คำประกาศร่วมกันระหว่างรูสเวล และเชอร์ชิล ที่นำไปสู่การก่อตั้ง UN ในเวลาต่อมา ภายใต้สนธิสัญญาแอตแลนด์ติก มีการพูดถึงเรื่องของรากฐานการก่อตั้งขององค์การที่เป็นสากลแทนที่องค์การสันนิบาตชาติ
หลักการพื้นฐานของกฎบัติสหประชาชาติ : การร่างของกฎบัติสหประชาชาติ มีหลักการพื้นฐานที่สำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ ความเท่าเทียมกันในอำนาจอธิปไตยของทุกประเทศ รัฐที่มีความรักในสันติภาพสามารถเข้ามาเป็นรัฐสมาชิกได้ และประเด็นด้านการตัดสินใจในเรื่องของความมั่นคงเป็นสิทธิ์ขาดของคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้น อีกทั้งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ให้สัตยาบันต่อกฎบัตร
หลักการสำคัญของ กฎบัตร -- ความเท่าเทียมกันของรัฐสมาชิก -- ยึดถือหลักการเรื่องของความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายของรัฐ ขนาดของประเทศ หรืออะไรต่าง ๆ จะไม่มีผลต่อความเท่าเทียมกันในสถานะทางกฎหมายภายในอวค์การ ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย นำไปสู่รูปแบบของหลักการที่ว่าด้วยเรื่องของ 1 รัฐ 1 เสียง ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ -- โครงสร้างการดำเนินงานขององค์การ ก็บ่งบอกถึงความไม่เท่าเทียมกันในอำนาจ ในเรื่องของคณะมนตรีความมั่นคง อย่างเรื่องของการใช้สิทธิในการระงับยับยั้งของประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติผ่านการ Veto ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของประเทศมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง -- กฎบัตร ถูกออกแบบมาให้ทุกประเทศร่วมมือกันระงับ ยับยังเรื่องของการขัดกันหรือคุกคามต่อรัฐอื่น ภายใต้กรอบคิดเรื่องของความเป็นอิสระในดินแดน -- ทุกรัฐสมาชิกจะต้องไม่ทำการใด ๆ ที่จะขัดต่อเป้าหมายขององค์การ คือเรื่องของการรักษาสันติภาพและความมั่นคง -- ระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธี การตั้งอนุญาโตตุลาการ การก่อตั้งศาลระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี -- การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ๆ -- การทำตามสนธิสัญญา รัฐสมาชิกต้องมีศรัทธาในการปฎิบัติตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ
(ภาพการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ)
โครงสร้างของ UN มี 6 ส่วนสำคัญ คือ
(1) General Assembly เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องของการบริหารจัดการการดำเนินงานขององค์การ ดูแลเรื่องของคัดเลือกสมาชิกใหม่ สมาชิกไม่ฐาวร การเลือกคณะมนตรีต่าง ๆ ล้วนเป็นหน้าที่ของสมัชชาใหญ่แทบทั้งสิ้น ใช้หลักการหนึ่งประเทศ 1 เสียง ผลผลิตที่ได้จากสมัชชาใหญ เรียกว่า ข้อมติ Resolution ถือเป็นหลักการที่วางรากฐารให้กับกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นผลผลิตจากการให้ความเห็นร่วมกันของประเทศสมาชิกทั้งหมด และจะเป็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น แนวคิดเรื่องของทะเลและอาวกาศเป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ ต่อมามีการพัฒนาเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีการใช้เป็นการทั่วไป มีการทำงานร่วมกันใน 5 ด้าน คือ การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ เศรษฐกิจการเงิน สังคมมนุษยธรรมและวัฒนธรรม การเมืองเอกราชของประเทศอาณานิคม การบริหารการคลัง และกฎหมาย สมัชชาใหญ่ ประกอบไปด้วยประธาน 1 คนและมีการเลือกรองประธานอีก 17 คน โดยส่วนใหญ่และประธานของสมัชชาใหญ่มักจะมาจากประเทศขนาดเล็กหรือประเทศขนาดกลางเสียบ่อย เนื่องจากความต้องการให้ประเทศเหล่านี้มีอำนาจต่อรองในระดับสากลได้บ้าง การตัดสินใจในสมัชชาใหญ่ มักมีการตัดสินใจในลักษณะของการตัดสินใจร่วมกันในรูปของกลุ่มประเทศภูมิภาค เพื่อกำหนดทิศทางขององค์การไปในแนวทางของผลประโยชน์ในระดับภูมิภาค หรือการลงคะแนนที่แบ่งออกเป็นกลุ่มประเทศ Norths and Soult ประเทศที่พัฒนาและและประเทศที่กำลังพัฒนา
