เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
“บทสนทนาหลากมุมต่างมอง รัฐธรรมนูญ 2560”Chaitawat Marc Seephongsai
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ VSประชาธิปไตยใหม่


  • บทสัมภาษณ์คุณวรวุฒิ บุตรมาตร ตัวแทนขบวนการประชาธิปไตยใหม่

    วันที่๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐

    ณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

     

    “การเขียนรัฐธรรมนูญจะต้องเกิดขึ้นในดุลยภาพอำนาจทางการเมืองของทุกฝ่าย 
    ทำให้กฎกติกาพยายามอยู่ร่วมกันให้ได้ 
    แต่ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน การเกิดขึ้นของมันก็เอียงอยู่แล้ว 
    แล้วการวางโครงสร้างรัฐ/โครงสร้างทางการเมืองมันก็ไม่อยู่ในดุลยภาพ”

     

              ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NewDemocracy Movement: NDM)เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยยึดมั่นหลักการ๕ ข้อคือ หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักสิทธิมนุษยชนและหลักสันติวิธี ในส่วนนี้เราจึงมาพูดคุยกับขบวนการประชาธิปไตยใหม่ถึงทัศนคติที่มีต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ว่าสอดรับกับหลักการและแนวทางการเคลื่อนไหวของขบวนการอย่างไร ?

    “สิทธิเสรีภาพของประชาชน”กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐  

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีบทบัญญัติเรื่องสิทธิและหน้าที่เป็นจำนวนมากแต่หากพิจารณาในเชิงเทคนิคกฏหมายก็ยังคงมีปัญหาอย่างเช่นในหมวดสิทธิและหน้าหน้าที่ในตอนที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ก็มีการบัญญัติถึงประเด็นสิทธิเสรีภาพค่อนข้างมากแต่สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วสิ่งที่เป็นปัญหาก็ปรากฏตามมา ก็คือเมื่อประชาชนใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐก็มักจะบอกว่ายังใช้ไม่ได้เพราะว่า กฎหมายลูกยังไม่มีเพราะฉะนั้นประชาชนจึงใช้สิทธิดังกล่าวนี้ไม่ได้ ซึ่งศาลก็ยืนยันว่าจะต้องให้มีกฎหมายลูกเกิดมาก่อนการใช้สิทธิถึงจะเกิดได้จึงทำให้เกิดการเขียนรูปแบบใหม่ลงในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ว่าให้การใช้สิทธิเป็นสิ่งที่สามารถใช้ได้เลยแต่ในฉบับปัจุบันก็ยังมีปัญหาตามมาด้วยคือเรื่องความมั่นคงส่งผลให้สิทธิอาจจะถูกจำกัดโดยนัยยะแห่งความมั่นคงของรัฐนอกจากนี้การใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ได้กำหนดให้ศาลเป็นผู้ตีความอย่างเดียวหากแต่ยังมีองค์กรรัฐอื่นๆ ก็เป็นแบบให้ผู้ใช้รัฐธรรมนูญได้ เป็นผู้ตีความได้อย่างเช่นฝ่ายบริหาร ฝ่ายปกครอง หรือฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้การใช้สิทธิของประชาชนยากขึ้นกว่าเดิม 

