เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I READ YOU A LOTilysm
Review | The Rosie Project (+discussion)

  • The Rosie Project by Graeme Simsion




              หนึ่งในเรื่องที่เราไม่คิดจะอ่านเพราะไม่ชอบชื่อฉบับแปลไทย (โปรเจครักของนายจอมเพี้ยน) แต่ตอนไปงานหนังสือถูกพี่ๆพนักงานล่อลวง ถ้าทำยอดกี่บาทบลาๆๆจะได้ลด โอเค้ หยิบหนังสือทุกเล่มที่อยากอ่านไปจ่ายเงิน ปรากฏว่าขาดอีกเล่มเดียวเลยวิ่งจู๊ดดด คว้าตัวพี่พนักงานที่ใกล้ที่สุด ถามนางว่านางชอบเล่มไหน (เล่นง่ายๆงี้เลย) นางก็ตอบว่า “The Rosie Project ดีมาก ฮามาก พระเอกตรรกะเป๊ะ” เราก็หูผึ่งกับคำว่าตรรกะสิ (พอดีสนใจ logic มากๆช่วงนั้น) ตัดสินใจซื้อค่ะ อ่านจบแล้วพบว่า…ดีกว่าเล่มที่ตั้งใจซื้ออีก ฮือออออออออออออ /กราบพี่พนักงาน อารมณ์ยังค้างๆกรุ่นๆ เราอยากเขียนรีวิวผสมวิเคราะห์ และตอบคำถามดิสคัสที่หนังสือทิ้งไว้ ยาวหน่อยนะ ฮึก

     

    เรื่องย่อ

              Don Tillman อาจารย์หนุ่มหล่อวัยสามสิบเก้าผู้โสดสนิท ต้องการจะหาคู่ครอง แต่ด้วยความเป็นนักพันธุศาสตร์ที่ฉลาดล้ำเลิศ คลั่งตรรกะเหตุผล เนี้ยบ ทักษะการเข้าสังคมเป็นศูนย์ เขาจึงต้องการคนรักที่พิเศษไม่ต่างกัน เลยจัดการร่อนแบบสอบถามให้สาวๆกรอก ในนามของ “The Wife Project” จนกระทั่งได้บังเอิญเจอ Rosie : สาวสวยผู้แหกทุกคุณสมบัติที่ Don ตามหา Don ตัดสินใจใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมี ช่วย Rosie ตามหาพ่อแท้ๆของเธอ

     

    ตัวละคร

    “Don ไม่เหมือนใคร แต่ใครๆก็เหมือน Don : ตัวละครที่สะท้อนความเป็นจริงในสังคมได้”

    ถ้าถามว่าอะไรคือจุดเด่นของเรื่องนี้ คนอ่านเก้าในสิบน่าจะตอบว่า “พระเอก” ถ้าอยากชัดเจนกว่านี้ก็ “ความแปลกของพระเอก” เพราะ Don เป็นมนุษย์ Perfectionist ที่เราไม่คุ้นเคย แต่จากปากผู้เขียน คนแบบ Don เจอได้ทั่วไปในหมู่นักวิทยาศาสตร์ นักศึกษาปริญญาเอก ศาสตราจารย์ เอาง่ายๆคือฉลาดและหัวไปทางวิทย์ เพราะ Don มีพลังแห่งตรรกะอยู่ในตัวอย่างเต็มเปี่ยม การกระทำของ Don แสดงออกว่าเขามีความรู้และให้ความสำคัญกับเหตุผลมาก (ทั้งเรื่องคือนางไม่ fallacious นะจ๊ะ พยายามจะใช้ถ้อยคำแสดงการประเมินอย่างถี่ถ้วน เช่น probably, unlikely, might,highly possible เพราะคำนึงถึง all possible outcomes ตลอดเวลา กลัว) ไม่หลุดคาแรกเตอร์เลยทั้งเรื่องถึงแม้บางครั้งจะอ่านแล้วชวนปวดตับ แต่หลักๆคือเราตกหลุมรักแฮะ ///- รู้สึกว่าผู้ชายฉลาดและมีเหตุผลเนี่ยมีเสน่ห์สุดแล้ว อีกทั้ง Don ยังมีความน่ารักที่นางไม่รู้ตัว เช่น การที่นางแคร์ความรู้สึกคนอื่นแต่หาเหตุผลอื่นมากลบ ยิ่งฉากหลังๆที่ Don เริ่มรู้สึกถึงอารมณ์ตัวเองแล้วยิ่งน่าเอ็นดู คนเรามักจะเป็นเด็กและใหม่กับอะไรสักอย่าง ต่อให้เชี่ยวชาญด้านวิชาการแค่ไหนก็ตาม

