เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาฯ
  • รีวิวเว้ย (1320) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    การลงประชามติถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ เบร็กซิท (Brexit) อันหมายถึงการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร โดยเกิดหลังการลงประชามติวันที่ 23 มิถุนายน 2016 ซึ่งผู้ออกเสียงลงคะแนนร้อยละ 51.9 ออกเสียงสนับสนุนการถอนตัวออกจากสถานะของการเป็นสมาชิกของาหภาพยุโรป ซึ่งในกาลต่อมาการลงประชามติดังกล่าวได้สร้างผลกระทบที่ตามมามากมาย นอกเหนือไปจากเรื่องของการต่อสู้กันของฝ่ายสนับสนุนการออกจากการเป็นชาติสมาชิกและฝ่ายต่อต้านการออกจากการเป็นชาติสมาชิก กระทั่งการตั้งข้อสังเกตในเรื่องของขอบเขตอำนาจของการออกจากการเป็นสมาชิกของสหราชอาณาจักรที่อาจจะมีประเด็นที่มีบางประเทศที่ถูกนับรวมอยู่ในฐานะของสหราชอาณาจักรอย่างเวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการทำประชามติครั้งนั้นและมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจนำไปสู่การแยกตัวเป็นอิสระของเวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือได้ในกรณีที่พวกเขาอาจจะไม่อยากทิ้งสถานะของการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ปัญหาจากการลงประชามติดังกล่าวได้สร้างการต่อสู้กันในทางคดีเพื่อให้เกิดการทบทวนขอบเขตอำนาจและกฎหมายภายใต้ระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ (Common Law) ของสหราชอาณาจักรที่อาจจะมีความไม่สมมาตรของการใช้อำนาจอันเนื่องมาจากการตีความจากกฎหมายหรือคำพิพากษาในครั้งอดีตเมื่อโบราณกาลก่อน ทำให้เกิดกรณีพิพาททางกฎหมายครั้งใหญ่ในเรื่องดังกล่าวอย่างคดี Miller ขึ้น ที่เป็นการตั้งคำถามต่อบทบาทของหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาในการจัดโคตรสร้างการเมืองการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร
    หนังสือ : คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา: บทเรียนจากกฎหมายรัฐธรรมนูญสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์เบร็กซิท
    โดย : รวินท์ ลีละพัฒนะ
    จำนวน : 115 หน้า
    .
    หนังสือ "คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา: บทเรียนจากกฎหมายรัฐธรรมนูญสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์เบร็กซิท" เป็นหนังสือเล่มใหญ่ที่ขนาดไม่หนาแต่ในฐานะของผู้อ่านอาจจะต้องบอกว่าการอ่านเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ไม่ง่ายนัก ด้วยความที่เนื้อหาของ "คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา: บทเรียนจากกฎหมายรัฐธรรมนูญสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์เบร็กซิท" เป็นการกล่าวถึงนิติวิธีทางกฎหมาย ที่ทาบทับอยู่บนเหตุการณ์การลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจัก อันก่อให้เกิดข้อพิพาทที่นำไปสู่การทบทวนและตั้งคำถามถึงคบามชอบธรรมของระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์
    .
    ดังที่ปรากฎข้อความของผู้เขียนเอาไว้ว่า "แต่สำหรับบรรดาเหล่านักกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว ประชามติเบร็กซิทถือเป็นหมุดหมายสำคัญทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่เชิญชวนให้พวกเขาเหล่านั้น (นักกฎหมายรัฐธรรมนูญ) ต้องกลับมาทบทวนหลักการต่าง ๆ ทางรัฐธรรมนูญซึ่งถูกพัฒนาโดยคอมมอนลอว์ (Common Law) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังรัฐบาลตัดสินใจริเริ่มกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปตามผลของประชามติ จนฝ่ายคัดค้านการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปตัดสินใจยื่นฟ้องคดีสำคัญที่รู้จักกันในนามคดี Miller เมื่อ ค.ศ. 2016 เพื่อโต้แย้งอำนาจของรัฐบาล หนังสือเล่มนี้มุ่งวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาในคดี Miller เป็นสำคัญโดยเชื่อมโยงกับแกนของกลไกทางรัฐธรรมนูญแห่งบริเตนใหญ่ นั่นก็คือหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา" (น.3-4) ซึ่งข้อความดังกล่าวนี้น่าจะบอกถึงเป้าประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ได้เป็นอย่างดี
    .
    ซึ่งสำหรับเนื้อหาของ "คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา: บทเรียนจากกฎหมายรัฐธรรมนูญสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์เบร็กซิท" ได้ถูกแบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 บท ดังต่อไปนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ: เบร็กซิท, คดี Miller, และหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา
    .
    บทที่ 2 ประเด็นพิพาทในคดี Miller กับบทบาทของหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาในการจัดโคตรสร้างการเมืองการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย
    .
    บทที่ 3 คำพิพากษาของศาลฏีกาแห่งสหราชอาณาจักรในคดี Miller กับหลักอำนานสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา
    .
    บทที่ 4 จากคดี Miller I ถึงคดี Miller II: หลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาภายหลัง ค.ศ. 2017
    .
    บทที่ 5 ข้อความส่งท้า
    .
    "ในสังคมที่ความแตกแยกอย่างสังคมไทยเป็นยุคปัจจุบัน บทเรียนจากการศึกษาวิเคราะห์คดี Miller ทั้งสอง (Miller I, Miller II) เชื่อมโยงกับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาก็ยังจะช่วยย้ำเตือนให้เห็นถึงอันตรายของการอ้างหลักกฎหมายแต่ละเลยสารัตถะของหลักนั้น ข้อพิพาทระหว่างรัฐสภาเวสต์มินเตอร์กับรัฐบาล และระหว่างรัฐบาลสหราชอาณาจักรกับรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับโอนอำนาจ แสดงให้เห็นว่าการกระทำในลักษณะนี้หาได้ช่วยทำให้ความขัดแย้งบรรเทาลงหากแต่เป็นตัวเร่งเร้าให้สังคมแตกแยกยิ่งไปกว่าเดิม" (น. 83) เป็นข้อความย่อหน้าสุดท้ายที่ปิดการนำเสนอของ "คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา: บทเรียนจากกฎหมายรัฐธรรมนูญสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์เบร็กซิท" ที่เราเห็นว่าเป็นข้อความที่ลงตัวและชัดเจนสำหรับการบอกเล่าถึงความพยายามในการนำเสนอข้อมูลของหนังสือ "คดี Miller กับหลักอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา: บทเรียนจากกฎหมายรัฐธรรมนูญสหราชอาณาจักรในเหตุการณ์เบร็กซิท" ที่บอกกับผู้อ่านอยู่ในทีว่า การทบทวนตรวจสอบความชอบธรรมหรือมาตรฐานบางประการที่สืบทอดเป็นแนวทางต่อกันมาแสนนานในหลายหนแนวทางเหล่านั้นอาจจะจำเป็นที่จะต้องถูกทบทวนกันอีกครั้งในวันและเวลาที่หลายสิ่งกำลังละทิ้งบริบทจากครั้งอดีตกาล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in