    ตามที่กฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับ“หลักการจำกัดสิทธิเสรีภาพ” ซึ่งสามารถกระทำได้แต่ต้องไม่ต้องกระทบเกณฑ์หรือแก่นของเสรีภาพซึ่งหลักการดังกล่าวที่เคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า กลับหายไปในฉบับปัจจุบันเพราะฉะนั้นฎหมายที่ตราขึ้นมาอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของไปโดยปริยายก็ได้ เช่น พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ. 2558 โดยแก่นของสิทธิที่จะชุมนุมนั้นคือ คนสามารถมารวมตัวได้เลยไม่ต้องแจ้งใคร แต่เมื่อเกิด พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวนี้ขึ้นมาเมื่อจะมีการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ตัวการที่จะจัดการชุมนุมเองจะต้องไปขออนุญาติเจ้าหน้าที่ดังนั้นเสรีภาพในการชุมนุมจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ? และในส่วนของสิทธิการในมีส่วนร่วมเช่น สิทธิการรับสมัครเลือกตั้ง อาจจะไกลเกินไป อย่างเช่น ในตอนที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๕๐ เคยมีการถกเถียงกันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ต้องสังกัดพรรคการเมืองนั้นไม่ดีอาจจะเป็นทาสพรรค แต่สุดท้ายฉบับปัจจุบันก็ยังคงเหมือนเดิม คือยังไม่เปิดช่องให้ส.ส. เป็นอิสระ และยิ่งไปกว่านั้น หากเราพิจารณาบทบัญญัติเรื่องพรรคการเมืองซึ่งมีรายละเอียดการจัดตั้งที่ยุ่งยากมาก แล้วก็ต้องมีสาขาพรรคทั้ง ๔ ภาคและเมื่อพิจารณาจริงๆ ก็จะพบว่าประเด็นหลักเต็มไปด้วยหลักการที่สวยหรูแต่ในทางปฏิบัติมันเป็นไปได้ยากมาก

    การเข้าชื่อรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายของประชาชน

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานถึงแนวทางดังกล่าวว่าควรให้มีการรวบรวมรายชื่อโดยต้องไม่ผ่านสภาปัญหาคือเรื่องที่รอรับเพื่อเข้าสู่วาระที่ ๑ ก็ติดอยู่แบบนั้นและซักพักจะต้องมีการเอ่ยถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องใช้รายชื่อประชาชน ๕๐,๐๐๐ คนแต่ในทางทฤษฎีนั้นมันก่อให้เกิดปัญหาอย่างหนึ่งในทางที่ว่าด้วยกลไกกล่าวคือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากเพราะยังต้องผ่านรัฐสภาโดยใช้เกณฑ์ ๒ ใน ๓ ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่มามาจากการสรรหาจากทหารด้วย หรือไม่ก็ต้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญอีกท้ายสุดแล้วจะเขียนมาทำไมไม่รู้ ถ้าจะแก้ไขยากขนาดนี้

    สำหรับการร่วมลงชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายตามมาตรา๑๓๓ จะต้องเป็นพระราชบัญญัติที่เคยมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ และ พ.ศ. ๒๕๕๐ นอกจากนี้สิทธิของประชาชนในเรื่องของการรับฟังEHIA แม้ว่าจะยังคงมีอยู่แต่ก็มีปัญหาเชิงเทคนิคที่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นผลผลิตจากรัฐประหารที่มีคำสั่งชั่วคราวให้ยกเลิกการทำ EHIAก็เลยเป็นความลักลั่นประมาณนี้ ซึ่งถูกรับรองไว้ในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ให้มีความชอบตามรัฐธรรมนูญก็เท่ากับว่าประชาชนที่จะสู้เรื่องผังเมืองหรือเรื่องสิทธิชุมชนต่างๆ จะสู้ได้อย่างไรในเมื่อประชาชนอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อจะเรียกร้องให้การทำการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและอนามัย(EHIA) แล้วมาเผชิญหน้าคำสั่ง คสช. ซึ่งมีชอบด้วยรัฐธรรมนูญเหมือนกันคำถามที่ตามคือ อันไหนศักดิ์สูงกว่ากัน ?