    ส่วนที่ช่วยอย่างมากในการถ่ายทอดลักษณะนิสัย Don คือสไตล์การเล่าเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยความที่เรื่องนี้ถ่ายทอดจากมุมของ Don ดังนั้นเขียนธรรมดาๆก็ไม่ impact สิ คนเขียนเลยให้ลีลาการเล่าเรื่องของ Don ออกแนว Informative สุดๆ โทนเสียงเป็นกลาง ใช้ภาษาวิชาการ แบบเดียวกับที่ใช้เขียนเอสเสวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ทำนองนั้น เราต้องบอกว่ามันโคตรรรรรรรรรรรรรรครีเอทีฟ โคตรได้ โคตรคูล นี่นิยายหรืองานวิชาการ แต่ละตอนมีการสรุปรวม หาสมมุติฐาน สร้าง argument ที่มีน้ำหนัก ทำให้เราได้เข้าไปอยู่ในหัวของ Don จริงๆ ได้ศึกษาทุกขั้นตอนความคิดของนักวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นจุดที่สร้างความตลกขบขันให้ The Rosie Project ตลอดทั้งเรื่อง เนื่องจาก Don มี Word choice แปลกๆ เลือกคำที่เป็นทางการเกินไปสำหรับเหตุการณ์สามัญอย่าง สั่งกาแฟ พูดถึงผู้หญิง พูดถึงความรัก แล้วพอจังหวะกำลังดีมันก็ตลกขึ้นมาซะอย่างนั้น Don คือตลกหน้าตายที่แท้จริง!


    มีสปอยล์+วิเคราะห์


              เราคิดว่า Don มีพลังในการสื่อสารและสะท้อนสังคมมาก ทั้งๆที่นิสัย Don ใช่จะเจอได้ทั่วไป Don เล่าชีวิตของเขาเองให้เราฟังอย่างเงียบๆไม่เปิดเผย เกี่ยวกับอดีตที่ไม่ค่อยสวยงาม การถูกกลั่นแกล้ง เห็นเป็นตัวตลกเพียงเพราะแปลกแยกจากคนอื่น รวมถึงครอบครัวที่มีส่วนในการสร้างลักษณะนิสัยต่างๆของ Don ขึ้นมาด้วย (เรื่องง่ายๆอย่าง แนวเพลง) ผู้เขียนบรรจงสร้าง Don ขึ้นมา เติมรายละเอียดในชีวิตให้เขาทีละนิด สุดท้าย Don คือผลที่สังคมหล่อหลอมมา ไม่ใช่เกิดมาประหลาด อย่างที่ Don บอกว่าเขาเปลี่ยนแปลงตัวเองเมื่อครบรอบวันเกิด 21 ปี เพราะแรงกดดันและความคาดหวังของสังคม และนี่เป็นสิ่งที่ Don เผชิญมาทั้งเรื่อง การต้องก้าวออกจากโลกเล็กๆของตนเอง ปรับตัวเข้ากับโลกใบใหญ่ โลกใบที่เขาไม่ได้รู้สึกว่าเป็นบ้าน ไม่ได้รู้สึก belong

              คำถามคือ… แล้วตอนที่ Don สร้างโลกของตัวเองขึ้นมาเป็น Comfort zone ไม่ใช่เพราะสังคมหรือโลกใบใหญ่หรอกหรือที่บีบให้เขารู้สึกแตกต่าง รู้สึกอ่อนแอ ต้องมีกรอบมีอะไรให้รู้สึกปลอดภัยอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่า Don ไม่กล้าลองอะไรใหม่ๆเพราะกลัวว่า ‘จะไม่ดีเหมือนเดิม’ ‘จะทำออกมาไม่ดี ไม่สมบูรณ์แบบ’ ไม่อย่างนั้นเขาคงไม่ ‘ซ้อม’ อย่างเป็นจริงเป็นจังกับทุกอย่างที่เขาต้องลองเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะชงค็อกเทล เต้นรำ หรือเรื่องที่เรารู้สึกว่าพื้นฐานที่สุดธรรมชาติที่สุดอย่างเซ็กส์ Don ก็ยังซ้อม! เจตนาไม่ใช่เพราะแค่มันขำ (ถึงจะขำมาก๕๕๕๕) แต่เพราะจะเน้นย้ำว่า Don เป็นคนที่กำแพงสูงลิบขนาดไหน แต่สุดท้ายเขาก็ต้องเริ่มปีนออกจากกำแพง เพื่อได้ทำ ได้รู้สึก ได้ออกจาก Safe zone ของตนเอง

