เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย By สมคิด เลิศไพฑูรย์
  • รีวิวเว้ย (1584) ในชั้นเรียนวิชาหนึ่งของคณะรัฐศาสตร์ ในสมัยที่เราเป็นนักศึกษาอาจารย์เคยกล่าวแบบติดตลกแต่จริงจังว่า "ประเทศนี้ (ไทย) ไม่ได้บริหารด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลำดับรองลงมา แต่ประเทศนี้บริหารโดยคณะกรรมการต่าง ๆ และระเบียบของหน่วยงานที่ไม่มีใครรู้เลยว่าระเบียบนี้มีอยู่บนโลกยกเว้นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง" สมัยนั้นยังไม่เข้าใจความหมายที่อาจารย์กล่าวถึงในห้องเท่าไหร่นัก กระทั่ง 10 ปีต่อมา ที่ชีวิตเข้าสู่โลกของการทำงาน ทำให้เราเริ่มเข้าใจว่าคำพูดกึ่งจริง-กึ่งตลกของอาจารย์ในห้องเรียนในวันนั้นดูจะเป็นจริงเสียยิ่งกว่าจริง เพราะระบบการทำงาน การบริการจัดการ นับตั้งแต่เรื่องใหญ่ระดับชาติอย่างการขับเคลื่อนนโนบายไปจนถึงเรื่องเล็ก ๆ ในองค์กรอย่างการตรวจรับน้ำดื่ม (แบบขวด) ทุกอย่างล้วนอยู่ในรูปของการทำงานแบบ "คณะกรรมการ" แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะกับหน่วยงานรัฐและหน่วยงานกึ่งรัฐ (ครึ่งบก-ครึ่งน้ำ) แน่นอนว่าการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการย่อมมีข้อดีในหลายประการ แต่ก็ยากจะปฏิเสธว่าการดำเนินงานในรูปแบบของการตั้งคณะกรรมการหรือการตั้งคณะทำงานเองก็มีข้อจำกัดในตัวมันเองอยู่ในที
    หนังสือ : คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย
    โดย : สมคิด เลิศไพฑูรย์
    จำนวน : 268 หน้า
    .
    "คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย" หนังสือที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัยในชื่อเดียวกัน ที่จัดทำขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาในเรื่องของระบบกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ "คณะกรรมการทางปกครองในประเทศไทย" ในประเด็นเรื่องขององค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ การดำเนินงาน การมีส่วนได้เสียและรวมไปถึงเรื่องของความรับผิดชอบของคณะกรรมการทางปกครองในรูปแบบต่าง ๆ
    .
    โดยเนื้อหาของ "คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย" แบ่งออกเป็น 5 บท ตามรูปแบบของการเขียนงานวิจัย ที่ในแต่ละบทมีหน้าที่และเงื่อนไขตามขนบวิธีของโลกวิชาการ โดยเริ่มต้นจากการพูดถึงที่มาและความสำคัญของการดำเนินงานวิจัย กรอบแนวคิดทฤษฎี ตามด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและปิดท้ายนด้วยบทสรุปและข้อเสนอแนะ สำหรับเนื้อหาของ "คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ
    .
    บทที่ 2 แนวงคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคณะกรรมการ
    .
    บทที่ 3 คณะกรรมการตามกฎหมายไทย
    .
    บทที่ 4 วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของคณะกรรมการ
    .
    บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
    .
    ความตื่นตาประการหนึ่งหลังจากที่อ่าน "คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย" คือนอกจากจะหวนคิดถึงคำพูดของอาจารย์ในห้องเรียนที่บอกว่าประเทศนี้ไม่ได้บริหารด้วยกฎหมาย หากแต่บริหารด้วยกลไกอื่น ๆ ที่เราเข้าใจเอาเองว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่ "คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย" ก็แสดงให้เราเห็นแล้วว่าในหลายหนกลไกของคณะกรรมการตามกฎหมายต่าง ๆ ในหน่วยงานทางปกครองของไทยเองก็ดูอาจจะไม่สมเหตุผล และไม่สอดรับกับบริบทของความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกรณีของหลายประเทศที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงใน "คณะกรรมการในหน่วยงานทางปกครองตามระบบกฎหมายไทย" เราจะพบว่าในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติคงยากที่จะปฏิเสธว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการตั้งคณะกรรมการ การตั้งคณะทำงาน หรือการสร้างกลไกในระดับเดียวกันของไทย จำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in