    ตามคำอธิบายของนักวิชาการสายนิติราษฎร์ที่บอกว่าจริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญมีลำดับศักดิ์อยู่ดังเช่นเรื่องสิทธิเสรีภาพจะมีศักดิ์สูงกว่าเรื่องที่เป็นอำนาจยกเว้นหรือเรื่องที่มีความพิเศษแต่ในมุมของกฎหมายมหาชนเหมือนจะพยายามอธิบายให้มีทางออกเพราะฉะนั้นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงสามารถเข้าไปกดคำสั่งของ คสช. ได้ท้ายที่สุดแล้วการพิจารณาก็เป็นองค์กรของรัฐทั้งฝ่ายบริหารเองและศาลรัฐธรรมนูญซึ่งทางฝ่ายตุลาการก็ได้ยืนยันกันมาแล้วว่าในส่วนที่เป็นบทบัญญัติกับส่วนที่เป็นคำสั่งของคสช. ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งคู่  

    “การมีส่วนร่วมและเคลื่อนไหวทางการเมือง”กับ “สิทธิ” และ “หน้าที่ของรัฐ”

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: เป็นแนวทางของศาลเกิดขึ้นในอิตาลีเป็นครั้งแรกโดยเชื่อว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติเรื่องสิทธิ เป็นสิทธิมหาชนก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐถ้ารัฐไม่ทำก็สามารถฟ้องให้รัฐทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนสิทธิไว้แล้ว สามารถใช้อ้างได้เลยแต่ในรัฐธรรมนูญบับปัจจุบันสิทธิหลายอย่างหายไปเป็นหน้าที่ของรัฐแทน เป็นปัญหาว่าหากเราอยากจะยืนยันสิทธิที่อยู่ในบทหน้าที่เราทำได้หรือไม่ ?คำตอบก็คือว่าสามารถลองทำดูได้ แต่โดยหลักแล้วต้องรอ “รัฐ” ก็คือถ้ารัฐไม่ทำรัฐก็ปล่อยเฉยได้ เท่ากับให้ประชาชนจะไปร้องเอาเอง สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีสิทธิแต่ก็ไม่สามารถใช้สิทธินั้นได้โดยตรง เหมือนกับในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้

    การบัญญัติให้เป็นเรื่องของสิทธินั้นอย่างน้อยที่สุดประชาชนสามารถใช้ต่อรองกับรัฐได้โดยตรงได้ แต่ทว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประชาชนต้องฟ้องร้องต่อรัฐเพื่อให้นำไปสู่การพิสูจน์ว่าเรามีสิทธิ เลยเป็นเพิ่มขั้นตอนเข้าไปอีกหนึ่งขั้นตอน

    ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญศาลฎีกา หรือว่าศาลปกครองจะวินิจฉัยอย่างไรอีกคือความจริงแล้วให้เรื่องนี้อยู่ในหมวดสิทธิก็ไม่เป็นปัญหาอะไรหรอก แค่อาจจะสร้างกลไกแบบเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น

     

     

    มาตรา๗๗ กับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: ถ้ามองในแง่ประชาชนถือว่าบทบัญญัติข้อนี้ดี คืออย่างน้อยที่สุดจะออกกฎหมายอะไรก็ต้องถามประชาชนก่อนแต่ถ้ามองในแง่ของคนที่ทำงานฝ่ายนิติบัญญัติ จะเหนื่อยมากขึ้นเพราะเป็นการเพิ่มขั้นตอนใหญ่ๆ ขึ้นมา ที่จะต้องมีการลงพื้นที่ถามประชาชนถามว่าในแง่ของประชาชนดีไหม ตอบเลยว่า “ดี” แต่จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องความรวดเร็วในการบริหารราชการแผ่นดินแต่ว่าถ้ามองในแง่สิทธิก็ถือว่าดี

    ส.ว.ชุดใหม่ ภัยเงียบในรัฐธรรมนูญ

    คุณวรวุฒิ บุตรมาตร: ปัญหาของเรื่องส.ว. อยู่ที่การได้มาซึ่ง ส.ว. ที่มาจากการเสนอชื่อกันเองในกลุ่มอาชีพ เกิดเป็นปัญหาที่ว่าคำนิยามของกลุ่มอาชีพนั้นกว้างไปเช่น ปัญหาที่ว่าชาวนาคุณจะเข้าไปเลือกได้ไหม เข้าไปสมัครได้หรือไม่ หรือต้องเป็นกลุ่มอาชีพชาวนาไทยที่มีการรับรองโดยภาครัฐประเด็นก็คือถ้าหากเขียนว่าเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ จะสามารถสะท้อนได้ทุกกลุ่มได้หรือไม่เพราะจะมีบางกลุ่มอาชีพที่ไม่ถูกนับเสมอ