(2) คณะมนตรีความมั่นคง มีหน้าที่เรื่องของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อยู่ในรูปของตัวแทนในการตัดสินใจของสมาชิกทั้งหมดในองค์การ การออกแบบให้คณะมนตรีความมั่นคงมีสมาชิกน้อย 15 ประเทศมาจากแนวคิดเรื่องของการมีประเทศสมาชิกน้อย สามารถดำเนินงานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วกว่า สมาชิกแบบไม่ฐาวรสามารถเป็นได้ 2 ปี การประชุมของคณัมนตรีความมั่นคงไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่จะอยู่ในรูปของกรณีพิพาทนั้น ๆ เป็นสำคัญ เมื่อมีกรณีพิพาทก็จะมีการเรียกประชุมเพื่อหาข้อยุติของปัญหาดังกล่าว ภารกิจใหม่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ เรื่องของการรักษาสันติภาพ Peace Keeping Mission เป็นการร่วมตัวกันของทั้งทหารและพลเรือน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสาธารณะสุข การสอนหนังสือ พันธะกิจในการรักษาสันติภาพจะอยู่ในรูปของการตัดสินใจของประเทศสมาชิกว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการ รักษาสันติภาพหรือไม่
(3) คณะมนตรีด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นเวทีกลางที่เข้ามาทำหน้าที่เรื่องของเศรษฐกืจและสังคมเป็นการเฉพาะ งบประมาณกว่า 70 ขององค์การจะอยู่ที่คณะมนตรีดังกล่าว ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 54 ประเทศที่รับการคัดเลือกจากสมัชชาใหญ่ แต่บะประเทศจะอยู่ในวาระละ 3 ปี โดยการกระจายให้ได้ทุกภูมิภาคในโลก รวมถึงมักจะมีประเทศ P5 อยู่ร่วมด้วยเสทอ เนื่องจากเป็นประเทศที่จ่ายเงินมากที่สุดในการให้เงินอุดหนุนกับองค์การ การลงมิตของคณะมนตรี ใช้รูปแบบ 2 แบบ คือ
1..การงงคะแนนแบบเอกฉันท์
2..เสียงข้างมากแบบธรรมดา
มติของคณะมนตรีเศรฐกิจ มักออกมาในรูปของคำแนะนำหรือข้อตัดสินใจในการตัดสินใจเสียส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีผลบังคับในทางกฎหมาย ถ้าจะให้เป็นข้อบังคับที่มีผลทางกฎหมายต้องนำข้อบังคับดังกล่างผ่านสมัชชาใหญ่ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ที่เป็นกฎหมายได้
(4) สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่ในการทำงานเพื่อองค์การระหว่างประเทศ ทำงานอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ขององค์การ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของประเทศตน
(5) ICJ : International Court of Justice เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทเป็นการเฉพาะ ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำทางด้านกฎหมาย ตุลาการทั้ง 15 คนมาจากการคัดเลือกของสมัชขาใหญ่แบะคณะมนตรีความมั่นคง มีวาระการทำงาน 9 ปี แต่ทุก ๆ 5 ปีจะมีการเลือกสมาชิกใหม่ 3 คน แนวโน้มของคดีที่เข้าสู่ ICJ มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ผลการพิจารณาของ ICJ มักจะกลายมาเป็นรากฐานของกฎหมายระหว่างประเทศเสียส่วนมาก ความท้าทายของสังคมปัจจุบันเนื่องจาก ICJ ไม่ได้ทำหน้าที่ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ อย่าง รัฐกับกลุ่มก่อการร้าย หรือ รัฐกับบรรษัทข้ามชาติ แต่แนวโน้มของโลกยุคปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่ในเรื่องของรัฐต่อรัฐ ทำให้ความท้าทายตกอยู่ที่หน่วยงานที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการระงับข้อพิพาทดังกล่าว
(6) คณะมนตรีภาวะทัสตรี เกิดขึ้นมาจากการที่ประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชยังคงไม่สามารถปกครอบตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ จึงเกิดการก่อตั้งคณะมนตรีดังกล่าวขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประเทศที่ได้รับเอกราชสามารถดำเนินงานด้วยตัวเองดลได้ ช่วง 1950-1960 เป็นช่วงที่คณะมนตรีดังกล่าวทำงานหนักมาก ภายหลังปี 60 เป็นต้นมาบทบาทของคณะมนตรีภาวะทรัสตีลดลงอย่างมาก มีความพยายามในการนำเสนอภาระกิจใหม่ให้กับคณะมนตรีดังกล่าว
อีกโครงสร้างหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างสำคัญในองค์การสหประชาชาติ คือ เรื่องของการประชุมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การทำงานขององค์การสหประชาชาติ เป็นการสร้างความตระหนักและสร้างโครงสร้างการทำงานเพื่อตอบสนองต่อผลการประชุมต่าง ๆ อีกทั้งการประชุมยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำคัญที่ทำให้ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับตัวแสดงที่เป็นรัฐได้
ปัญหาสำคัญขององค์การสหประชาชาติ เนื่องการองค์การสหประชาชาติมีลักษณะของการเปลี่ยนแปลง มีพลวัตรจากการแสโลกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การสหประชาชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวและสร้างความสำเร็จของการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-- การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก
