ผมได้มีโอกาสชมคลิปๆหนึ่งอยู่บนเฟสบุ๊คของเพจๆหนึ่งที่มีชื่อว่า Rob Dial โดยเขาได้นำเสนอความคิดของ Bruce Lipton นักชีวะวิทยาที่อธิบายความรู้เกี่ยวกับ จิตวิทยา กลไกของสมอง และการพัฒนาการของมนุษย์ เหตุผลว่าทำไมคนที่รวยถึงรวยขึ้นเรื่อยๆในทางกลับกันคนที่จนกลับจนลงเรื่อยๆเช่นกัน รวมไปถึงผมกระทบต่อการกระทำของเราที่มีมูลเห็นมาจากความคิดของเรา ซึ่งผมมองว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจประกอบกับผมกำลังเรียน จิตวิทยา พื้นฐานอยู่ซึ่งมันถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีและสอดคล้องมากๆกับเนื้อหาที่กำลังเรียนอยู่ ผมเลยอยากที่จะแบ่งปันความรู้ให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ
เนื้อหาแรกที่Bruceได้กล่าว คือ ใน7ปีแรกของมนุษย์ทุกๆคน สมองจะทำการรวบรวมข้อมูลคล้ายๆกับการสะกดจิต ในสมองของเด็กวัยนี้จะมีความถี่ในการสั่นสะเทือนน้อยกว่าวัยอื่นๆ และความสั่นสะเทือนนั้นก็ยังมีน้อยพอๆกับความตระหนักรู้หรือ consciousness ซึ่งแปลว่า เด็กในวัยนี้จะไม่ค่อยรู้ตัวว่าพวกเรากำลังทำอะไรอยู่ หรือพูดง่ายๆว่า การกระทำที่พวกเขาทำมันออกจากจิตใต้สำนึกหรือ subconscious เป็นส่วนใหญ่
คำถามต่อมาก็คือ ก่อนที่เด็กๆเหล่านั้นจะเริ่มคิดได้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเด็กเหล่านั้นไม่มีข้อมูลมาก่อนว่าสิ่งที่พวกเขาทำอยู่คืออะไรหรือเรียกว่าอะไร คำถามคือพวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ คำตอบคือเด็กเหล่านั้นจะเก็บข้อมูลจากการ ''ดู'' ดูพ่อแม่ ดูพี่น้อง หรือดูคนรอบๆข้าง
พอพูดถึงเรื่องการดูมันทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีๆหนึ่งที่เรียกว่า Mare-Exposure Affect หรือปรากฎการณ์ที่เราจะรู้สึกชอบบางสิ่งบางอย่างหรือใครบางคนที่ตอนแรกเรารู้สึกเฉยๆ เพียงเพราะแค่เราได้เห็นหรือได้รับฟังสิ่งนั้นบ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ท่านผู้อ่านเคยเป็นไหมครับ จู่ๆเราก็รู้สึกชอบเพลงที่เพื่อนร่วมห้องหรือร้านกาแฟร้านโปรดเปิดเป็นประจำ ทั้งที่ตอนแรกเราก็ไม่ได้รู้สึกชื่นชอบอะไรเลย โดยปรากฏการนี้มีนักจิตวิทยาได้ทำการทดลองมากมายหนึ่งในนั้นเป็นของ Kunst และ Williams เขาสองคนนี้โชว์รูป 8 เหลี่ยม ให้ผู้ร่วมการทดลองดูเป็นเวลา เพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ซึ่งผู้ร่วมการทดลอง ทุกคนไม่มีใครสามารถบอกได้ชัดเจนว่าเห็นรูปอะไร แต่พอลองถามคำถามถัดๆมา เขาพบว่าทุกคนดูจะชื่นชอบกับรูป 8 เหลี่ยมมากขึ้น แล้วทฤษฎีนี้ให้อะไรกับเรา? ในทางการตลาดบางบริษัทก็ได้หยิบทฤษฎีนี้มาใช้ในการโปรโมทสินค้า โดยพวกเขาได้ทำการ โฆษณาสินค้าจากสื่อต่างๆให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะดึงดูดความประทับใจของผู้ชม ในเรื่องความรักก็สามารถนำมาใช้ได้ ยกตัวเองเช่น ท่านผู้อ่านลองถามใจตัวเองดีๆว่าการที่เรารู้สึกชอบใครสักคนมันเป็นเพราะเรารู้สึกชอบเขาจริงๆหรือมันเป็นเพียงเพราะว่าเราได้มีโอกาสผมพบเจอเขาบ่อยๆเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นที่มาของวลีฮิตติดปากว่า "รักแท้แพ้ชิดใกล้"
เรากลับมาที่ในส่วนของคลิปต่อแล้วกันนะครับ หวังว่าท่านผู้อ่านจะรู้สึกสนุกไปกับเกร็ดความรู้ที่ให้ไป อย่างต่อมาที่Bruceได้กล่าวในคลิปคือ บางอย่างเราไม่จำเป็นต้องสอนเด็กวัยนี้มากจากคำพูดแต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือการกระทำ เด็กในวัยนี้จะทำแค่เพียงสังเกตและจดจำ โดยBruceได้อ้างอิงจากหนังสือชื่อดังเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า " Rich Dad Poor Dad " ซึ่งใจความในนั้นมีประมาณว่า ถ้าคุณมาจากครอบครัวที่จนคุณก็จะจนทั้งชีวิต ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณมาจากครอบครัวที่รวยถึงคุณจะทำตัวแย่ยังไงคุณก็จะยังรวยอยู่
