เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
คู่มือตรวจสอบข่าวลวง By กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ FNF COFACT
  • รีวิวเว้ย (1583) ตั้งแต่คนเราเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารอย่าง smartphone และสามารถเข้าถึงสื่อและช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้ เราจะพบว่าปัญหาที่ตามมาจากความสามารถในการเข้าถึงโลกออนไลน์เหล่านี้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ โดยเริ่มจากการแชร์ข่าวลวง-ข่าวเท็จ หรือกระทั่งการผลิตซ้ำข่าวลวง-ข่าวเท็จต่าง ๆ กระทั่งนำมาสู่การหลอกลวงทางออนไลน์ของกลุ่มมิจฉาชีพ และการใช้ข้อมูลลวง ข้อมูลเท็จ มาสร้างความเสียหายให้กับผู้คนตามที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ให้เห็นกันอยู่ทุกวัน อย่างกรณีที่ไม่นานมานี้เราจะเห็นข่าวปลอมในเรื่องของ "นักฟุตบอลชาวสเปน" ที่สร้างความเข้าใจผิดให้กับคนบางกลุ่มของสังคม แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้มิใช่เพียงเหตุการณ์เดียว และมิใช่เหตุการณ์สุดท้ายที่จะเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะจัดการกับข่าวลวง-ข่าวเท็จ ในเบื้องต้นได้อย่างไร ที่อย่างน้อยการคัดกรองในเบื้องต้นก็อาจจะช่วยให้เรารอดพ้นจากการเป็นเหยื่อของข่าวลวง-ข่าวเท็จ และการหลอกลวงเหล่านี้ได้
    หนังสือ : คู่มือตรวจสอบข่าวลวง
    โดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ FNF COFACT
    จำนวน : 80 หน้า
    .
    "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่เกิดจากการร่วมมือกันของ 3 ภาคส่วนอันได้แก่ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (FNF) และ COFACT ที่ต้องการนำเสนอแนวทางในฐานะของคู่มือ สำหรับการคัดกรองข้อมูลในเบื้องต้นสำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในรูปขององค์ความรู้และแนวทางในการทำความรู้จักเพื่อรับมือกับข่าวลวง-ข่าวเท็จ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
    .
    "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" คู่มือที่บอกเล่าเรื่องราวของสิ่งที่เรียกว่าข่าวเท็จ-ข่าวลวง ว่ามีความหมายอย่างไร มีองค์ประกอบ รูปแบบหรือการจัดจำแนกประเภทของข่าวลวง-ข่าวเท็จต่าง ๆ อย่างไรในปัจจุบัน และเนื้อหาใน "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" ยังบอกเล่าถึงวิธีการ ขั้นตอนและแนวทางในการรับมือกับข่าวลวง-ข่าวเท็จ ผ่านการสำรวจตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทั้งการอ่าน การสังเกต การให้เหตุผลและรวมไปถึงเรื่องของการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการคัดกรองข่าวลวง-ข่าวเท็จต่าง ๆ โดยเนื้อหาของ "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" แบ่งออกเป็น 6 บทดังนี้
    .
    บทที่ 1 อะไรคือข่าวลวง-ข่าวเท็จ
    .
    บทที่ 2 การตรวจสอบยืนยันข้อมูลประเภทตัวหนังสือ
    .
    บทที่ 3 การตรวจสอบภาพย้อนกลับ
    .
    บทที่ 4 การตรวจสอบสถานที่ตั้งและจุดเกิดเหตุ
    .
    บทที่ 5 การทำความเข้าใจปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) และการตรวจสอบภาพ AI เบื้องต้น
    .
    บทที่ 6 3 ภารกิจ 4 ขั้นตอน การตรวจสอบข้อเท็จจริงของกองบรรณาธิการโคแฟค
    .
    "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" ทำให้เราเห็นถึงแนวทาง วิธีการ ขั้นตอนและความสำคัญจำเป็น ของการจัดการเพื่อรับมือและคัดแยกข่าวลวง-ข่าวเท็จ ทั้งในรูปของข้อความ ภาพถ่าย VDO และอีกหลากหลายรูปแบบที่เราอาจจะต้องเผชิญกับข่าวลวง-ข่าวเท็จรูปแบบต่าง ๆ ในภายหน้า แน่นอนว่า "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" ไม่สามารถบอกเราได้ทั้งหมดว่าการรับมือ การจัดจำแนก การคัดแยกข่าวลวง-ข่าวเท็จ แต่ละแบบต้องทำอย่างไร เพราะในอนาคตข่าวลวง-ข่าวเท็จย่อมมีพัฒนาการไปข้างหน้าตามการเติบโตของเทคโนโลยี แต่สิ่งหนึ่งที่ "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" ทำได้อย่างดี คือ การบอกวิธีการในการคัดกรองข้อมูลในเบื้องต้นให้กับเรา เมื่อไหร่ที่เราอ่านข่าวหรือเสพข้อมูลจากโลกออนไลน์แล้วรู้สึกแปลก ๆ ให้ลองย้อนกลับมาดูวิธีการตรวจคัดกรองข้อมูลที่อยู่ใน "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง" ดูอีกหนเพื่อความแน่ใจก่อนตกเป็นเหยื่อของความไม่รู้เราเองอาจจะหลีกเลี่ยงมันได้หากเพียงคิดสักนิด ตามตัวอย่างที่ปรากฏอยู่ใน "คู่มือตรวจสอบข่าวลวง"







เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in