-- ความต้องการที่แตกต่างกันของประเทศที่พัฒนา การทำงานขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วกับประเทศกำลังพัฒนา การจัดสรรค์ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
-- ความต้องการของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐที่เพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการต่าง ๆ ขององค์การระหว่างประเทศ
-- การแก้ไขกฎบัติอาจทำได้ยาก แต่ในขณะเดียวกันกฎบัตรก็มีความยืดหยุ่นพอสมควรในการเปลี่ยนแปลง อย่าง การแก้ไขเรื่องของสิทธิมนุษยชนภายในกฎบัตรโดยโคฟีอนันต์
-- องค์การสหประชาชาติสามารถสร้างสรรปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการแสโลกใหม่ ๆ ได้
การปฎิรูปโครงสร้างของคณะมนตรีความมั่นคง เนื่องจากการมีสมาชิกภาวร 5 ประเทศร่วมอยู่ด้วย ส่งผลให้มีข้อถกเถียงในเรื่องของตัวแทน ที่อยากให้มีการเพิ่มตัวแทนที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก 5 มหาอำนาจเป็นประเทศที่มาจากภูมิภาคยุโรปเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วผลให้มีความพยายามที่จะสร้างความหลากหลายในคณะมนตรีความมั่นคงให้มากยิ่งขึ้น ร่วมถึงความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วย ความไม่ยุติธรรมในการใช้สิทธิในการ Veto ของ 5 ประเทศมหาอำนาจ
การประสานงานและการบริหารจัดการ องค์การสหประชาชาติ เป็นหน่วยงานที่มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการขององค์การ เนื่องจากประเด็น ภาระกิจ และพันธกิจ ในการทำกิจการขององค์การสหประชาช่ติมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน การที่องค์กรแต่ละองค์กรภายใต้องค์การ มีเป้าหมายในการดำเนินงานของตัวเองที่ชัดเจน ส่งผลให้การประสานงานระหว่างกันนั้นเป็นไปได้ยาก
การปฎิรูปสำนักเลขาธิการ เนื่องจากการมีจำนวนพนักงาน กิจกรรม และโครงการที่มากขึ้น อันเป็นผลมาจากทั้งตัวแทนของประเทศ และเจ้าพนักงานในองค์การที่มาจากประเทศต่าง ๆ นั่นเอง มีผลของความโน้มเอียงไปในทางผลประโยชน์ของชาติตนมากกว่าผลประโยชน์ขององค์การ การทำงานของสำนักงานยังเป็นการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ ถึงจะมีจำนวนบุคลากรเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการทำงานนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย มีความพยายามในการลดจำนวนบุคลากรภายในองค์การโดยสหรัฐ นอกจากให้ลดบุคลากรลงแล้วยังให้ควบรวมเอาโครงการต่าง ๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน ให้กลายมาเป็นกลุ่มเดียวกัน และมีการตั้งคณะทำงานที่มารองรับการทำงานของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อลดเรื่องและลดคน ภายในสำนักเรขาธิการลง การที่สหรัฐเข้ามากดดันนั้นเป็นผลมาจากการให้เงินสนับสนุนของสหรัฐเอง รวมถึงมีการสร้างระบบป้องกันและตรวจสอบการทำงานภายในองค์การ เพื่อป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่น มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทำการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่ทำงาน ภายในสำนักเรขาธิการ
การเงิน การคลัง งบประมาณ การใช้เงินขององค์การสหประชาชาติ ส่วนมากจะใช้ไปภายใต้กิจกรรมที่อยู่ในการดูแลขององค์การ ทั้งกิจการเพื่อสังคม และหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีการใช้สูตรคำนวนในการให้งบประมาณโครงการโดยการแบ่งขนาดของโครงการออกเป็น เล็ก กลาง ใหญ่ โดยส่วนใหญ่หน่วยงานที่ทำกิจการเพื่อสังคม อย่าง UNICEF จะได้รับเงินสนับสนุนโดยสมัครใจจากประเทศต่าง ๆ ด้วย นอกจากเงินสนับสนุนจากองค์การ แต่ภายหลังการเกิดขึ้นของวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้การให้เงินสนับสนุนภายในองค์การนั้นมีปริมาณลดน้อยลง การรับเงินอุดหนุนองค์ดารส่วนใหญ่นั้นพึ่งพาการให้เงินอุดหนุนจากชาติมหาอำนาจ แต่การพึ่งพาชาติมหาอำนาจเหล่านี้ก็สงผลต่อความเสียงในการตัดงบอุดหนุนจากประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นเช่นกัน
ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในองค์การสหประชาชาติ มีการเปิดโอกาสให้ตัวแสดงที่ไม่ใชรัฐเหล่านี้ เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องของการมห้คำปรึกษา และเรื่องของการให้งบประมาณในการดำเนินงานขององค์การ อย่าง มูลนิธิบิล-มิลินดา เกต์ ฯลฯ
ข้อมูลจาก : การบรรยายรายวิชา ร.290 องค์การระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in