เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
โทโรนา ออฟฟิศแห่งการลาจาก By ซนฮย็อนจู แปล ภัททิรา
  • รีวิวเว้ย (1318) "มนุษย์เป็นสัตย์สังคม" คำกล่าวของนักปราชญ์ชาวกรีกอย่างอลิสโตเติล ที่พูดถึงเรื่องของสังคมมนุษย์ที่ผู้คนล้วนอยู่รวนกันเป็น "หมู่เหล่า" เพราะการรวมตัวกันของมนุษย์มีความจำเป็นหลายประการที่ทำให้มนุษย์ต้องเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน กระทั่งในเวลาต่อมาการร่วมกลุ่มของมนุษย์ได้พัฒนาไปสู่หลายสิ่งหลายอย่าง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ได้ในกาลต่อมา ความเชื่อและการมองว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ในโลกยุคที่ผู้คนเปราะบาง เหนื่อยล้าและอ่อนแอ ในหลายหนการเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์นั้นนำพาความยากลำบากมาให้กับการใช้ชีวิตของมนุษย์ในหลากหลายสังคม
    หนังสือ : โทโรนา ออฟฟิศแห่งการลาจาก
    โดย : ซนฮย็อนจู แปล ภัททิรา
    จำนวน : 216 หน้า
    .
    "ฉันหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นถ้อยคำปลอบโยนแก่คนที่เหน็ดเหนื่อยกับความสัมพันธ์ ในโลกใบนี้มีผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่รู้ว่า “ฉัน” เป็นใคร…ฉันอยากบอกคนหนุ่มสาวที่กำลังล่องลอยอยู่ในโลกโดยไม่มีเวลาได้ทำความรู้จักตัวเอง จนรู้สึกกดดันและท้อแท้ว่า ไม่ว่าเมื่อไร การทำตามหัวใจตัวเองก็ยังไม่สาย" ข้อความที่ปรากฎอยู่ในเว็บของสำนีกพิมพ์ เป็นการบอกเล่ากลาย ๆ ถึงหนังสือเล่มนี้ว่ามันว่าด้วยเรื่องของ "ความสัมพันธ์ของผู้คน" ในยุคที่คนส่วนใหญ่ในหลายสังคมล้วนเปราะบาง เหนื่อยล้า และยุ่งยากต่อการบริหารจัดการชีวิต
    .
    การที่ชีวิตของคนเราเริ่มต้นขึ้นจากความสัมพันธ์ทั้งในความสัมพันธ์ที่จำเป็นต้องเข้าสังคมเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ตามค่านิยมหรือธรรมเนียมบางประการของสังคมบางแห่ง และบางครั้งความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นขึ้นของผู้คนก็เป็นความสัมพันธ์ที่มาจากชุดความเชื่อในเรื่องของ "การเติมเต็ม" โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในรูปแบบของความรักหรือคนรัก หากแต่ในทุกความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนอกจากส่วนดีแล้วในความสัมพันธ์เหล่านั้นมักจะตามมาด้วยเงื่อนไขบางอย่างเสมอ แน่นอนว่าในความสัมพันธ์หลายคนอาจจะอยู่กับมันได้ จนในท้ายที่สุดมันพัฒนาไปสู่การ "จำทน" เมื่อความเปลี่ยนแปลงไปสู่การจำทน ในโลกที่ผู้คนต่างเปราะบางและเหนื่อยล้า การหาทางจบปัญหาเหล่านั้นกลายเป็นเป้าหมายของหลาบชีวิต แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่อ่อนแอเกินกว่าจะทำเรื่องเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง เพราะพวกเขามารู้ภายหลังว่าตนเอง เปราะบาง เหนื่อยล้าและอ่อนแอเกินกว่าที่จะมีความกล้าหาญพอจะจัดการกับความสัมพันธ์ที่ผูกยึดตัวตนของพวกเขาเอาไว้
    .
    "โทโรนา ออฟฟิศแห่งการลาจาก" ย้ำเตือนให้ผู้อ่านได้เห็นด้านที่เปราะบาง เหนื่อยล้าและอ่อนแอของชีวิต และในหลายความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ คือ ภาพสะท้อนแทนสังคมหลาย ๆ แห่งในโลกจริง โลกที่เรียกร้องความแข็งแรงและกล้าหาญ จากจิตวิญญาณของผู้คนที่ล้วนเปราะบาง แหลกสลาย อ่อนแอและในหลายหนคนเหล่านั้นก็ติดจะขลาดกลัวเสียด้วยซ้ำไป

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in