เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
โลกในนิทรรศการ By สฤณี อาชวานันทกุล
  • รีวิวเว้ย (1268) การเข้าถึงความรู้หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในสังคมไทย น่าสนใจว่าการจัดการและนำเสนอความรู้ทั้งในรูปของบริการสาธารณะในรูปแบบต่าง ๆ โดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ ในยุคก่อนเรามักจะพบว่าการจัดทำบริการสาธารณะในเรื่องของ "ความรู้" ผ่านรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ (สถานแห่งชาติ) เป็นหลักซึ่งการจัดวางและนำเสนอในยุคก่แนผ่านรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของการจัดการความรู้ในฐานะของความรู้ที่ตั้งไว้โดยผู้ชมมีหน้าที่แค่เดินอ่านและดูให้จบ ๆ และเมื่อพิจารณาจากการให้ความหมายของคำกลุ่มนี้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จะพบการให้ความหมายของแต่ละคำเอาไว้ว่า "พิพิธภัณฑ์ (นาม) สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ" และ "นิทรรศการ (นาม) การแสดงผลงาน สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรม ให้คนทั่วไปชม" เมื่อพิจารณาจากการให้ความหมายของคำทั้ง 2 ในภาษาไทย เราจะพบว่าไม่น่าแปลกใจที่ทำไมช่วงเวลาหนึ่งการจัดการความรู้ การนำเสนอความรู้ ในสังคมไทยถึงออกมาหน้าตาแบบนี้
    หนังสือ : โลกในนิทรรศการ
    โดย : สฤณี อาชวานันทกุล
    จำนวน : 224 หน้า

    "โลกในนิทรรศการ" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "100 เรื่องเล่าจากชิ้นงานที่สะท้อนความเป็นมาของโลก" โดยที่ผู้เขียนจะพาไปมองดูชิ้นงานจากเบื้องหน้าและเรื่องเล่าเบื้องหลังที่งานแต่ละชิ้นมีปูมความเป็นมาของชิ้นงาน ทั้งจากตัวชิ้นงานเองและจากบริบทของสังคมโดยรอบที่อยู่ร่วมยุคสมัยกับการผลงานชิ้นต่าง ๆ

    โดยที่เนื้อหาของ "โลกในนิทรรศการ" มิได้นำเสนอแค่เรื่องของชิ้นงาน เบื้องหลัง ที่มาและเรื่องเล่าเท่านั้น หากแต่ "โลกในนิทรรศการ" เป็นหนึ่งในการสะท้อนภาพการจัดการความรู้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการจัดการความรู้ในรูปแบบองค์ความรู้สาธารณะ ที่ประเทศหลายประเทศที่จัดการความรู้ในรูปแบบของการส่งเสริมองค์ความรู้สาธารณะให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม น่าสนใจว่าในวันหนึ่งข้างหน้าสังคมแห่งนี้จะเดินไปถึงการจัดบริการความรู้สาธารณะแบบนี้ได้เมื่อไหร่กัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in