รีวิวเว้ย (1470) "สภาท้องถิ่น" หรือ สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นรูปแบบขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติในระดับท้องถิ่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบในประเทศไทยจะมี "สภาท้องถิ่น" เป็นหนึ่งในกลไกในการขับเคลื่อนงานขององค์กรปกครองท่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ต่างก็มีสภาท้องถิ่นที่จะคอยทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สภาท้องถิ่นจะมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นโดยตรง มีอำนาจหน้าที่หลายประการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งในการบริหารท้องถิ่นนั้นหลายคนมักจะหลงลืมและละเลยบทบาทหน้าที่ของสภาท้องถิ่น
หนังสือ : อำนาจใหม่สมาชิกสภาท้องถิ่น
โดย : โกวิทย์ พวงงาม
จำนวน : 94 หน้า
.
"อำนาจใหม่สมาชิกสภาท้องถิ่น" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของสภาท้องถิ่นโดยสังเขป โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องของอำนาจหน้าที่ของสภาท้องถิ่นที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎหมาย ที่จะทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวบทบาทหน้าที่ของสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด และรวมไปถึงกลไกต่าง ๆ ที่สภาท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงาน
.
สำหรับเนื้อหาของ "อำนาจใหม่สมาชิกสภาท้องถิ่น" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 5 ส่วน ที่จะขยายขอบเขตการบอกเล่าเรื่องราวของสภาท้องถิ่น ทั้งผ่านกรอบของกฎหมาย บทบาทการทำหน้าที่ของสภาท้องถิ่น ความเปลี่ยนแปลงในการปรับบทบาทและขอบเขตของอำนาจการทำหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ และรวมไปถึงการบอกเล่าเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านกลไกของสภาท้องถิ่น ดังที่ในเนื้อหาต่อไปนี้
.
ส่วนที่ 1 อำนาจใหม่สมาชิกสถาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในสภาท้องถิ่น และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเรื่องข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และแก้ไขครั้งที่ 2 พ.ศ. 2554 ได้ระบุถึงสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมสภาท้องถิ่น
.
ส่วนที่ 2 อำนาจใหม่สภาท้องถิ่น คือ กระบวนการสร้างข้อกำหนดท้องถิ่น โดยแบ่งเนื้อหาในส่วนที่ 2 ออกเป็น (1) กระบวนการสร้างข้อกำหนดท้องถิ่น ที่เรียกว่าข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ และ (2) กระบวนการสร้างข้อกำหนดท้องถิ่นระดับชุมชน อันประกอบไปด้วยตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใมนรูปแบบของการออกเทศบัญญติ ข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล กฎระเบียบของการอยู่ร่วยกันของคนในชุมชน
.
ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ของสภาท้องถิ่น โดยพูดถึงอำนาจหน้าที่ของสภาท้องถิ่นทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สภาเทศบาล และสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
.
ส่วนที่ 4 ประธานสภาท้องถิ่น รองประธานสภาม้องถิ่น และเลขานุการสภาท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่นชั่วคราว
.
ส่วนที่ 5 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.
"อำนาจใหม่สมาชิกสภาท้องถิ่น" ช่วยให้เราเข้าใจบทบาทหน้าที่ และเข้าใจถึงความสำคัญของสภาท้องถิ่นในการทำงานในมิติต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการทำงานตามกฎหมาย บทบาทและความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ และประการสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in