เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ติดเกาะกับตึกเก่า By museum siam
  • รีวิวเว้ย (1301) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ล
    .
    ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจทั้งในเรื่องของการเติบโต การพัฒนา ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด แต่ความน่าสนใจของการพัฒนาแบบญี่ปุ่นคือการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ผ่านกฎระเบียบของภาครัฐ รวมถึงการผลักดันให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องของการพัฒนาและการดูแลรักษาทรัพยากรของสังคม ดังที่ปรากฏในเรื่องของ DENKEN ที่เกิดขึ้นมาในฐานะเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนา ซึ่งปรากฏอยู่ในพัฒนาการของแนวคิดดังกล่าว "...มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นรูปธรรมในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ด้วยการผลักดันให้ท้องถิ่นออกระเบียบเฉพาะควบคู่ไปกับการพัฒนากฎหมายด้านการอนุรักษ์ที่กว้างออกไป ‘ครอบคลุม’ บริเวณและสภาพแวดล้อมจนประกาศเป็น 'เขตพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์กลุ่มอาคารสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิม' หรือ Dentou-teki-KenzoubutsugunHozon-Chiku (伝統的建造物群保存地区) ในภาษาอังกฤษคือ District for Preservation of Group of traditional buildings สามารถเรียกย่อๆ ได้ว่า ‘Denken Chiku’ (伝建地区)" เมื่อเป็นเช่นนั้นการพัฒนาและการอนุรักษ์จึงมิใช่คู่ขัดแย้งของกันและกันในลักษณะของขาว-ดำ
    หนังสือ : ติดเกาะกับตึกเก่า
    โดย : museum siam
    จำนวน : 214 หน้า
    .
    "ติดเกาะกับตึกเก่า" หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า "Storied Structure: Architectural awe of Old Town Bangkok" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของตึก อาคาร สถาปัตยกรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยการบอกเล่าเรื่องราวของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ถูกแบ่งเป็น 12 กลุ่มอาคาร โดยอาศัยการแบ่งหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-L ที่ในแต่ละหมวดจะมีกลุ่มของอาคารแต่ละแบบ มีการบอกเล่าประวัติความเป็นมา ความสำคัญและเกร็ดเรื่องเล่าที่ปรากฏอยู่ในตัวสถาปัตยกรรมเอง และบริเวณสถาปัตยกรรมเหล่านั้น
    .
    ในส่วนนำของ "ติดเกาะกับตึกเก่า" ได้ทีการกล่าวถึงสถาปัตยกรรม 4 รูปแบบที่ปรากฏิอยู่ในบริเวณพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ดังนี้
    .
    (1) สถาปัตยกรรมยุคไทยประเพณี ในช่วงศตวรรษแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเรายังครองตัวอยู่ในสังคมจารีต มีวัดกับวังเป็นสำคัญ
    .
    (2) สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งในยุคจักรวรรดินิยม ในช่วงศตวรรษที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับชาวตะวันตก เราปรับตัวไปเป็นราชอาณาจักรสยามโฉมใหม่ มีความศิวิไลซ์ ชนชั้นนำเริ่มเห่อฝรั่ง พร้อมกับการเข้ามาของกิจการแบบใหม่ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน เราเริ่มมีโรงเรียน มีโรงละคร โรงพยาบาล โรงทหาร มีโรงงานผลิตเหรียญ มีไปรษณีย์ มีคุก มีสุสาน ล้วนเป็นตึกแบบฝรั่งทั้งสิ้น เราอยู่เรือนบังกะโลอย่างฝรั่ง ริมถนนสร้างตึกแถวก็เป็นแนวฝรั่งด้วยเช่นกัน
    .
    (3) สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น รูปแบบลดทอน เรียบง่ายสะท้อนสภาพสังคมสมัยใหม่หลังปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางการเมือง
    .
    (4) สถาปัตยกรรมยุคสงครามเย็น ที่มีอเมริกาเป็นผู้นำและต้นแบบ เกาะรัตนโกสินทร์เริ่มถูกลดบทบาทลง กลายเป็นเพียงย่านเมืองเก่า ด้วยความเจริญเคลื่อนตัวไปยังที่อื่น
    .
    อีกทั้งในส่วนนำของ "ติดเกาะกับตึกเก่า" ยังได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า "สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในวันนี้ ยุคที่กรุงเทพฯ เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เริ่มมีการโหยหา กลับเข้ามาสู่เมืองเก่า ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์อาคารเก่าเพื่อหน้าที่ใช้สอยใหม่ ย่านเมืองเก่ากลับมาหอมหวานอีกครั้ง สถาปัตยกรรมในเกาะรัตนโกสินทร์นี้เอง ที่ที่ตะวันออกพบตะวันตก ความเก่าพบความใหม่ บอกให้เรารู้ว่ากรุงเทพมหานครแห่งนี้ไม่เคยท้อต่อการเปลี่ยนแปลง และจะเจริญเติบโตต่อไปไม่หยุดนิ่ง"
    .
    "ติดเกาะกับตึกเก่า" ทำให้เราเห็นว่าภาพของเมืองแต่ละแห่งที่สะท้อนออกมาผ่านการดูแลรักษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ เพื่อหาทางอยู่ร่วนกันระหว่างการพัฒนาและการดูแลรักษาสิ่งสำคัญที่สะท้อนภาพของสังคม วัฒนธรรมหรือเมืองหนึ่ง ๆ นั้น สามารถกระทำควบคู่กันไปได้ โดยที่ในบางครั้งทั้งการพัฒนาและการอนุรักษ์ก็เดินร่วมกันไป ในบางหนการพัฒนาอาจจะต้องหาเส้นทางใหม่เพื่อหลบเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยละเลยอดีต และในบางหนการอนุรักษ์อาจจะต้องหาทางประณีประนอมให้กับการพัฒนาเพื่อไม่ให้สังคมหนึ่ง ๆ ละเลยหรือล้าหลังต่อการเปลี่ยนแปลงไปของสังคม
    .
    อ่านเพิ่มเติมเรื่อง DENKEN ได้ที่ https://thematter.co/science-tech/why-we-should-learn-denken-from-japan/56209

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in