เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น By JOHN KEANE แปล วริศา กิตติคุณเสรี
  • รีวิวเว้ย (1473) ถ้ามีแนวคิดหรืออุดมการณ์อะไรที่มีทั้งคนรักและคนชังได้อย่างจริงจังในสังคมไทย เราคงบอกได้ว่า "ประชาธิปไตย" น่าจะเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนในสังคมนี้จงรักและจงชัง ในตัวมันแบบจริงจัง เพราะในหลายปีที่ผ่านมาเรามีโอกาสได้เห็นการต่อสู้กันโดยอาศัย "ประชาธิปไตย" เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงความชอบธรรมบางอย่าง หรือในหลายครั้งประชาธิปไตยก็กลายไปเป็นยืนยันในเรื่องของ "ความไม่สงบ" ของคนบางกลุ่มในสังคมอย่างชัดเจน หรือกระทั่งมีคนอีกหลายกลุ่มที่พยายามจะช่วงชิงความหมายของประชาธิปไตยไปใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมบางประการให้ตนเอง อย่างกรณีการเกิดขึ้นของคำว่า "เผด็จการประชาธิปไตย" ที่หลายคนเมื่อได้ยิ่นตางก็อุทานในใจว่า "คุณพร" และยกมือขึ้นทาบอกเพราะไม่คิดว่าจะมีใครที่ผสมรวมเอาคำที่เป็นคู่ขัดแย้งในตัวเองมาใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งแน่นอนว่าประชาธิปไตยในทุกวันนี้ยังเป็นสิ่งที่ถกและเถียงกันได้ในเรื่องของความเหมาะสม ความสำคัญ และความจำเป็น หากแต่ถ้าจะทำให้การถกและเถียงมีคุณค่าขึ้นบ้าง อย่างน้อยเราอาจจะต้อง "หาความรู้" เพิ่มเติมว่าเรากำลังจะถกเถียงกันในเรื่องอะไรและอย่างไร
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น
    โดย : JOHN KEANE แปล วริศา กิตติคุณเสรี
    จำนวน : 264 หน้า
    .
    "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" ในชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Shortest History of Democracy" หนังสือประวัติศาสตร์ขนาดกระชับที่จะพาเราไปทำความเข้าใจในเรื่องของ "ประชาธิปไตย" สิ่งที่ถูกขนานนามว่าเป็นนวัตกรรมชิ้นสำคัญของโลก ที่ทั้งถูกให้คุณค่าในฐานะของเครื่องมือในการจัดการปกครองที่ดีเยี่ยม ในขณะเดียวกันตัวของมันเองก็ถูกมองในฐานะของ "ผู้ร้าย" ในฐานะของเครื่องมือที่สร้างความวุ่นวายผ่านการจัดการปกครอง อาจเรียกได้ว่า "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" คือหนังสือที่จะพาเราไปทำความเข้าใจในสิ่งที่มีทั้งคนรักและเกลียด (อาจจะพอ ๆ กัน) ผ่านมิติของการบอกเล่าจากไทม์ไลน์ของ "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย" 
    .
    "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" นำเสนอการเล่าเรื่องในรูปแบบของเส้นเวลาที่พาดพาผู้อ่านกลับไปย้อนทำความเข้าใจ ตามหาความหมายและการก่อกำเนิดของสิ่งที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย" ที่ย้อนกลับไปไกลกว่ายุคสมัยของกรุงเอเธนส์ และ "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" จะพาเราเดินไปบนเส้นเวลาที่บอกเล่าพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลง ความท้าทาย หายนะและจุดสิ้นสุดของประชาธิปไตยในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง ผ่านหมุดหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย 3 จุด อันได้แก่ ประชาธิปไตยแบบประชุมหารือ, ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง และประชาธิปไตยแบบจับตาตรวจสอบ ที่ในแต่ละจุดของเส้นแบ่งช่วงเวลาประชาธิปไตยนั้น ผู้เขียนได้นำเสนอมุมมองทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นและส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบของประชสธิปไตยในแต่ละช่วงเวลา โดยที่เนื้อหาของ "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" แบ่งไว้ดังนี้
    .
    01 ลำดับเหตุการณ์ของประชาธิปไตย
    .
    02 บทนำ
    .
    03 ภาคหนึ่ง ประชาธิปไตยแบบประชุมหารือ
    .
    04 ภาคสอง ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง
    .
    05 ภาคสาม ประชาธิปไตยแบบจับตาตรวจสอบ
    .
    06 บันทึกท้ายเล่ม
    .
    "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" ทำให้เรามองเห็นสัจธรรมข้อหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาตลอดของประชาธิปไตยนับย้อนไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กระทั่งถึงปัจจุบัน (2024) ประชาธิปไตยก็ยังเผชิญความเปลี่ยนแปลง ความท้าทาย อีกทั้งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของ "ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยฉบับสุดสั้น" แสดงให้เห็นแล้วว่าประชาธิปไตยนับเป็นระบอบที่มีพลวัตตลอดมา ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งก็อิงแอบอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและโลก แน่นอนว่าในอนาคตข้างหน้าประชาธิปไตยจะยังคงอยู่หากแต่จะเปลี่ยนหน้าตาเป็นเช่นไร หรือจะสร้างนวัตกรรมประชาธิปไตยอะไรออกมาเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างครั้งอดีต สิ่งนี่นับว่าน่าติดตามจับตาเป็นอย่างยิ่ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in