    ปัญหาอีกประการก็คือการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้ส.ว. เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย แต่ทว่ากระบวนการได้มา กลับมาจากการเลือกกันเองมันก็วนอยู่แค่นั้นแต่อำนาจของ ส.ว. กลับมีเยอะมากเพราะฉะนั้นในแง่ของความชอบธรรมคือที่เรื่องที่มากับอำนาจกลับไม่มีสัมพันธ์กัน

    มีคนบอกว่า“ถ้าเลือกตั้ง ส.ว. โดยตรงสุดท้ายก็จะได้ ส.ส. สู้ทำเป็นสภาเดียวซะก็หมดเรื่อง” แล้วเราควรเลือกตั้งส.ว. หรือไม่  

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: ในประเด็นนี้ก็มีปัญหาผมว่าเราต้องย้อนกลับไปพิจารณากันใหม่เลยว่าเมืองไทยควรมีกี่สภา ?ถ้าพิจารณาทั่วโลก ๑๙๐ กว่าประเทศ จะพบว่าประเทศที่มี ส.ว. มีแค่ประมาณ ๘๐กว่าประเทศ แล้วส่วนใหญ่แบบผู้แทนของมลรัฐ เพื่อมาก่อผลประโยชน์ให้กับมลรัฐของเขาแล้วกรณีประเทศไทยเราควรเลือกรูปแบบใด อย่างในประเทศอังกฤษที่มี ส.ว.จากการแต่งตั้งและบางส่วนมาจากการสืบตำแหน่ง แต่ในเชิงอำนาจหน้าที่ก็ไม่ได้สูงมีอำนาจแค่ทักท้วงและทบทวน แต่ ส.ว. ในประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาจากวข้าราชการทหาร ภาคประชาสังคม (NGOs)แล้วมีอำนาจในการแต่งตั้งองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนรัฐบาลที่ไม่ทำตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี

     แต่ตามหลักการ การมีอยู่ของ ส.ว. นั้นดีเพราะจะได้ทำหน้าที่เป็นสภาพี่เลี้ยงให้กับ ส.. แต่ถ้าเราพิจารณาจริงๆ ตั้งแต่ปี พ.. ๒๔๘๙ จนถึงตอนนี้ จะพบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสายธารการเมืองไทย ส.ว.ได้กลายเป็นแหล่งสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ถ้าเกิดมีคนบอกว่าเรามี ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่ต่างจากพรรคการเมืองก็ต้องยกตัวอย่างกรณีประเทศญี่ปุ่นที่มี ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกันแต่ระบบการเมืองก็สามารถขับเคลื่อนได้

    ผมได้พูดคุยกับคนที่ไปโหวตลงประชามติโดยเวลาช่วงที่ผ่านมาคนไทยก็ไม่ค่อยอ่านรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ทว่ายิ่งไปกว่านั้นในคำถามพ่วงที่มากับประชามติ ที่ว่า จะให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่คนไทยไม่รู้เลย หลายคนเพิ่งจะมาทราบและตกใจกัน แต่ในบทเฉพาะกาลก็กำหนดไว้แค่ช่วง ๕ปีแรก แต่จริงๆ แล้วมันเป็น ๕ ปี บวกกับอีก ๓ ปี (รวมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง)โดย ส.ว. มีวาระ ๕ ปี แต่ว่าทางฝั่ง ส ส. มีวาระแค่ ๔ ปีหากรวมช่วงเวลาคาบเกี่ยวดังกล่าวแล้ว ก็จะเป็น ๘ ปี โดยที่ ส.ว. อยู่ในช่วง ๕ ปีกับ ส.ส. และจะคาบเกี่ยวไปอีกสองวาระ

