เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
  • รีวิวเว้ย (1632) "เศรษฐกิจไทยไม่เคยอยู่โดดเดียวจากความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ (การเมือง) โลก" เคยอ่านเจอข้อความนี้ที่ไหนสักแห่ง ซึ่งยากที่จะปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจของไทยต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญสำหรับการหารายได้เข้าประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นยิ่งทิศทางลมของระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลกเปลี่ยนทิศ ระบบเศรษฐกิจของไทยย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงของแกนมหาอำนาจโลกภายหลังช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งสงครามโลก สงครามเย็น สงครามการค้า และอีกหลายเหตุการณ์ ต่างส่งผลต่อการกำหนดทิศทางและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของไทยแทบทั้งสิ้น
    หนังสือ : เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (?)
    โดย : โกวิทย์ ชาญวิทยาพงศ์
    จำนวน : 271 หน้า
    .
    "เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (?)" ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ในส่วนของบทต้นของหนังสือว่า "เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (?)" เป็นหนังสือที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ สำหรับผู้เรียนในชั้นเรียนและผู้สนใจในประเด็นดังกล่าว
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (?)" แบ่งออกเป็น 3 ภาค อันได้แก่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ที่จะฉายให้เห็นพัฒยาการและความท้าทายของความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของไทย โดยบอกเล่าผ่านรูปแบบของการนำเสนอให้เห็นถึงมุมมองความเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการเศรษฐกิจผ่านตัวแสดงมหาอำนาจและความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในบริบทของความท้าทาย ที่สร้างเครื่องหมายคำถามว่าไทยจะกำหนดบทบาทของตัวเองอย่างไรภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของ "ระเบียบการเงินโลก" ในส่วนของเนื้อหาแบ่งออกเป็น 12 บท ที่ในส่วนท้ายของแต่ละบทจะมี "คำถามท้ายบท" เพื่อชักชวนและท้าทายให้ผู้อ่านได้ลองตั้งคำถามกับเนื้อหาในแต่ละบทที่แบ่งไว้ดังนี้
    .
    บทที่ 1 สังคมและเศรษฐกิจประเทศไทย
    .
    [ช่วงที่ 1 เกิดขึ้น]
    .
    บทที่ 2 US ประสบการณ์จากปัญหาการเงิน การสถาปนาโครงสร้างแห่งอำนาจ สู่การเป็นผู้เขียนระเบียบด้านการเงินของโลก
    .
    บทที่ 3 วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression)
    .
    บทที่ 4 US สร้างความแข่งแกร่งให้ดอลลาร์ด้วยสนธิสัญญา ข้อตกลง
    .
    บทที่ 5 วิกฤติเศรษฐกิจละตินอเมริกา (Latin Crisis)
    .
    บทที่ 6 วิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย (Asian Crisis)
    .
    [ช่วงที่ 2 ตั้งอยู่]
    .
    บทที่ 7 การปรับกติกา กฎหมายภายใน ข้อตกลงระหว่างประเทศและวัฏจักรเศรษฐกิจ เพื่อขยายและรักษาอำนา
    .
    บทที่ 8 วิกฤติ Subprime (Subprime Crisis)
    .
    บทที่ 9 การเกิดขึ้นและการตั้งอยู่ของผู้มีอิทธิพลต่อโลก
    .
    [ช่วงที่ 3 ดับไป]
    .
    บทที่ 10 สภาวะทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาหลัง 2008 
    .
    บทที่ 11 US ปัญหาเรื่องอำนาจเสื่อม การแก้ไขก่อปัญหาใหม่
    .
    บทที่ 12 ระเบียบการเงินโลกจะอยู่หรือจะไป
    .
    "เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (?)" ช่วยให้เราเห็นถึงพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในเรื่องของระเบียบการเงินโลกที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และจะยิ่งทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในอนาคต ในส่วนของเนื้อหาบางส่วนของ "เศรษฐกิจไทยภายใต้ระเบียบการเงินโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (?)" อาจจะสร้างคำถามให้กับผู้อ่านต่อกรณีของการอธิบายบริบททางประวัติศาสตร์ในบางประเด็น ที่เมื่ออ่านแล้วอาจจะรู้สึกว่าทำไมเหตุการณ์บางอย่างในเนื้อหาดูเหมือนจะตัดขาดตัวเองจากบริบทที่จะนำพามาสู่เหตุการณ์ เราอาจอนุมานได้ว่าด้วยความที่หนังสือเขียนขึ้นในฐานะของเอกสารประกอบการสอนมาก่อน ทำให้ความยาวของหนังสือถูกจำกัดเพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาในฐานะของหนังสือที่จะบอกเล่าบริบททางประวัติศาสตร์ได้อย่างครอบคลุมแต่ต้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in