เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
The Ghosts of Tokyo By รติพร ชัยปิยะพร
  • รีวิวเว้ย (1413) ในอดีตญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคล้ายกับหมุดหมายสำคัญของไทย ทั้งการใช้เป็นตัวแบบในการเดินตามในเรื่องของการพัฒนา การศึกษา การลงทุน และอีกหลายเรื่องทางสังคมและเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นถูกใช้เป็นเป้าหมายที่สังคมไทยต้องเดินไปให้ถึง นอกจากนั้นภาพจำของคนญี่ปุ่นสำหรับคนไทยในช่วงเวลาหนึ่ง คือ ภาพของชาติที่ผู้คนเอาจริงเอาจังกับชีวิตทั้งเรื่องของการทำงาน การใช้ชีวิตและในอีกหลายเรื่องที่ญี่ปุ่นถูกใช้เป็นมาตรฐานสำคัญของสังคม หากแต่มุมมองที่คนไทยรับรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นนั้น อาจจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมหลักของสังคมญี่ปุ่น หากแต่ในสังคมหนึ่ง ๆ มันมักมีเรื่องราวที่เป็นวัฒนธรรมย่อยของคนกลุ่มเล็ก ๆ ในสังคม หรือบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่คนเราเลือกที่จะหลับตาลงข้างหนึ่งเพื่อไม่ให้มองเห็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มย่อยของสังคม ที่อาจจะสร้างการรับรู้ที่ต่างออกไปจากความทรงจำและความรับรู้ที่ผู้คนมีต่อสังคมแห่งนั้น
    หนังสือ : The Ghosts of Tokyo
    โดย : รติพร ชัยปิยะพร
    จำนวน : 160 หน้า
    .
    "The Ghosts of Tokyo" ในชื่อไทยว่า "ความฝัน แฟนตาซี และเงาของโตเกียว" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราว มุมมอง ประวัติความเป็นมาของสิ่งที่อสจจะเรียกว่าเป็น Underground Scene ของสังคมญี่ปุ่น ผ่านการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านเอกสารและผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับ Underground Scene ทั้ง 10 เรื่องที่ปรากฏขึ้นในสังคมญี่ปุ่น
    .
    โดยที่ "The Ghosts of Tokyo" นำเสนอ 10 เรื่องราวของ Subculture ในสังคมญี่ปุ่น อาทิ บาร์โฮสต์ สลัมซันยะ ศิลปะการมัดเชือกกับความโรแมนติกแบบญี่ปุ่น โลกโลลิตา วัฒนธรรมเพลงร็อค และอีกหลายเรื่องเล่าของเหล่า Subculture ของสังคมญี่ปุ่น Subculture ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเงาอีกด้านหนึ่งของสังคมญี่ปุ่นที่พัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง และการพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดนั้นเองได้สร้างระเบียบ ขนบ แบบแผนของสังคม กระทั่งเบียดขับคนบางกลุ่มออกไปกระทั่งกลายเป็น Subculture ที่ถูกจำกับพื้นที่ผ่านแบบแผนของสังคม
    .
    แน่นอนว่าถ้าเราลองอาศัยมุมมองเดียวกันกับ "The Ghosts of Tokyo" ย้อนมองสังคมไทย เราจะพบว่าสั่งคมแห่งนี้ก็คงไม่น่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมย่อยของสังคม ที่ในบางครั้งก็เป็นสิ่งที่สังคมกีดกันและต่อต้าย ทั้งที่ในหลายหนวัฒนธรรม/กิจกรรม เหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่จะเชื่อมไทยเข้ากับโลก หากแต่คำว่า "วัฒนธรรมแบบไทย" ถูกผูกโยงและให้คุณค่าแค่กับชุดวัฒนธรรมยางชุดเท่านั้น แน่นอนว่าหากพยายามโดยไม่สนโลกผลของความพยายามก็จะออกมาในแบบเดียวกันกับความพยายามในการผลักดัน Soft Power แบบไทย ๆ ที่พยายามให้ตายก็คงไม่ได้อะไรขึ้นมานอกจากว่าทุกบ้าน ทุกคน ทุกหน่วยงานพูดถึง Soft Power เพียงเพราะพูดแล้วดูมีความรู้ทั้งที่จริงแล้วไม่มีห่าอะไรเลย ไม่มีแม้กระทั่งความเข้าใจว่าอะไรคือ Soft Power

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in