เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
BCL101 Small changs for betterment การทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเบื้องต้น
  • รีวิวเว้ย (1759) หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า "ชีวิตคนไม่ใช่ของเล่น" ทำให้การทดลองในมยุษย์หลายหนกลายเป็นสิ่งต้องห้ามและไม่ให้ทำจนกว่าจะแน่ใจว่าการทดลองหนึ่ง ๆ จะมีผลที่แน่นอนแล้วว่าจะไม่ส่งผลกระทบในทางร้ายต่อมนุษย์การทดลองในมนุษย์จึงจะเริ่มขึ้นได้ ซึ่งนั่นคือพื้นฐานของการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทุกสิ่งอย่างต้องแน่นอนไม่คลาดเคลื่อนและผลในห้องทดลอง (Lab) เป็นที่เชื่อถือได้ ในทางกลับกันเมื่อเราคิดในมุมของสายสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะงานเชิงนโยบายที่ต้องอาศัยการนำไปปฏิบัติและปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามที่มีการวางโจทย์เอาไว้ หากเป็นในกรณีเช่นนี้งานทางสังคมศาสตร์จะลงมือทดลองอย่างไรในเมื่อหลายหนเรื่องการทดลองทางสังคมศาสตร์เป็นเรื่องที่มีขนาดใหญ่และหลายครั้งไม่สามารถควบคุมตัวแปรต้น ตัวแปรตามและการแทรกแซงขององค์ประกอบอื่นได้แบบการทดลงในห้องทดลอง (Lab) ที่ปิดมิดชิดและมีระบบอากาศแบบความดันลบ หลายคนจึงไม่เชื่อว่างานทางสังคมศาสตร์จะสามารถปฏิบัติในรูปแบบของการทดลงได้ แต่งานทางสังคมไม่สามารถทำแบบนั้นได้จริงหรือ ?
    หนังสือ : BCL101 Small changs for betterment การทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเบื้องต้น
    โดย : BANGKOK CITY LAB
    จำนวน : 90 หน้า 
    .
    "BCL101 Small changs for betterment การทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเบื้องต้น" (ต่อไปนี้ขอเรียกสั้น ๆ ว่า "การทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเบื้องต้น" หนังสือที่ฉายภาพการทดลองโดยใช้เมืองใหญ่ของประเทศไทยอย่างกรุงเทพฯ เป็นห้องทดลองขนาดมหึมา ผ่านรูปแบบของการทำวิจัยเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Action Research) ที่หยิบจับเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของเมืองมาเป็นวัตถุในการทดลองเพื่อเปลี่ยนเมืองให้ดีขึ้น ผ่านการทดลองใน 3 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่
    .
    CIVIC DESIGN LAB มีภารกิจในการทดลองสร้างสรรค์บริการสาธารณะใหม่ ๆ และปรับปรุงคุณภาพบริการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงระบบ
    .
    SOCIAL CATALYST LAB มีภารกิจในการสร้างความร่วมใจ (Empathy) เพื่อร่วมเป็นเจ้าของประเด็นการพัฒนา โดยใช้กลไกและคุณค่าสังคม และขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ปัญหาเมือง
    .
    PLACE SOLUTION LAB มีภารกิจในการสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ที่มีมิติทับซ้อนและเชื่อมโยงประเด็นการพัฒนาเข้าด้วยกัน
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "การทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเบื้องต้น" จัดแบ่งการนำเสนอเรื่องราวและเรื่องเล่าของหนังสือออกเป็น 4 บท ที่ประกอบไปด้วย WHAT IS CITY LAB?, CIVIC DESIGN LAB, SOCIAL CATALYST LAB และ PLACE SOLUTION LAB ที่ในแต่ละบทจะเล่าเรื่องราวของกิจกรรมและการทดลองเชิงปฏิบัติการที่ลองปฏิบัติจริงในพื้นที่กว่า 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร โดยการทอดลองแต่ละแบบที่ปรากฏใน "การทดลองเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเบื้องต้น" นับเป็นการทดลองที่ทดสอบเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นและดีกว่าของคนทุกกลุ่มในเมืองขนาดใหญ่และมากความหลากหลายอย่างกรุงเทพฯ และที่สำคัญไปกว่านั้นบางการทดลองที่ที่เกิดขึ้นได้ถูกนำไปปรับใช้กับพื้นที่กว่า 50 เขตของกรุงเทพมหานครแล้ว เพื่อเป็นการยืนยันว่าการทดลองในเชิงนโยบายเพื่อเปลี่ยนเมืองเป็นไปได้ และเป็นการวางรากฐานให้กับการทำวิจัยเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Action Research) เกี่ยวกับเมืองที่จะมีตามมาอีกในอนาคต

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in