              เราจึงคิดว่าThe Rosie Project สอดแทรกปรัชญาและความหมายของชีวิตเอาไว้อย่างแยบยล คนอาจจะอ่านเอาสนุก แต่สำหรับเรา เรื่องนี้คือนิยายเนื้อดีอย่างแท้จริงเพราะสามารถใช้ทุกองค์ประกอบในเรื่อง (ภาษา, ปมตัวละคร, การกระทำ, ตัวประกอบฯลฯ) มาแกะเปลือกสังคมให้เราดู โอเค โลกใบนี้แย่เนอะ แต่เราต้องอยู่กับมันให้ได้ ก็เหมือนกับตรรกะเหตุผลแหละ ไม่ใช่ทุกครั้งที่มันใช้ได้ในชีวิตจริง เราต้องอย่าลืมว่ามนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึก สิ่งเดียวที่เหตุผลทดแทนไม่ได้ คิดไปคิดมา ก็เริ่มพบความ Romanticism (ต่อต้านเหตุผล เน้นอารมณ์) ที่แฝงอยู่ในนิยาย เราจะไม่ลงลึกไปกว่านี้ ไม่งั้นคงได้ยกอิมมานูเอล คานท์ มาถกแล้ว (ฮา)

              ดังนั้น เราถึงบอกว่า Don ไม่เหมือนใคร แต่ใครๆก็เหมือน Don ในแง่ที่ต้องปรับตัวเข้ากับคนอื่นและเปิดใจรับโอกาสใหม่ๆในชีวิต สุดท้ายสิ่งที่เราคิดว่ามีความสุขดีอยู่แล้ว อาจจะกลายเป็นความสุขที่ไม่พอเมื่อได้สัมผัสความสุขที่มากกว่าจากประสบการณ์ใหม่ๆ และความสุขของเราตอนอ่านเล่มนี้ คือการเห็นพัฒนาการอย่างค่อยเป็นไปค่อยไปของ Don ได้เห็นเขาค่อยๆรู้จักอารมณ์ และใช้เหตุผลที่มีมาวิเคราะห์ตัวเอง อย่างสุดท้ายนี่ดีงามมากเลย เราไม่ได้คาดหวังจะเห็นคนใช้ Reasoning ในชีวิตจริงแบบเถรตรง แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว ปลื้ม

              สาเหตุที่ไม่ได้พูดถึงตัวละครอื่น ไม่ใช่เพราะวางคาแรกเตอร์มาไม่ดี แต่เพราะตัวละครอื่นค่อนข้างธรรมดา ไม่ได้มีประเด็นจับต้องได้ (ถ้าจะติคงเป็นเรื่องนี้ Don เด่นเกินจนเลิกสนใจตัวละครอื่น) ไม่ได้ประทับใจนางเอกด้วย คือเราว่า Rosie เป็นผู้หญิงที่ธรรมดามาก ส่วนตัวเจอแล้วไม่ตกหลุมรักแน่ๆ นิสัยไม่ใช่แนว จะบอกว่านางพิเศษเพราะยอมรับ Donได้ เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าการยอมรับ Don จะยากขนาดนั้นอาจมีผู้หญิงอีกร้อยพันที่ตกหลุมรักคนแบบ Don เพียงแต่ Rosie มาเจอ Don แบบถูกที่ถูกเวลา อวยนางเรื่องเดียวคือนางเฟมินิสต์ดี โดยเฉพาะที่ Rosie บอกว่า Don กำลังมองผู้หญิงเป็นวัตถุด้วยการหว่านแบบสอบถาม ผู้หญิงไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังลดคุณค่าตัวเองลงด้วยการเสนอตัวเอง เพียงเพื่อให้ Don บอกว่าเธอผ่านหรือไม่ผ่าน อาจฟังดูเว่อร์ แต่ถ้ามองอีกมุม Rosie ก็กำลังกระตุ้นให้ผู้หญิงคิดว่าทุกวันนี้เราถูกสังคมทำให้กลายเป็นวัตถุหรือเรามองตัวเองเป็นวัตถุและยืดอกรับมันด้วยความเต็มใจกันแน่

              สรุปสั้นๆ การวางตัวละคร พัฒนาการต่างๆ เป็นขั้นเป็นตอน ไม่เร่งรัด สมเหตุสมผล ใช้ภาษาได้เข้ากับตัวละครดี อยู่ในระดับประทับใจ

     



