เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา By อภิศักดิ์ ทัศนี
  • รีวิวเว้ย (1471) หลายคนน่าจะมีโอกาสได้เห็นข่าวหรือกระแสในโลกออนไลน์ที่พูดถึงเรื่องของ "กำแพงกันคลื่น" อยูาบ้างทั้งในเรื่องของการทำลายธรรมชาติชายหาด ความอันตรายของวัสดุในการใช้ก่อสร้าง และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากกำแพงกันคลื่น และยังไม่รวมถึงภาพของพื้นที่ชายหาดหลายแห่งที่เปลี่ยนไปอันเป็นผลโดยตรงจากโครงสร้างแข็งรูปแบบต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้เป็นกำแพงกันคลื่น อีกทั้งยังมีการออกมาเรียกร้องในเรื่องของการทบทวนมาตรการในการจัดการกับปัญหากากัดเซาะชายฝั่งของภาครัฐ ทั้งการทบทวนในเรื่องของแนวทางในการแทรกแซงกลไกธรรมชาติด้วยสิ่งปลูกสร้างโครงสร้างแข็ง 
    หนังสือ : กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา
    โดย : อภิศักดิ์ ทัศนี, สมปราถนา ฤทธิ์พริ้ง
    จำนวน : 213 หน้า
    .
    "กระบวนการทางธรรมชาติของชายหาดที่ปรับตัวเพื่อรับมือกับลมมรสุมนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหากเราไม่เข้าใจและไม่อดใจรอให้กระบวนการใช้ฝั่งนั้นได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ เข้าไปรบกวนด้วยการสร้างสิ่งปลูกสร้างหรือโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่างๆ จะทำให้ชายหาดนั้นเสียสมดุลไป ดังนั้นมนุษย์ควรตระหนักถึงกระบวนการทางธรรมชาตินี่แหละไม่ควรเข้าไปรุกล้ำพื้นที่ชายหาด เพื่อให้ชายหาดได้มีพื้นที่ให้กระบวนการชายฝั่งได้ปรับสมดุลตามธรรมชาติ… ในช่วงเวลาที่ชายหาดกำลังเผชิญกับคลื่นลมมรสุมที่เข้ามาปะทะชายหาดในแต่ละพื้นที่ เราจะสังเกตได้ว่าชายหาดในช่วงนั้นจะมีหน้าหาดหดสั้นเข้ามา คลื่นเข้ามาใกล้ประชิดแผ่นดิน บางพื้นที่อาจเกิดการกัดเซาะชายฝั่งได้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับชายหาดในช่วงมรสุมที่คลื่นจะดึงทรายหน้าหาดไปกองไปสันดอนทรายใต้น้ำ เพื่อทำหน้าที่สลายพลังงานของคลื่น" (น. 23)
    .
    หนังสือ "กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา" นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจในเรื่องของ "กำแพงกันคลื่น" ในมิติที่บอกเล่าผลกระทบและความเสียหายที่เกิดตามมาจากโครงสร้างแข็งโดยรัฐที่ในหลายครั้งมันมักสร้างปัญหาใหญ่หลวงที่ตามมาก มากกว่าการแก้ไขปัญหาในเรื่องของการกัดเซาะชายฝั่ง โดยสิ่งที่ "กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา" พยายามนำเสนอ คือ ภาพสะท้อนของโครงการของภาครัฐที่เข้าไปจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่กลับกลาบเป็นการสร้างปัญหาให้กับชายฝั่ง ชุมชน คนในท้องถิ่น มากกว่าเป็นการจัดการปัญหา 
    .
    โดยเนื้อหาของ "กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา" นำเสนอมุมมองในเรื่องของชายหาดและกำแพงกันคลื่น ออกเป็น 6 บทที่แต่ละบทจะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจ ในเรื่องของความสำคัญและ (ไม่) จำเป็นในการแก้ปัญหาด้วยความเคยชินของหน่วยงานภาครัฐ 
    .
    01 ธรรมชาติชายหาด
    .
    02 โครงสร้างป้องกันชายหาด
    .
    03 กำแพงกันคลื่น ความตายชายหาด
    .
    04 ทวงคืนชายหาด
    .
    05 เคลื่อนไหวเพื่อชายหาดยั่งยืน
    .
    06 ส่งท้าย
    .
    "กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา" นอกจากจะทำให้เราเข้าใจเรื่องของกำแพงกันคลื่น และเข้าใจรูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกัดเซาะชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และวิถีชีวิตของชายหาด รวมถึงผู้คนและธรรมชาติโดยรอบแล้ว เนื้อหาของ "กำแพงกันคลื่นกลืนชายหาด ให้มันจบที่รุ่นเรา" ชวนให้เรากลับมาคิดถึงข้อความในหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนเอาไว้ว่า "หรือมนุษย์คือสิ่งชำรุดที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาอย่างผิดพลาด" เพราะถ้าเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เราจะพบว่าปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและโลก ต่างก็เป็นน้ำมือของมนุษย์แทบทั้งนั้นโดยยากที่จะปฏิเสธได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in