    ความเป็นไปได้ที่จะมีนายกรัฐมนตรีมาจากรากเหง้าของคณะรัฐประหาร

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: หลังจากร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ(รัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐) เราจะต้องอยู่กับ คสช. ต่ออีก ๑-๒ ปีคนที่ไปลงประชามติส่วนใหญ่คิดว่าโหวตไปแล้ว คสช. จะอยู่อีกเพียงครึ่งปี แต่จริงๆแล้ว คสช. จะอยู่อีกประมาณ ๒ ปี เพื่อร่างกฎหมายลำดับรอง แล้วถ้าหากในอนาคต ส.ว.ที่มีการจัดตั้งขึ้น โหวตให้ คสช. เข้ามาอีกรอบก็จะรวมเป็น ๒ ปี(จากวันลงประชามติถึงวันเลือกตั้ง) บวก ๘ ปี (จากวันเลือกตั้งไปอีก ๒ สมัย)เท่ากับ ๑๐ ปี นี่ยังไม่นับเรื่องของแผนยุทธศาสตร์ชาติอีก ๒๐ ปีที่เป็นปัญหาในประเด็นเกี่ยวกับสถานภาพของยุทธศาสตร์ชาติว่าระดับความเข้มข้นของการบังคับใช้ของยุทธศาสตร์ชาติมีมากน้อยเพียงใดถ้าเราดูจากบทบัญญัติในยุทธศาตร์ชาติที่อยู่ในรัฐธรรมนูญจะพบว่ามีการกำหนดให้รัฐบาลต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตาม ส.ว. มีสิทธิเพิกถอนแล้วก็อาจจะโดน มาตรา ๑๕๗ โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)อีกประเด็นหนึ่ง คือ แผนยุทธศาสตร์ชาตินี้จะมีผลใช้บังคับกับคนทั้งประเทศแล้วจะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมหรือไม่แล้วสิ่งนี้จะกลายเป็นองค์กรที่ใหญ่กว่ารัฐบาลหรือไม่

    ยุทธศาสตร์ชาติ= อำนาจที่ ๕  

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: แนวคิดเรื่องกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่จะมีการตั้งขึ้นในอนาคตนั้นเหมือนกับการเป็นองค์กรที่คอยสั่งการให้รัฐบาลต้องทำตามแผน หรือในกรณีที่มี ส.ว.หรือ ส.ส. จะคัดค้านกฎหมายที่ยื่นเข้ามาก็สามารถใช้หลักยุทธศาสตร์ชาติมาคัดค้านได้ แต่ตัวยุทธศาสตร์ชาติเองก็ไม่เปิดพื้นที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมเลยเหมือนกับเราย้อนกลับไปในยุคสมัยที่ปกครองด้วยคณะหนึ่งโดยที่ประชาชนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย

    มาตรา๔๔ อยู่ต่อเลยได้ไหม  

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของรัฐธรรมนูญไทยตามมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ที่มีการรับรองความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญเก่าแล้วก็รับรองความชอบไปถึงอนาคตด้วย ส่วนเรื่องการยกเลิกคำสั่งของ คสช.ต้องยกเลิกในรูปแบบของ พ.ร.บ. หรือเป็นคำสั่งนายกหรือมติคณะรัฐมนตรีในแง่หนึ่งมันดีที่ว่ามีการเขียนวิธีการยกเลิกไว้เพราะในรัฐธรรมนูญช่วงก่อนมันไม่มีมีเพียงการแก้ไขโดยให้รัฐบาลใช้ร่าง พ.ร.บ. แก้ไข แต่ในขณะเดียวกันก็เหมือนกับการไปรับรองครั้งที่ ๒ นอกจากคำสั่งของศาลแล้วยังมีผลให้คำสั่งของ คสช.มีสถานะทางกฎหมายที่มั่นคงแน่นอนมากขึ้น เป็นการรับรองทั้งทางฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