    เนื้อเรื่อง

              พล็อตเรื่องไม่ได้สนุกแบบอลังการ ไม่ได้ขำสุดๆ ไม่ได้ลุ้นระทึก แต่อ่านได้ไม่เบื่อ นิยายเรื่องนี้ให้พื้นที่ว่างคนอ่านประมาณนึง เรารู้สึกว่าอ่านสบายใจมากกว่าแนว Chick-lit เล่มอื่นๆที่เน้นเดินเรื่องไว ชวนติดหนึบ เอนจอย ฯลฯ ที่ว่าสบายใจคือระหว่างอ่านเราได้หยุดคิดบ้าง ทบทวนบ้าง แต่ที่ทำบ่อยสุดคือหยุดเพื่อเขินบิดไปมา คือน่ารัก น่ารักมากกกกกกกกกกก ฉากกุ๊กกิ๊กเป็นธรรมชาติและกำลังดี รับรองว่าไม่เลี่ยน ไม่ cringe

              ในด้านของอารมณ์หลักๆคือตลก คอมเมดี คิดว่าใครที่ชอบตลกเสียดสี ตลกซื่อๆ ตลกหน้าตายน่าจะชอบอย่างมาก แต่หลายครั้งต้องเข้าใจบริบทหรือศัพท์วิชาการประมาณนึงถึงจะอิน พูดได้ว่าอุปสรรคในการอ่านคือภาษาโทนเรื่องที่หนักไปทางวิชาการความรู้ อาจทำให้คนที่ไม่ชอบเบื่อและง่วง สำหรับเราต้องหยุดเปิดศัพท์บางคำเพราะอดไม่ไหว อยากรู้ เผื่อจะขำ ทำให้ชะงักบ่อยๆ แต่ถ้าปล่อยผ่านก็รู้สึกว่าซึมซับไม่เต็มที่อีก ทำให้เราไม่แนะนำเรื่องนี้สำหรับคนที่อยากฝึกภาษาหรือเพิ่งลองอ่านนิยายอังกฤษ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ยากแบบอ่านไม่ได้


    มีสปอยล์


              ไม่ได้ดีแค่ตลกนะ ฉากเศร้า ฉากเหงา ก็ทำเราน้ำตาซึม สงสาร Don สุดๆ บางทีก็ไม่เข้าใจว่าทำไมชีวิตต้องเจออะไรแบบนี้ พวกถ้อยคำสั้นๆแต่เจ็บและชาอย่างเช่น ไม่เหมาะกับโลกนี้ กลับสู่บ้านตัวเอง สถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด ฯลฯ บีบคั้นใจเราเหลือเกิน;_; แต่ขอบคุณที่ไม่ได้เปลี่ยนตัวเองเพื่อ Rosie จนมากเกินไป เพราะถ้า Rosie รัก Don คนใหม่ เราจะไม่อินเลยยยยยยย แบบไม่เลย

              แก่นเรื่องกล่าวรวมๆไปแล้วตอนพูดถึงตัวละคร และคิดว่า The Rosie Project ประสบความสำเร็จพอสมควรในทุกๆด้าน ความสนุก อารมณ์ ข้อคิดและฉากจบที่โอเค เรารับได้ ถึงจะคิดว่าง่ายๆไปหน่อย อารมณ์แบบ เอ้าจบแล้วเรอะ๕๕๕๕๕๕ แอบคาดหวังสูงง่ะ นึกว่าตอน Don รู้ตัวว่ารัก Rosie จะมีอะไรพีคกว่านี้ซะอีก ส่วนพ่อของ Rosie ก็แอบผิดหวังนิดๆเพราะแอบเชียร์ให้เป็นนักล่าเวอร์จิ้นตามสัญชาติ มันจะพีคเว่อเว่อ แต่จบแบบนี้คนเขียนก็คงคิดมาดีแล้วเช่นกัน ยอมรับแต่โดยดี

     



    ความรู้สึกส่วนตัว

              เป็นนิยายที่น่าสนใจด้วยตัวพล็อตและการออกแบบคาแรกเตอร์ พออ่านยิ่งพบว่าภาษาก็ดึงดูด วิธีถ่ายทอดก็เป็นเอกลักษณ์ และให้ฟีลลิ่งเหมือนกำลังอ่านงานวิชาการหน่อยๆด้วย (อ่านจบจะเป็น Expert ด้านพันธุศาสตร์อยู่แล้ว) รวมถึงการปูเนื้อเรื่องต่างๆก็ใช่เล่น นี่อ่านสองสามวันจบ ขนาดคิดว่าภาษายากนะ ระหว่างการอ่านก็รู้สึกบันเทิงจริงแหละ

