เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
PULSE FICTION By ยชญ์ บรรพพงศ์
  • รีวิวเว้ย (1239) "ทฤษฎีสมคบคิด เรื่องลึกลับ สัตว์ประหลาด ฆาตกรรม ความลี้ลับที่หาสาเหตุไม่ได้ เรื่องเล่าจากเคสจริงที่น่ากลัวกว่าฟิกชัน" ขอโทษผิดเล่ม มันเริ่มขึ้นเมื่อไหร่กันนะที่คนไทยชอบฟังเรื่องสยองขวัญ (?) หลายคนบอกว่าตั้งแต่ที่พี่ป๋อง กพล ทองพลับ เริ่มทำรายการ The Shock ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2535 แต่ถ้าย้อนกลับไปทบทวนดูดี ๆ เราอาจะไปได้ไกลกว่าพี่ป๋อง หลายคนบอกว่าเราเสพติดเรื่องสยองขวัญมาตั้งแต่ช่วงของการ์ตูนผีเล่มละบาท แต่ถ้าลองคิดดูดี ๆ เราอาจจะย้อนกลับไปได้ไกลกว่านั้นมาก อาจจะย้อนไปได้ไกลถึงช่วงที่ก่อนศาสนาพุทธจะเดินทางเข้ามาในดินแดนแถบนี้เสียอีก เพราะก่อนหน้านั้นชุดความเชื่อและการนับถือ "ศาสนาผี" เป็นรากฐานของสังคมดังเดิมแถบนี้มาช้านาน หรือถ้าขยับใกล้มาอีกสักหน่อยเราจะพบหลักฐานเรื่องของการเล่าเรื่องสยองในยุครัตนโกสินทร์ผ่ายผลงานของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ เจ้าของโรงละครปรีดาลัย ทรงนิพนธ์เรื่อง "อีนางพระโขนง" เป็นละครร้อง และตีพิมพ์บทละครนั้นออกสู่สาธารณชนเมื่อต้นรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2455) แต่ก่อนหน้านั้นเรื่องของนางนากก็มีปรากฎในฐานะของบทร้องลิเกและเรื่องเล่ามาช้านานในสังคมสยาม กระทั่งปัจจุบันความนิยมในเรื่องสยองขวัญของสังคมไทยก็ดูจะไม่ได้จางหายไป แค่เปลี่ยนรูปแบบที่แต่เดิมเคยเป็นเรื่องเล่าละครรำ มาสู่บทละคร หนังสือ โทรทัศน์ วิทยุ และปรากฏอยู่ในรูปของรายการออนไลน์อย่างในปัจจุบัน
    หนังสือ : PULSE FICTION
    โดย : ยชญ์ บรรพพงศ์
    จำนวน : 64 หน้า

    "PULSE FICTION" ผลงานเขย่าขวัญแนวทดลองเล่าผ่าน 3 เรื่องสั้น ที่เมื่ออ่านจบแล้วเราจะอดอุทานไม่ได้ว่า "อะไรครับเนี่ย" เป็นผลงานเชิงทดลองเล่า ทดลองเขียน และทดลองขยายไลน์ความสยองขวัญจาก Podcast รายการ UNTITLED CASE ของ Salmon Podcast มาสู่หนังเรื่องสั้นใน "PULSE FICTION" ผลงานการขยายจักรวาลของยชญ์ บรรพพงศ์

    โดยเรื่องสั้นทั้ง 3 เรื่องที่ปรากฏอยู่ใน "PULSE FICTION" ประกอบไปด้วย

    (1) หนุ่มครีเอทีฟกับบททดสอบความเป็นมนุษย์

    (2) เด็กสาวที่เผชิญหน้ากับความหลอนในสายตาที่มองเห็น

    (3) เด็กหญิงที่หลังผ่าตัดต้องรับมือกับภาวะประสาทสัมผัสไวต่อสิ่งรอบตัวเกินปกติ

    ที่อาจจะเรียกได้ว่าเรื่องสั้นทั้ง 3 ใน "PULSE FICTION" คือการสั่นคลอนความเชื่อผ่านอารมณ์และความรู้สึกกึ่งสยองกึ่งสงสัย ที่ในหลายช่วงของการเล่าเรื่องมันช่วนให้เราคิดต่อไปว่า ถ้าเรื่องมันยาวกว่านี้ในแต่ละตอน มันจะไปจบที่ตรงไหนกันวะ และถ้าเกิดวันหนึ่งวันใดที่เรื่องสั้นเหล่านี้ถูกบอกเล่าต่อไปในอนาคต แบบบทละครเรื่อง "อีนางพระโขนง" ของกรมพระนรา อยากรู้เลยว่าตัวละครในเรื่องสั้นทั้ง 3 จะมีที่ยืนของตัวเองอย่างไรในความรับรู้ของคนยุคหน้า

    #Salmonbooks #PulseFiction

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in