เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สาระภาษา (ไม่) มีอยู่จริงpadumpalm
02 : เรียนภาษามาตั้งนาน ทำไมยังไม่เก่งสักที? บล็อกนี้มีคำตอบ (Part 1)
  •        เวลาใครมาถามว่า "เรียนภาษา xxx มากี่ปีแล้ว?" ในฐานะคนที่เรียนภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นมานานแล้ว ก็คงไม่ค่อยอยากตอบกันใช่มั้ยคะ TT) ยิ่งเรารู้สึกว่ายังพูดไม่ค่อยได้เลย อีกฝ่ายก็อาจจะคิดไปได้ว่า "เรียนมาตั้งนาน พูดได้แค่นี้เองเหรอ" แต่ในทางกลับกันถ้าเป็นคนที่เก่งมาก ๆ และมีโอกาสได้ใช้ภาษานั้น ๆ มาเป็นเวลานาน คนก็มักจะคิดไปอีกแบบว่า "เก่งเพราะเรียนมานานแล้วนี่เอง" แทนค่ะ 

           เราคิดว่านี่เป็นประสบการณ์ที่คนเรียนภาษาต้องได้เจอสักครั้งค่ะ คนส่วนใหญ่มักจะวัดระดับความสามารถจากระยะเวลาตั้งแต่ที่ได้เรียนรู้ภาษา และระดับความคาดหวังก็จะสูงขึ้นไปด้วยค่ะ แต่จริงๆแล้วมีตัวแปรอื่นอีกมากมายเลย ที่จะวัดว่าคน ๆ นึงสามารถพัฒนาระดับภาษาของตัวเองไปได้ไกลมากเพียงใด โดยบล็อกครั้งนี้จะเน้นไปที่จุดเริ่มแรกสุด ซึ่งนั่นก็คือตั้งแต่เราลืมตาและร้องอุแว้ๆๆๆ ออกมาค่ะ (ใช่ค่ะ สิ่งที่จะตัดสินว่าเราจะเก่งภาษามั้ย เริ่มตั้งแต่ตอนนั้นนี่แหละค่ะ! )             


    ? มนุษย์ทุกคนมีสิ่งที่เรียกว่า 'ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอยู่ค่ะ' 

         กว่าเด็กคนหนึ่งที่พูดไม่ได้เลย เริ่มพัฒนาจนเขาเริ่มเข้าใจภาษาหนึ่ง ๆ และพูดออกมาได้ ย่อมต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางภาษาขึ้นมาค่ะ โดยภาษาที่ได้ติดตัวมาเป็นภาษาแรกของทุกคนจะเรียกว่า FLA ( first language acquisition ) ในการเรียนภาษาแรกของมนุษย์นี้เองก็มีหลายทฤษฎีค่ะ  


    •        สำหรับคนแรก คุณลุง นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) นักปรัชญาและนักภาษาศาสตร์ (1980) มองว่า การเรียนรู้ภาษาถือเป็นความสามารถโดยกำเนิด มาพร้อมกับยีนส์ของมนุษย์ทุกคน ซึ่งจะมีอุปกรณ์ทางภาษา (Language Acquisition Device – LAD) ติดตัวมาด้วยค่ะ ทำให้เวลาเด็กได้ยินภาษาบางอย่างก็จะนำทักษะตรงนี้ออกมาใช้ สังเกตได้จากการที่ตัวเด็กไม่ต้องตั้งใจเรียนรู้โดยเป็นแบบแผนหรืออย่างจริงจังก็จะค่อยๆเป็นได้เอง ตัวความสามารถนี้เองจะทำให้เมื่อเด็กได้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใด ๆ ก็จะซึมซับและสามารถใช้ภาษานั้นออกมาได้ โดยจะเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของภาษาติดไปด้วย เรียกว่า The Universal Grammar ค่ะ

    •        นักภาษาศาสตร์อีกท่านคือ สตีเฟน คราเชน (Stephen Krashen) (2003) เชื่อในเรื่องของ Acquisition Learning Hypothesis คือมองว่า การเรียนรู้ภาษาจะได้จากการซึมซับบวกกับการเรียนรู้อย่างเป็นแบบแผนด้วย นั่นคือเด็กจะเรียนจากสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่โดยไม่ได้ตั้งใจเช่นเดียวกันค่ะ ไม่ว่าจะผ่านบทสนทนา หรือสื่อรอบ ๆ ตัว แต่เมื่อเด็กได้เข้าไปเรียนอย่างจริงจังแล้วก็จะเริ่มเข้าใจกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ของภาษานั้น ๆ และจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นมานำไปใช้งานได้ในที่สุดค่ะ