              ข้อเสียอาจอยู่ตรงที่จังหวะของเรื่อง บางมุกก็วิชาการไปนิดนึง และเรื่องคุณพ่อตัวจริงทำได้ไม่พีคอย่างที่ตั้งความหวังไว้ ฉากจบก็รวบรัด แต่รวมๆก็ยังอ่านสนุก ได้ขบคิดเยอะอยู่ดี

              อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แนะนำเรื่องนี้เท่าที่คิดว่าอยากจะแนะนำ เพราะเป็นนิยายที่เราจัดอยู่ในหมวด ‘แล้วแต่คน’ นิยายบางเล่มอย่างของ Sophie Kinsella เรารู้สึกว่าเหมาะกับหมวด ‘อ่านเถอะ สนุกจริงๆ’ ไม่ได้แปลว่าเราชอบเรื่องนี้น้อยกว่าของ Sophie นะ (เผลอๆจะชอบมากกว่า Can you keep a secret ด้วยซ้ำ) แต่แปลว่ามี background มาสนับสนุนให้ชอบ เช่น อินกับ Reasoning เป็นการส่วนตัว พออ่านแล้วเหมือนได้เห็น Reasoning ออกมาเป็นตัวเป็นตนพูดได้ อะไรแบบนั้น ก็เลยชอบเป็นพิเศษ รวมถึงชอบนิยายที่ให้ใจกับแก่นเรื่องตัวเอง ไม่ใช่หยิบนู่นผสมนี่จนไม่รู้ว่านิยายอยากสอนอะไรคนอ่าน เรื่องนี้เลยตอบโจทย์มาก

              อ้อ อีกความประทับใจ มีแบบสอบถามของ Don ให้ทำ /ปาดน้ำตา มีสูตรค็อกเทลให้อ่าน มี! คำถาม! ให้! ดิสคัส! โดยไม่ต้องมานั่งคิดเองว่าประเด็นอะไรน่าสนใจ หนังสือหยิบมาให้อ่าน ให้วิเคราะห์ นี่สิถึงจะครบถ้วนกระบวนการอ่าน ถ้าอ่านแล้วไม่คิด เราจะรู้สึก Unproductive หน่อยๆ

              ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ลอง บิลเกตต์ยังเคยแนะนำเรื่องนี้เลย นิยายที่เหมือนงานวิชาการไม่ได้หาง่ายๆ และรอคอยเรื่องนี้เป็นหนัง หลายฉากเหมาะเจาะมาก สร้างมาเพื่อหนังชัดๆ ฮือออออ (ไปอ่านที่นักเขียนพูด เรื่องนี้เป็น Screenplay มาก่อน ไงล่ะชั้ลเดาถูก/ทำหน้าชนะ)

              ว้า เราจะหาผู้ชายแบบ Don ได้ที่ไหนนะ Rosie นี่โชคดีจริงๆ งื้อออออ

     





    ช่วงตอบคำถาม





    Responding to reading group guide


    1)      How do you feel about Don having women fill out a questionnaire for compatibility?               Would this work?

     

    ตอนแรกเราคิดไม่ถึงว่าประเด็น objectify ผู้หญิงจะมาเกี่ยวข้อง Rosie พูดได้น่าสนใจว่าผู้หญิงที่มาตอบแบบสอบถาม เพื่อจะได้รับการคัดเลือก ทำให้พวกเธอดูเหมือนจะลดค่าตนเองลง แล้ว Don อยากได้ผู้หญิงแบบนี้จริงๆหรือ? อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าประเด็นนี้อาจจะอ่อนไปที่จะพูดในแง่ของเฟมินิสต์เพราะไม่ใช่ว่าแรงจูงใจทุกคนคือการได้เดทกับ Don เหมือนเราเวลาทำแบบสอบถาม บางครั้งทำเล่นๆ สนุกๆ ไม่ได้ทำตามจุดประสงค์ของงแบบสอบถามจริง ถ้าพูดในแง่ปรัชญาหน่อย คุณค่าของผู้หญิงอาจไม่ได้วัดได้ด้วยการทำหรือไม่ทำแบบสอบถาม