    ความศักดิ์สิทธิ์ที่เพิ่มขึ้นของ ม. ๔๔

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: แม้ว่าจะกำหนดวิธีการยกเลิกเอาไว้แต่หากลองมองมุมกลับก็คือการรับรองที่แน่นอนและมีความถาวรมากขึ้นจากเดิมที่บางกลุ่มมองว่าคำสั่ง คสช. ไม่มีผลทางกฎหมายเลยเพราะสุดท้ายก็จะมี ส.ว.ที่เป็นเครื่องมือที่ทำให้มันศักดิ์มากขึ้นกว่าเดิมอยู่ดี

    สมมติว่าเราพูดถึง นาย Aที่อยากเป็นรัฐบาลและต้องการที่จะยกเลิกคำสั่งของ คสช. จริงๆ แล้วในกระบวนการก็ยังต้องติด ส.ว. ก็เป็นปัญหาอยู่ดีโดยส่วนมากแล้วคำสั่งของรัฐประหารก็มักจะออกมาแบบชื่อเดียวกัน แต่จริงๆแล้วก็เป็นคำสั่งนั้นคำสั่งนี่ แล้วถ้าไปดูก็จะมีครึ่งหนึ่งที่อยู่ในชั้น พ.ร.บ.แล้วมีอีกครึ่งหนึ่งที่อยู่ในชั้นคำสั่งนายกรัฐมนตรี เป็นเหมือนมติคณะรัฐมนตรีถ้าเป็นเหมือนมติคณะรัฐมนตรีก็แก้ไขง่าย เพราะเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจแก้ไขคำสั่งนายกก็สามารถยกเลิกคำสั่งทางบริหารได้แต่ทว่าส่วนที่เป็นชั้นเทียบเท่า พ.ร.บ. ยังมีเยอะมาก

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐กับประเด็น “นายกฯ คนนอก”

    คุณวรวุฒิ  :มีคนกล่าวว่าการมีนายกรัฐมนตรีคนนอกถือเป็นการเปิดสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนสามารถมีคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีได้เหมือนเขียนไว้เพื่อกดดันพรรคการเมืองแต่สุดท้ายก็จะเลือกกันไม่ได้เพราะด้วยกลไกของรัฐธรรมนูญไม่เอื้อเพราะฉะนั้นการเลือกนายกรัฐมนตรี คนนอกก็ต้องมีบารมีมากพอ คล้ายๆกับในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่ท้ายสุดแล้วต้องอาศัยคนมีบารมีมาเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อที่จะควบคุมการเมืองให้อยู่ ซึ่งหากเลือกตั้งเสร็จไปแล้ว ก็ต้องผ่านด่าน ส.ส.และ ส.ว. ที่ต้องโหวตร่วมกัน กระบวนการนี้จะเปิดช่องทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกเพราะต้องมาจากมติของ ส.ส. ๕๐๐ คน และ ส.ว. ๒๕๐ คน ร่วมกันได้ ๗๕๐ คนดังนั้นคะแนนเสียงครึ่งหนึ่งก็คือ ๓๗๕ คนแล้วจะมีพรรคการเมืองไหนที่ได้เสียงโหวตเกิน ๓๗๕ คน ?ยิ่งเป็นระบบแบบจัดสรรปันส่วนผสม ยิ่งเป็นไปไม่ได้เพราะฉะนั้นกลไกรัฐธรรมนูญบีบให้นายกฯที่มาจากพรรคการเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากมาก ดังนั้นก็จะเป็นการบีบให้ไปหานายกรัฐมนตรีคนนอกที่มีบารมีทั้งฝั่งส.ส. และ ส.ว. ยอมรับและเลือกได้แต่ถือว่าเป็นกลไกที่ฉลาดมากกว่าที่จะเขียนอย่างตรงๆแต่ก็ไม่ได้บอกว่าต้องมาจากการเลือกตั้ง  