          ถามว่ากระบวนการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งสำคัญยังไง? นั่นเป็นเพราะว่า การเรียนภาษาที่สอง หรือ SLA (Second Language Acquisition) ก็จะนำองค์ความรู้จากภาษาที่หนึ่งมาใช้นั่นเอง เวลาที่เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ เราก็จะเข้าใจได้จากการเทียบกับความรู้เก่าที่มีอยู่ เช่น Fish = ปลา ? ทันทีค่ะ สรุปคือถึงแม้ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งอาจจะมีข้อแตกต่างกันบ้างแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นร่วมกันคือ การได้ใกล้ชิดและซึมซับกับภาษานั้นๆ จะก่อเกิดเป็นประสบการณ์ทางภาษา ซึ่งองค์ความรู้นั้นก็จะอยู่ติดตัวเราไป นำไปยังการเรียนรู้ภาษาที่สอง นั่นเองค่ะ

           ดังนั้น ภาษาแรกจะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะสามารถเรียนรู้ภาษาที่สองได้ดีมากแค่ไหน จากความคล้ายคลึงของรูปแบบประโยค การออกเสียง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกมาก เช่น สภาพแวดล้อมในการเรียนภาษาใหม่ ความต้องการในการเรียน ลักษณะนิสัย อายุ เช่น พนักงานที่อยากพัฒนาภาษาของตัวเองเพื่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือเด็กประถมที่ต้องเรียนภาษาใหม่เพราะผู้ปกครองต้องการให้เรียน นำไปสู่ระดับความสามารถการใช้ภาษาที่ แตกต่างกัน ค่ะ ٩(๑❛ᴗ❛๑)۶

    ? ต้องเรียนภาษาตอนอายุเท่าไหร่ ถึงจะเก่งแบบเจ้าของภาษา? 

         นอกจากภาษาที่หนึ่งแล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า "ข้อกำหนดด้านอายุในการเรียนภาษา" ด้วยค่ะ หากอยากเก่งภาษาระดับ Native Speaker ได้ มีผลวิจัยออกมาว่า 

     จะต้องรับภาษานั้น ๆ ก่อนอายุ 12 ปี !!! 

    (ใช่ค่ะ วัยรุ่นกระดูกพรุนอย่างเราไม่ได้สิทธิ์ตรงนี้ไปค่ะ) T-T


          ซึ่งมีศัพท์เฉพาะว่า The Critical Period เป็นเหมือนกับ  โอกาสสุดท้ายในการเรียนภาษา เลยค่ะ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมบางคนเรียนมาเป็นเวลานานแล้วแต่ยังไม่สามารถไปถึงระดับที่เจ้าของภาษาเขาพูดกันได้ แน่นอนว่าตัวเราเองก็มี Struggles ในด้านนี้เช่นกันค่ะ ทั้งภาษาอังกฤษ และญี่ปุ่นเลย 
           ( ;∀;) บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมเขาถึงใช้รูปประโยคแบบนี้นะ ทำไมเขาถึงมีคอนเซ็ปต์การใช้รูปบอกสภาพที่ต่างจากเรา ซึ่งถ้าให้เราอธิบายง่ายๆ เรามองว่า เป็นเพราะสมองของเราถูก shape ความคิดทางภาษาที่เรามีไปแล้ว ต่างจากเด็ก ๆ ที่สมองยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้รับสิ่งที่จะกลายเป็นสัญชาตญาณของเขาไปเองโดยปริยาย ไม่ต้องผ่านกระบวนการความคิดแบบผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ นั่นเอง    ใครสนใจลองไปอ่านกันได้นะคะ (< จ้ิ้ม)


          เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับทฤษฎีการเรียนภาษาที่หนึ่งและสอง รู้สึกว่ามีความเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของตัวเองบ้างมั้ยคะ หรืออ่านแล้วรู้สึกเจ็บใจที่เราเริ่มเรียนภาษาไม่ทันวัย 12 ปีเหมือนเราคะ5555 ถึงแม้เพื่อน ๆ อาจจะเริ่มช้าบ้างเร็วบ้าง แต่จริงๆอายุก็เป็นแค่ปัจจัยหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาของเราให้ดีขึ้นได้ค่ะ เป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ ╰(*´︶`*)╯♡

         P.S. และเนื่องจากบล็อกนี้เริ่มยาวเกินไปเราจึงขอตัดแบ่งเป็นอีกพาร์ทนึงนะคะ55555 สำหรับเพื่อนๆที่สนใจเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหลายภาษายุบยับเต็มไปหมด (multilingual child) ว่าเขาเรียนภาษาอย่างไรกันนะ บล็อกถัดไปเราจะเขียนถึงน้องๆที่บ้านเราเอง ซึ่งน้อง ๆ เราเป็นลูกครึ่งไทย-อิตาลีค่ะ! คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งคนที่ศึกษาหลายๆภาษาและคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้น้อง ๆ ได้หลายภาษาด้วยค่ะ อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ


    อ้างอิง
    พัชรี หอมดอก. (2550). differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition. http://kris-appliedlinguistics.blogspot.com/2007/01/midterm-paper-patcharee-homdok.html
    ภาพ
    www.freepik.com

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
lisalinda (@lisalinda)
https://www.gevezeyeri.com/istanbul-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/ankara-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/izmir-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/bursa-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/diyarbakir-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/ucretsiz-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/chat.html

https://www.gevezeyeri.com/sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/mobil-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/sohbetodalari.html

https://www.gevezeyeri.com/seviyeli-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/bedava-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/uyeliksiz-sohbet.html

https://www.gevezeyeri.com/mobil-chat.html

https://www.gevezeyeri.com/sohbetchat.html
xyyfoc (@xyyfoc)
https://minimore.com/b/Ed8wY/1
https://minimore.com/b/Ed8wY/2
https://minimore.com/b/Ed8wY/3
nebadita (@nebadita)
nice article.. you may also like this https://freaktofit.com/what-are-the-key-tips-for-a-healthy-lifestyle/
iinkkiko (@iinkkiko)
เราก็เรียนไม่ทัน 12 ขวบเหมือนกันค่า น่าเสียดายมาก แต่จะพยามต่อไปค่า ฮึบ คุณpadumpalmเขียนเรียบเรียงได้สนุกมากเลยค่ะ มีลิ้งให้อ่านเพิ่มเติมด้วย รออ่านตอนต่อไปนะคะะะ :)
lawama6116 (@lawama6116)
https://www.accupass.com/event/2202071202465433853310
lawama6116 (@lawama6116)
https://flix.123movie-hd.com/es/505026/death-on-the-nile.html
https://flix.123movie-hd.com/es/335787/uncharted.html
https://flix.123movie-hd.com/es/923403/the-beatles-get-back-the-rooftop-concert.html
Reader (@luvvipart)
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยค่ะ อยากย้อนเวลาไปตอนอายุ12เลย แต่มีความสงสัยว่าถ้าอายุ12รับภาษาเยอะๆได้มั้ยคะ แบบจะสับสนรึป่าว
Reader (@luvvipart)
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยค่ะ อยากย้อนเวลาไปตอนอายุ12เลย แต่มีความสงสัยว่าถ้าอายุ12รับภาษาเยอะๆได้มั้ยคะ แบบจะสับสนรึป่าว
padumpalm (@padumpalm)
@luvvipart จับมือค่ะ // อยากย้อนกลับไปเรียนหลายๆภาษาเหมือนกันเลยยย 5555 ตามที่เราสังเกตเด็กที่รับภาษาเยอะๆมาหลายคน คิดว่าอาจจะมีพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าเด็กที่รับภาษาเดียวไปบ้างค่ะ เช่น เริ่มพูดช้า ตอบสนองต่อคำพูดช้า แต่ถ้าเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นจนชินแล้ว เขาจะปรับตัวและเปลี่ยนภาษาในสมองได้รวดเร็วมากค่ะ ไว้เราจะมาเขียนถึงเรื่องนี้เพิ่มเติมนะคะ (แก้ไข : เป็นอายุเด็กตั้งแต่เกิดถึงวัย 12 ปีนะคะ ) ขอบคุณมากเลยค่า╰(*´︶`*)╯♡
k.l.k (@k.l.k)
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมดีมาก อีกหน่อยเราจะรู้จัก Krashen ในชั้นเรียนนะคะ
kumagumi (@kumagumi)
อ่านแล้วก็แอบเสียดายเหมือนกันค่ะที่ไม่ได้เริ่มเรียนภาษาตั้งแต่เนิ่น ๆ TT แต่ก็คิดว่าเรายิ่งต้องฮึดกว่านี้สินะถ้าอยากเก่งขึ้น5555 ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะคะ รออ่านตอนต่อไปค่า
somusomu (@somusomu)
รอติดตามต่อค่าาา เขียนได้น่าสนใจและสนุกมาก ไม่น่าเบื่อเลยยย ❤️
Naomi (@fb1561813140636)
รอติดตามตอนต่อไปเลยค่าาา ☺️?
เห็นด้วยเลยค่ะที่ว่าตัวแปรของการเรียนภาษาให้เก่งเนี่ยมันเยอะมากจริง ๆ จะว่าไปต่อให้เริ่มเรียนภาษาต่างประเทศตั้งแต่เด็ก ๆ แบบเริ่มตั้งแต่อายุยังไม่เกิน 12 ปี แต่ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้ได้ใช้งานทุกวัน ก็ไม่น่าจะเข้าใกล้ความเป็น native ได้เหมือนกันเนาะ5555555
dearimese (@dearimese)
น่าเสียดายมากค่ะ กว่าจะเริ่มภาษาที่3ก็ปาไป15ขวบแล้วTT
เขียนสนุกมากค่ะ รอติดตามตอนต่อไปนะค้า??