    ยิ่งถ้ามองในมุมของ Don (แม้จะมีบางครั้งที่เหมือนเห็นผู้หญิงเป็นแค่ความจำเป็น ไม่ได้เห็นคุณค่ามากไปกว่านั้น) รู้สึกเห็นด้วยที่ Don ใช้วิธีหาคู่ที่ดูจะ (แค่ดูจะ) เหมาะกับตัวเอง ช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ในรูปแบบที่เซฟกว่าหาเอาตามถนน สมมุติไม่เจอ Rosie ป่านนี้อาจจะรักกับใครสักคนที่คะแนนผ่านแบบสอบถามก็ได้ แต่เพราะเจอ Rosie ก่อนรึเปล่าความเป็นไปได้ก็เลยดูน้อย อันนี้ลองพูดถึงความเป็นไปได้ทั้งหมด แต่ส่วนตัวคิดว่าการเจอคนที่ใช่โดยบังเอิญดีกว่าเลือกคนจากแบบสอบถามอยู่แล้วนะ การหาเปอร์เซ็นต์ความเข้ากันมัน Mechanical เกินไป อาจจะไม่ Practical แต่ก็นะ มีตั้งเยอะแยะไปที่เจอกันตามเน็ต จับคู่ด้วยเปอร์เซ็นต์ compatibility แล้วรักกันยืนยง ดังนั้น จะบอกว่าวิธีนี้ไม่เวิร์คไม่ได้อะ 

    แต่ส่วนตัว เราจะไม่ใช้วิธีนี้หาคู่ เพราะชอบความรู้สึกที่เริ่มต้นจากเฉยๆไปสู่ความรัก ไม่ชอบความรู้สึกไปเดทหรือทำอะไร โดยที่รู้อยู่แล้วว่า อ๋อ นี่เราให้สถานะอะไรแก่กันและกัน ซึ่งถ้าใช้วิธีตอบแบบสอบถาม ก็จะให้ฟีลประมาณนั้น รู้อยู่ว่าเจอกันและกันเพราะจุดประสงค์อะไร ไม่เป็นธรรมชาติ

     

    2)      Many people would say that Claudia and Gene’s marriage is very unconventional. Do you think it is successful?

     

    ส่วนตัวไม่ชอบ Open-relationship ไม่ใช่เพราะยึดตามค่านิยมสังคม แต่เพราะเชื่อว่าความหึงหวงแยกกับความรักไม่ได้ เป็นเราเราคงไม่โอเคถ้าคนรักจะไปอะไรกับใครก็ได้ ดังนั้นให้คำตอบว่าไม่สำเร็จและไม่สวยงาม ดูก็รู้ว่า Claudia ไม่มีความสุข

     

    3)      There’s an age-old saying that “opposite attract” How do you think this applies to the book?

     

    อันนี้แน่นอนว่านิสัยของ Rosie และ Don ต่างกันมากอยู่แล้ว แต่ที่ต่างกันสุดๆคงไม่ใช่การใช้ชีวิต แต่เป็นเรื่องอารมณ์ (Rosie) และเหตุผล (Don) ที่มาเจอกัน แต่สิ่งที่ Don ค้นพบคือแม้แต่ Rosie ก็มี pattern ความเป็นเหตุเป็นผลอยู่ในการกระทำ แค่คนละระบบกับ Don นี่อาจจะมองได้ว่าอารมณ์เองก็ใช่จะตรงข้ามกับเหตุผลร้อยเปอร์เซ็นต์

     

    4)      What changes do you see in Don as he spends more time in Rosie’s company? Why do you think these changes take place?

     

    คิดว่าที่เห็นชัดคือเขาได้พบความสุขในอีกแง่มุมหนึ่ง เหมือนคนที่อยู่ในกะลาเพิ่งได้ออกมาเจอโลกและได้พบว่าโลกไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ตัวเองเคยเจอมา โลกกว้างมากพอที่จะเหวี่ยงคนหลายรูปแบบและกิจกรรมใหม่ๆมาให้เรา ถ้าอ่านไปหลังๆลักษณะการเล่าเรื่องจะมีอารมณ์มากขึ้นด้วย แต่หลักๆแล้วไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบ completely นะ ยังมี Don คนเก่าแทรกซึมอยู่ อย่างที่ Rosie แซว Don ตอนจับเวลารอเธอตัดสินใจ เหมือนจะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงพวกนี้ไม่ได้เกิดแบบจู่ๆก็ปรากฏอะ มันซ่อนเร้นอยู่ในตัว Don อยู่แล้ว เช่น การคิดถึงจิตใจผู้อื่น แต่เพิ่งจะชัดเจนตอนหลังๆเอง หรือการที่ Don ชอบชงค็อกเทล เพราะ Don ความจำดี แล้วรู้สึกว่าทำได้ดี ก็เลยชอบ ทุกอย่างมีที่มาที่ไปเชื่อมโยงกันหมด 

     

    5)      What do you think makes people compatible? Whatever you decide, do you think it’s universally true?