    ความเป็นไปได้ของโมเดลการเมือง“พรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลร่วมมือกันจับมือกันจัดตั้งรัฐบาล”

    คุณวรวุฒิบุตรมาตร: เป็นไปได้ยากมากที่พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถจับมือกันได้ปัญหาที่มีคือ เรื่องการมีอยู่ของมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ที่กำหนดให้หัวหน้า คสช.มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอยู่ ซึ่งอาจจะน่าเกลียดในหนทางของความเป็นประชาธิปไตยโดยที่ด้าน คสช. มีมาตรา ๔๔ ที่สามารถยกเลิกการเลือกตั้งก็ได้หรือยกเลิกการจัดการเลือกตั้งเลยก็ได้ หรือจะยุบสภาก็ได้ คือมาตรา ๔๔เราจะตั้งใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำได้ แต่ประเด็นคือจะกล้าทำหรือไม่นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี ส.ว. ที่มีสิทธิเลือกนายกฯ อีกกลุ่มหนึ่ง ส่วนจะเป็นคนของใคร?จะเป็นชุดเดิมหรือไม่? จะเป็นชื่อเดิมกับ คสช. หรือไม่? ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ถึงที่สุด ส.ส. และ ส.ว. อาจเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอีกครั้งก็เป็นได้และสังคมไทยก็อาจจะการชุมนุมอีกครั้งแล้วถ้าหากคนจะประท้วงการกลับมาของพลเอกประยุทธ์หนึ่ง เหตุการณ์จะเป็นการอย่างไร ? 

    ท้ายที่สุดองค์กรที่บริหารจริงๆเป็นองค์กรอื่นต่างหาก ฝ่ายรัฐบาลเป็นแค่
    ตรายางเท่านั้น แต่ถ้ามีการสืบทอดอำนาจจริงๆแผนยุทธศาสตร์ชาติและองค์กรอิสระก็จะไม่ทำงาน แล้วก็มีอีกประเด็นคือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเชื่อได้เลยว่าแก้ไม่ได้ เพราะติดด่าน ส.ว.ด่านศาลรัฐธรรมนูญ เราต้องเข้าใจก่อนว่าเรื่องรัฐธรรมนูญและเรื่องกฎหมายมหาชนมีมุมมองว่าสังคมเป็นพลวัตรที่เปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้าหากกฎหมายเก่าล้าสมัย ก็ไม่สามารถที่จะตอบโจทย์รัฐในแต่ละสังคมนั้นได้เพราะฉะนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบนั้นแต่เนื่องด้วยกลไกที่แก้ไขแทบจะไม่ได้ แทนที่เราจะแก้ไขแบบด้วยสันติเราก็ต้องกลับไปใช้การฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ซึ่งก็จะวนอยู่ในวงจรอุบาทเหมือนเดิม

    รัฐธรรมนูญสามารถจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นได้หรือไม่

    คุณวรวุฒิ บุตรมาตร: การเขียนรัฐธรรมนูญควรเกิดขึ้นในดุลยภาพอำนาจทางการเมืองของทุกฝ่ายทำให้เป็นกฎกติกาที่ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันให้ได้แต่ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น การเกิดขึ้นก็ไม่เป็นกลางอยู่แล้วดังนั้นการวางโครงสร้างรัฐหรือโครงสร้างทางการเมืองก็ไม่ได้อยู่ในจุดดุลยภาพ กล่าวคือเป็นการเอียงเอนกลับไปอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะนอกจากนั้นยังเป็นทำลายอำนาจของฝั่งตรงข้ามอีกด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญโดยที่ไม่รักษาดุลยภาพหรือรักษาผลประโยชน์ของโครงสร้างทางการเมืองทุกฝ่ายไว้นี้ท้ายสุดก็เหมือนกับบ้านใกล้พัง ที่รอวันล่มสลายเท่านั้นเอ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in