ซึ่งมันฟังดูไม่แฟร์ใช่ไหมครับ และค่อนข้างที่จะขัดแย้งกับวลีปลุกใจที่ว่า " คุณเลือกที่จะเกิดไม่ได้แต่คุณเลือกที่จะเป็นได้ " ทั้งนี้ทั้งนั้นมันมีเหตุผลของมันครับ โดยBruceได้กล่าวต่อว่า เหตุผลที่ในหนังสือเล่มนี้กล่าวเช่นนั้น มันไม่ได้เป็นเพราะความคิดแต่มันมาจากพฤติกรรมที่เราไม่ได้ตระหนักรู้ หรือเรียกว่า unconscious behavior ซึ่งเราได้สะสมมันมามาตั้งแต่ช่วงเวลาที่เราเกิดถึงวันที่เราอายุครบ7ปี เพราะฉะนั้นเด็กที่เกิดหรืออาศัยอยู่ในครอบครัวที่ร่ำรวย พวกเขาก็จะซึมซับวิธีคิด วิถีการดำเนินชีวิต หรือ การบริหารธุรกิจอย่างไม่รู้ตัว อีกมุมหนึ่งเด็กที่เกิดในครอบครัวที่ยากจนก็จะซึมซับวิธีคิดที่ลำบาก ท้อแท้ สิ้นหวังจากพ่อแม่อย่างไม่รู้ตัวเช่นกัน เมื่อเด็กทั้งสองกลุ่มเติบโตขึ้นพวกเขาจึงมีชีวิตที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่เขาได้รับรู้ตอนที่พวกเขาอายุตั้งแต่1-7ปี
พอมาถึงตอนนี้มันทำให้ผมคิดถึงทฤษฎีหนึ่งที่สามารถอธิบายว่า ทำไมคนจนถึงจนลงแล้วทำไมคนรวยกลับรวยขึ้นในอีกมุมมองหนึ่ง ทฤษฎีนี้มีชื่อว่า Matthew Affect ซึ่งชื่อนี้มาจาก พระคัมภีร์ไบเบิล แมทริวบทที่25ข้อที่20 ที่กล่าวว่า “For to every one who has will more be given, and he will have abundance; but from him who has not, even what he has will be taken away.” “สำหรับคนที่มี เขาจะยิ่งได้รับเพิ่มมากขึ้นและก็จะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ตามมา ส่วนคนที่ไม่มี เขาก็จะต้องสูญเสียในสิ่งที่เขามีไป” ซึ่งคนแรกที่ยกทฤษฎีนี้ขึ้นมาพูดคือ Robert K. Merton เขาได้กล่าวว่า การที่คนที่เกิดมารวยจะรวยขึ้นและคนที่เกิดมาจนก็จะจนลงเป็นเพราะว่าความรวย ชื่อเสียง ความโด่งดังที่พวกเขามีอยู่จะส่งผลกระทบต่อความคิดของคนอื่นซึ่งจะทำให้โอกาสต่างๆที่ตามมาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนจน พูดง่ายๆคือ เพราะคนรวยมีดีกรีที่สูงกว่าก็ย่อมจะได้รับโอกาสในด้านต่างๆที่มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การสมัครงานในหน่วยงานต่างๆ คนที่มีชื่อเสียง หรือ คนที่มีนามสกุลที่คุ้นหน้าคุ้นตา มักจะได้รับความสนใจและการยอมรับที่มากกว่า หรือในอีกตัวอย่างหนึ่งคือ ในด้านของการค้า แบรนด์ไหนที่สามารถสร้างชื่อเสียงได้มากกว่าและเร็วกว่าก็จะมีโอกาสเติบโตเร็วกว่าแบรนด์ที่ทำชื่อเสียงได้น้อยกว่า ทั้งๆที่บางทีคุณภาพของสินค้าอาจจะเท่ากันก็เป็นได้
จากที่Bruceได้กล่าวมา คำถามถัดมาคือแล้วทำไม พฤติกรรมที่พวกเขาซึมซับแบบไม่รู้ตัวเหล่านั้นถึงกำหนดชีวิตของพวกเขาในตอนโต? คำตอบคือBruceได้กล่าวว่าพฤติกรรม 95 เปอร์เซ็นของชีวิตมนุษย์เรามาจาก จิคใต้สำนึก และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นเท่านั้นที่มาจากการตระหนักรู้ นั่นก็คือการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจมากๆสำหรับผมมันคือความสอดคล้องกันของวิทยาศาสตร์และศาสนาโดยเขาได้อ้างอิงจากพระคัมภีร์ไบเบิลที่พระเยซูได้กล่าวว่า " Give me a child until it's seven and i will show you the man ""ให้บุตรชายกับเรา เมื่อเขาอายุ7ปี เราจะทำให้ท่านเห็นถึงผู้ใหญ่" เขาได้กล่าวว่าเหตุผลที่ไบเบิลได้เขียนแบบนี้เพราะเขารู้ว่า 