     

    ตรรรกะเหตุผล ทัศนคติ เราคิดว่าคนไลฟ์สไตล์ต่างกันยังอยู่ด้วยกันได้ แต่ทัศนคติไม่ตรงกันเลยสักอย่างอยู่ด้วยกันไม่ได้ ไม่ใช่ทัศนคติง่อยๆนะ ต้องเป็นทัศนคติจริงจัง มุมมองต่อเรื่องต่างๆในชีวิต เช่นชอบเรียนรู้หรือไม่ชอบ เหยียดเพศหรือไม่เหยียดเพศ แม้แต่ระดับความฉลาดลึกซึ้งเวลาวิเคราะห์ ถ้าจับผู้หญิงไม่รู้อะไรเลยมาอยู่กับ Don ฟัง Don พูดไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ แบบนี้ก็ไปกันรอดยาก อย่าลืมว่าเรากำลังพูดถึงความเข้ากันได้ ไม่ใช่ความรัก เราเชื่อว่าเรารักคนที่ทัศนคติต่างกันสุดขั้วได้ แต่เราจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขไหมอีกเรื่อง

     

    อย่างไรก็ตาม ไม่เคยคิดจะเคลมอะไรว่า ‘Universally true’ คนเรา Background ต่างกัน ย่อมมีความเป็นไปได้ที่คนทัศนคติตรงข้ามกันสุดๆก็ยังเข้ากันได้ เพราะไลฟ์สไตล์เหมือนกัน ให้เงื่อนไขเพิ่มว่าพวกเขาอาจจะไม่ได้แคร์เรื่องทัศนคติมาก ไม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดกันมาก ไม่เหมือนเราที่ใช้ชีวิตอยู่กับการแลกเปลี่ยนทัศนคติกับคนรอบตัว

     

    6)      Being able to understand non-verbal communication is key to good communication. Do you agree? How does this statement apply to different relationships in The Rosie Project?

     

    คำถามนี้เหมือนข้อสอบเลยอะฮือ๕๕๕๕๕๕ หนึ่งเลยคือเห็นด้วยมากๆ เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและต้อง suppress พฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้เข้ากับคนอื่นได้ ไม่งั้นเราคงไม่ด่าคนที่ตรงเกินไปว่าไร้กาลเทศะ ไร้มารยาท ฯลฯ เราเป็นคนที่ชอบอ่านคนจากสีหน้าท่าทาง และมั่นใจว่าค่อนข้างแม่นช่วยให้เราสามารถรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนได้ เพราะรู้ว่าเวลาไหนควรเล่น ควรหยุดแค่นี้ก็ถือว่าสื่อสารได้ดีขึ้นแล้ว





    Answering further reading group questions: Social behavior


    มีข้อเดียวที่เราสนใจ


    1)      Don confronts Kevin Yu about his plagiarism and Kevin begins to cry. Why does Don’s reaction seem uncharacteristic, and why do you think he reacts in this way?

     

    ประเด็น Plagiarism เป็นประเด็นใหญ่มากๆในแวดวงวิชาการ สิ่งที่ Kevin Yu ทำ ค่อนข้างร้ายแรง เพราะไม่ได้ทำทั้งหมดของธีสิสด้วยตัวเอง (ใช่ธีสิสรึเปล่านะ? หรือไม่ก็วิจัยนี่แหละ งานสายวิทย์) ให้ติวเตอร์ช่วยทำ ไม่รู้ว่าเลวร้ายมากหรือน้อยกว่าการลอกงานคนอื่น แต่ค่อนข้างยอมรับไม่ได้เนื่องจากการให้จบโดยรู้ทั้งรู้ว่างานที่ส่ง plagiarism เนี่ย เท่ากับปริญญาไม่ได้ justify ความสามารถเท่าที่ควร

    สาเหตุที่ Don บุคลิกเปลี่ยนไป คือผ่อนปรนมากขึ้น ประนีประนอมมากขึ้น รวมถึงสาเหตุที่ตอบสนองด้วยการบอก Kevin ว่าจะพิจารณาหาทางแก้อื่นดู ก็เพราะ Kevin มีเหตุผลที่ Don เข้าใจได้ว่าทำไมถึงเลือกวิธีนี้ เหตุผลของ Kevin เกี่ยวพันกับครอบครัว เกี่ยวพันกับความรู้สึก ซึ่งมนุษย์ปกติก็คงมีความสงสารเห็นใจ อยากเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ สุดท้ายแม้แต่ Don ผู้เคร่งครัดในระเบียบ ยังยอมให้โอกาส Kevin แก้ตัว ทั้งๆที่ปรับตกเลยก็ยังได้

