเงื่อนไขอื่น ๆ ซึ่งในลักษณะของเมืองกรุงเทพนี้นั้นมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายในการเป็นเมืองโรแมนติกได้ตามในบทความ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ของเมือง ชุมชน แลนมาร์กต่าง ๆ ที่น่าจดจำ และสถานที่ท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้กล่าวมาดังข้างต้น ถือว่ากรุงเทพถึงยังขาดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการที่จะเป็นเมืองโรแมนติก ทั้งปัจจัยด้านต่าง ๆ การมีพื้นที่สาธารณะที่น้อย ปัญหาทางเท้าที่ไม่เหมากับการสัญจรเดินทาง อีกทั้งระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ นั้นทำให้การปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ยาก


    - urbaninlove ♡


    อ้างอิง

    - พิชฌน์ จันทร์พริ้ม. “พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง.” Urban Creature, 13 กุมภาพันธ์ 2564. https://urbancreature.co/city-relationship-in-city-and-pucblic-space/.

    - NovaBizz. “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล Interpersonal.” สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565. https://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Interpersonal.html.

    - Vanat, Putnark. “เมื่อเมืองสัมพันธ์กับความรัก: เพราะการมีเมืองที่ดีส่งผลให้คนเราตกหลุมรักกันง่ายขึ้น.” The Matter, 12 กุมภาพันธ์ 2564. https://thematter.co/social/we_need_city_that_let_us_fall_in_love/135583.


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in