7ปีคือช่วงเวลาของการรับรู้ แล้วชีวิตต่อจากนั้นก็จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เรารับรู้ในช่วง7ปีนั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผมไม่ใช่เพียงว่าทฤษฎีถูกกล่าวถึงตั้งแต่400ปีที่แล้ว แต่มันคือความน่าเหลือเชื่อที่ผู้คนในยุคนั้นจะสามารถอธิบายทฤษฎีทางจิตวิทยาได้อย่างแม่นยำเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ทั้งๆที่ในยุคนั้นพวกเขาไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยอะไรเลย
สิ่งต่อมาที่Bruceได้กล่าวคือ แล้วหลังจากอายุ7ปี เราจะใส่ข้อมูลของเราอย่างไรเพื่อที่จะให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็น unconscious behavior? ท่านผู้อ่านลองนึกภาพตามนะครับถ้าพฤติกรรม95เปอร์เซ็นของเรามาจาก ช่วงอายุ1-7ปี แล้วเราสามารถท่องสูตรคูณได้อย่างไร เพราะในชีวิตประจำวันเราก็แทบเห็นพ่อแม่ของเราท่องสูตรคูณ ได้Bruceโดยได้ให้คำตอบว่า "การทำซ้ำ และการฝึกซ้อม" เขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าคุณอยากเป็นคนทีี่มีความสุข คุณก็ต้องพูดกับตัวเองซ้ำๆตลอดเวลาว่า "ฉันมีความสุขๆ"คุณไม่ได้พูดกับใครแต่คุณกำลังพูดกับ จิตใต้สำนึกของคุณ ถ้าจิตใต้สำนึกของคุณเข้าใจว่า คุณมีความสุข และพฤติกรรม95เปอร์เซ็นของคุณมาจากจิตใต้สำนึกนั้น แน่นอนคุณไม่ต้องมานั่งพูดแล้วว่าคุณมีความสุขแต่พฤติกรรมของคุณต่างหากที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนมีความสุข
จากประโยคนี้ที่Bruceได้กล่าวมามันทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีอีกอย่างหนึ่งที่ผมกำลังเรียนอยู่และค่อนข้างสอดคล้องกับเรื่องที่เขาพูด ทฤษฎีนี้เรียกว่า self fulfilling prophecy หรือ pygmalion effect โดยสาเหตุที่ นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า pygmalion effect ได้แรงบันดาลใจจาก pygmalion ตำนานเทพเจ้ากรีก Pygmalion ช่างแกะสลักที่ตกหลุมรักรูปปั้นของเขา Pygmalion ทะนุถนอมดูแลรูปปั้นของเขาประหนึ่งว่ารูปปั้นนั้นเป็นคนจริงๆจนวันหนึ่งเทวดารู้สึกเห็นใจจึงเสกรูปปั้นให้มีชีวิตขึ้นมาจริงๆ มันคือทฤษฎีที่พูดง่ายๆว่า " คิดแบบไหน ได้แบบนั้น" โดยนักจิตวิทยาท่านหนึ่งที่ได้ทำการทดลองโดย การที่บอกคุณครูว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่ฉลาดและมีหัวสมองดี หลังจากได้ทำการทดสอบทางจิตวิทยา โดยที่จริงๆได้นักจิตวิทยาได้ทำการสุ่มเด็กกลุ่มนั้นขึ้นมาเอง โดยห้ามคุณครูบอกกับใครว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กอัจฉริยะ 1 ปีผ่านไปผลปรากฎว่าเด็กกลุ่มนั้นมีผลการเรียนที่ดีขึ้นมาจริงๆ นักจิตวิทยาพบว่า ความคาดหวังของครูทำให้เด็กมีผลการเรียนที่ดีขึ้น เพราะครูเชื่อว่าเด็กเหล่านั้นเป็นเด็กอัจฉริยะจริงๆ แล้วเราได้อะไรจากทฤษฎีนี้หล่ะ? อย่าแรกคือการกำหนด mind set ถ้าหากเรามี mind set ที่ดีและเชื่อว่าเราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จได้ เราก็จะทำมันสำเร็จ อย่างถัดมาคือความเชื่อ ความเชื่อเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่มันมีพลังบางอย่างที่สามารถทำให้สิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นจริง
ผมอยากจะจบบทความนี้ด้วยการให้กำลังใจคนที่กำลังสิ้นหวังหรือหมดศรัทธากับบางสิ่งบางอย่างอยู่ผมเชื่อว่าถ้าท่านได้เจียดเวลามาอ่านบทความนี้มันจะสามารถทำให้ท่านมีความหวังและเป็นประโยชน์ในอนาคตไม่มากก็น้อยครับ
แหล่งที่มา
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in