    นี่แปลว่าศีลธรรมข้อหนึ่ง (ด้านมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์) กำลังค้านกับศีลธรรมอีกข้อหนึ่ง (ทำถูกต้องตามจรรยาบรรณ) ใช่รึเปล่า? แล้วเราควรจะเลือกทางใดถ้าเกิดมีนักเรียนส่งงานที่ plagiarism มา แต่ว่าเขามีเหตุผลที่น่าเห็นใจมากๆในการกระทำความผิด

    ถ้าถามเรา คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะเหตุผลนักเรียน irrelevant กับความผิดที่กระทำ (ตอนแรก Don ก็ยึดมั่นในแนวคิดนี้) จริงอยู่ที่วิธีคิดนี้ logical และไม่เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์เอามากๆ แต่ว่าผลกระทบที่จะตามมานั้นมีมากกว่า หนึ่งเลยคือการปล่อยผ่านทำให้มีโอกาสเกิด plagiarism งานต่อๆไป หรือแม้แต่ในแวดวงวิชาการ ชีวิตจริง นอกเหนือไปจากการศึกษา สองคือไม่ยุติธรรมกับคนอื่นๆในคลาส สมมุติว่านักเรียนผู้นี้ได้ A แต่งานลอกมา ในขณะที่เพื่อนคนอื่นทำเองแต่ได้ C+ เกรดก็จะไม่สามารถวัดความสามารถได้จริง และสุดท้าย plagiarism ไม่ให้ผลดีกับใคร ตัวผู้สอนเองก็ผิดจรรยาบรรณ ตัวผู้เรียนเองก็ได้ผลการเรียนที่ไม่ตรงกับความสามารถ อาจจะมีประโยชน์ในระยะสั้น แต่สุดท้ายถ้าถูกจับได้ก็ต้องโดนทำโทษอยู่ดี และสมมุติว่า plagiarism นั้นคือการขโมยงานวิชาการคนอื่น เจ้าของผลงานก็เสียประโยชน์ เสียเครดิตด้วยเช่นกัน

    โชคดีที่ใน The Rosie Project ได้ทางออกที่ค่อนข้างประนีประนอม ให้ทำใหม่มาส่งก็ไม่ถือว่าให้จบด้วยงานที่มี plagiarism แต่ในความเป็นจริงอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นแบบ Don หรือแบบเรา? เท่าที่เราเจอมาอาจารย์ซีเรียสกับ plagiarism มาก ดังนั้น ทางออกแบบในเรื่องนี้อาจจะโลกสวยไปนิดนึง จะบอกว่า Don ตัดสินใจถูกไหมก็ไม่เต็มปาก และถ้าหนังสือต้องการนำเสนอว่า “เนี่ย เราต้องอยู่ร่วมกัน ต้องเห็นใจกัน สุดท้ายอารมณ์ก็เอาชนะเหตุผล ฯลฯ ” เราก็คิดว่าประเด็น plagiarism อาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าหนังสือแค่อยากให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ Don ก็คิดว่าชัดเจนดีเหมือนกัน

    อย่างไรก็ตาม ชอบที่หนังสือสอดแทรกประเด็น Plagiarism มาให้ขบคิดเกี่ยวกับการศึกษาเล่นๆ ถ้าไม่มีเหตุผลจำเป็น คนก็คงไม่พยายามคดโกงในรูปแบบต่างๆเพื่อให้ตนเองได้ปริญญา สะท้อนให้เห็นปัญหาต่างๆในสังคมและระบบการศึกษาเหมือนกันนะ

     

              สรุปแล้วนี่เขียนเปเปอร์ The Rosie Project อยู่หรอ ฮืออออ จริงจังเว่อ T v T แต่สนุกเวลาได้ดิสคัส (คนเดียวก็สนุกได้) อ่านแล้วมาแชร์ความคิดเห็นได้นะคะ รับฟังมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องนี้เสมอ <3 ลาไปก่อนค่ะ สิบหน้าแล้ว พรืดดดด



    - ilysm.






Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
memiann (@MeMiann)
อ่านรีวิวแล้วอยากซื้อหนังสือเลยค่ะ ^^
ยังไม่ได้อ่านส่วนของช่วงตอบคำถามเพราะกลัวโดนสปอย แต่ฟังดูน่าสนใจมากเลย ขอบคุณนะคะ ไว้จะซื้อหนังสือมาอ่านแล้ว discuss กะตัวเองบ้าง :D