เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ? By คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
  • รีวิวเว้ย (1707) ศาสนาประจำชาติ (ไทย) เป็นสิ่งที่รัฐทำให้เราเชื่อว่าคือ "สิ่งสูงสุด" เรียกได้ว่าศาสนาทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ศาสนาบอก ทำตามอย่างที่ศาสนาสั่ง รวมถึงละเว้นการกระทำตามที่ศาสนบัญญัติ ว่าสิ่งนั้นห้าม สิ่งนี้ต้อง โดยที่ในหลายครั้งเราไม่มีสิทธิตั้งคำถามด้วยซ้ำว่าสิ่งที่ศาสนากำลังบอกให้เราทำ และห้ามไม่ให้เรากระทำนั้นแท้จริงแล้วถูกหรือไม่ถูก ถ้าย้อนกลับไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน เหตุการณ์ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2519 ศาสนาพุทธ หรือตัวแทนของพระพุทธองค์อย่าง "พระกิติวุฒิโฑ" ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิทพ์ประช่ชาติในช่วงเวลานั้นว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป" และยังผลให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงสืบเนื่องขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่คนฆ่าคนด้วยกันเพียงเพราะเขามีชุดความเชื่อและอุดมการณ์บางแบบที่แตกต่างจากคนที่ลุกขึ้นมาจับอาวุฒิฆ่าพวกเขา นี่เป็นเพียงภาพเล็ก ๆ ของศาสนาที่ถูกเอามาเป็นเครื่องมือและเป็นชนวนในการสร้างความบาดหมางผ่านกลไกของสิ่งที่เรียกว่าศาสนา (ของรัฐ)
    หนังสือ : ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ? 
    โดย : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
    จำนวน : 267 หน้า
    .
    คงคล้ายกับคำที่อาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกเอาไว้ว่า "ศาสนาทุกศาสนา คือ หน่วยหนึ่งทางสังคม ที่ต้องแสวงหา ต่อสู้ ขับเขี้ยวกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานของ (ลูกค้า) ผู้สนับสนุนในศาสนานั้น ๆ เพื่อให้ศาสนานั้นอยู่ได้ และสามารถสถาปนาชุดความเชื่อลงในสังคมหนึ่ง ๆ ได้อย่างมั่นคงสถาพร ซึ่งหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาบันทอนหรือสั่นคลอนความเชื่อ สิ่งนั้นจำเป็นต้องถูกทำลายเพราะเป็นภัยต่อตัวศาสนานั้น" 
    .
    การขับเขี้ยวกันของศาสนาไม่ได้มีเพียงแค่ในรูปของการแย่งชิงฐานลูกค้า ผ่านการใช้กำลังระหว่างกันแต่เพียงเท่านั้น กลไกหนึ่งที่กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญของการสถาปนาชุดความเชื่อของศาสนา คือ เรื่องของการ "กลืนกลายให้เป็นหนึ่งเดียว" กับทั้งศาสนาที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ซึ่งหลายพื้นที่แต่เดิมมี "ศาสนาผี" เป็นศาสนาประจำถิ่น และหลายครั้งกลไกของศาสนาก็มีการกลืนกันผ่านเรื่องเล่าและเทวะตำนานของอีกศาสนา อย่างกรณีของ "พระพุทธเจ้า" ที่ถูกทำให้เชื่อจากชุดความเชื่อกระแสหนึ่งว่าพระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของ "นารายณ์อวตาล" เพื่อกลืนให้พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาหนึ่งของกลไกทางศาสนาแบบพราหมณ์ฮินดู หรือแม้กระทั่งในชุดความเชื่อของศาสนาอิสลามเอง นักบุญหลายคนของคริสศาสนาก็เป็นหนึ่งเดียวกับนักบุญของศาสนาอิสลาม 
    .
    นอกจากการกลืนกลายข้ามศาสนาแล้ว หนังสือ "ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?" พยายามชี้ให้เราห็นภาพของวัฒนธรรมทางศาสนาบางอย่างที่ ภารตะ-สยาม ผี พราหมณ์และพุทธ มีหรือใช้ร่วมกัน ทั้งเรื่องของการปรับตัวของแต่ละศาสนาโดยการเอาศาสนาผีที่มีอยู่แต่เดิมเข้ามาปนเพื่อให้ง่ายต่อการจูงใจชาวบ้านที่นับถือศาสนาผีอยู่แต่ครั้งเก่าก่อน รวมถึงการหยิบยืมเอาวัฒนธรรมประเพณีทางศาสนาแต่ละศาสนามาปรับใช้ให้กลายเป็นวัฒนธรรมร่วมของทุกศาสนาในพื้นที่หนึ่ง ๆ ทั้ง พรามหณ์ พุทธและผี ต่างก็ถูกเขย่ารวมกันกระทั่งกลายมาเป็นวัฒนธรรมร่วมราก ที่ส่งผลมากระทั่งยุคปัจจุบัน 
    .
    "ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?" ช่วยฉายภาพให้เห็นว่ารากฐานของวัฒนธรรมศาสนาในพื้นที่ของอุษาอาคเนย์ เป็นวัฒนธรรมที่มาจากสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมร่วม มีการรวมเอาหลายวัฒนธรรมเข้ามาไว้ด้วยกันและเลือกที่จะปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับสังคมหนึ่ง ๆ หลายครั้งในหนังสือได้ให้ภาพของศาสนาว่าบางครั้งศาสนาผีก็เป็นฐานให้พุทธกับพรามหณ์ หรือหลายครั้งพราหมณ์-พุทธ ก็เป็นฐานให้กับศาสนาผีได้เช่นกัน ดังนั้นแล้ว ภารตะ-สยาม ผี พราหมณ์ และพุทธ จึงมีความเป็นศาสนาที่ยากจะแยกออกจากกันอย่างขาดตัวและชัดเจน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in