เราเป็นคนหนึ่งที่หลงรักการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะการอ่าน "นวนิยาย" แนวประโลมโลก
สมัยมอปลาย... นวนิยายดังๆของนักเขียนดังๆอย่าง
แก้วเก้า (ว.วินิจฉัยกุล) ทมยันตี
โสภาค สุวรรณ กิ่งฉัตร
ปิยะพร ศักดิ์เกษม ดวงตะวัน (เด็กสมัยนี้รู้จักม้ายยยยย) เราว่าเรากวาดทั้งห้องสมุดมาอ่านแล้ว บางเรื่องอ่านจนลืมไปว่าตัวเองเคยอ่านแล้ว
พอเรียนมหาลัย คงเพราะความชอบพวกวรรณกรรมอะไรแบบนี้ ก็เลยมาเรียนอะไรที่เกี่ยวกับวรรณกรรมโดยตรง (555) แต่พอมาเรียนอะไรพวกนี้มันทำให้เราอ่านนิยายไม่สนุกเท่าที่ควรจะเป็นนะ อ่านแล้วก็คิดโน่นนั่นนี่ ทฤษฎี บลาๆๆๆ
ยิ่งเรียนสูงขึ้นๆ ก็ยิ่งอ่านหนังสือสนุกน้อยลง บางครั้งอยากจะเลิกเรียนกลับไปอ่านหนังสือแบบโง่ๆเหมือนเดิมเราว่ารสนิยมในการอ่านหนังสือเปลี่ยนไปตามอายุนะ (คุณคะ ตอนนี้เราอ่านหนังสือธรรมะและ ฮาวทูการใช้ชีวิตเยอะมาก)
พอแก่ขึ้น เรียนมหาลัยเราชอบอ่านเรื่องสั้นแนวการเมือง อ่านวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต แนวสังคม พวกนิยายประโลมรักก็ยังอ่านได้แต่ไม่ได้อินเหมือนสมัยเป็นเด็ก ยกเว้นบางเรื่องที่ชอบมากจริงๆ อย่าง
"ของขวัญวันวาน" ของ
ว.วินิจฉัยกุล รักมากกกก อ่านซ้ำๆ
ชอบคาแรกเตอร์ของพระเอกมากกกกกประเภทเย็นชา ปากจัด เหมือนไม่แคร์ใคร แต่จริงๆโดดเดี่ยวเดียวดาย ต้องการความรัก พระเอกแบบนี้อย่าให้เจอนะคะ รักเลย ^^ ถ้ามีโอกาสเจออาจารย์ ว.วินิจฉัยกุล อยากจะเข้าไปกราบแล้วบอกว่าหนูรักงานอาจารย์มากค่ะ งานของอาจารย์เป็นแรงดลใจให้หนูหลายเรื่องเลย(กราบบบบบ)
พอโลกมันเปลี่ยน แนววรรณกรรมมันก็เปลี่ยนแล้ว เชลฟ์ที่เคยวางวรรณกรรมพวกรางวัลซีไรต์ถูกกวาดทิ้งอย่างไม่ไยดี คือ
ไม่มีคนอ่านแล้ว วรรณกรรมเยาวชนถูกแทนที่ด้วยนิยายวาย/นิยายออนไลน์ (คนรุ่นเก่าบางคน เรียกว่า วรรณกรรมขยะเลยเหอะ) ถามว่ารู้สึกไง
จริงๆใจหายนะ เด็กๆสมัยนี้ไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมชั้นครู วรรณกรรมที่ภาษาดีๆกันอีกแล้ว อย่าง
"ท่อนแขนนางรำ" ของ มนัส จรรยงค์ ไปถามเด็กๆ คงส่ายหัวไม่รู้จักกันเป็นแถว
ในความใจหายเราก็มีความเข้าใจวรรณกรรมออนไลน์สมัยนี้นะ เว็บเด็กดีนี่ก็เคยไปเขียน (เขียนไม่จบแล้วก็ทิ้งไป ฮ่าาา) จริงๆเราไม่ค่อยได้เขียนงานในแนวฟิคชั่นเท่าไหร่ สมัยวัยรุ่นเขียนพวกแหววๆไม่ได้เลย เคยเขียนเรื่องสั้นแนวเสียดสีสังคมแล้วได้รับคำชมจากพี่นักเขียนคนหนึ่งด้วยล่ะ ^^ (แต่เราก็ทิ้งความฝันที่จะเขียนหนังสือทิ้งไป เพราะจริงๆการเขียนเป็นทักษะที่ยากที่สุด ต้องมีความมานะอดทนมาก กว่าจะกรองความคิดให้เป็นตัวหนังสือ -
เราหมายถึง งานเขียนดีๆนะ เอาจริงถนัดงานรีไรต์มากกว่า )
เอาล่ะ ยุคสมัยเปลี่ยนไป ตอนนี้เค้ามีนิยายแชตจอยลดาแล้วนะเธอ 555 โลกมันเปลี่ยนไปขนาดนั้น
แต่ที่ไม่เปลี่ยนไปคืออะไรรู้ไหม
"การที่เราหลงรักใครซักคนผ่านตัวหนังสือไงล่ะ"
เวลาเราชอบสไตล์การเขียนของใคร ใครเขียนงานที่โดนใจเรา เราซึมซับตัวตนของนักเขียนผ่านงาน มันกลายมาเป็นความรักทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเราเคยชอบงานของนักเขียนคนหนึ่ง ชอบมากกก เข้าทำนองเป็นแฟนคลับแหละ แต่ก็ไม่ได้แสดงตัวอะไร สมัยก่อนช่องทางการสื่อสารมันไม่ง่ายขนาดนี้ นักเขียนที่เราชอบคนนั้นก็ไม่ได้เขียนออนไลน์ด้วย การจะบอกว่าชอบงานเค้า (จริงๆคือชอบตัวตนของเค้าส่วนหนึ่ง) พอมีโอกาสเจอตัว เราก็จะเข้าไปบอกเลย ชอบงานพี่มากนะคะ ชอบมาก ตามอ่านตลอด คือได้แค่นี้ก็พอ
แต่ล่าสุดมีนักเขียนคนหนึ่งที่เราชอบงานเค้ามาก เคยเอามาวิเคราะห์ส่งอาจารย์ก็ตั้งหลายเรื่อง เคยเอาไปเล่าและสอนให้คนอื่นฟังก็เยอะ คือชื่นชมผลงานมาก หลงรักงานเค้ามากจริงๆ แต่เร็วๆนี้เราได้เห็นพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตจริง (ที่รับไม่ได้เลย) ยอมรับว่าเสียความรู้สึกมาก เสียใจ TT ทำใจนานหลายเดือนนะ กว่าจะกลับมาอ่านงานเค้าได้อีก คือ
บางทีความชอบมันก็มากับการคาดหวังตัวตนจริงๆของคนคนนั้นนะ เวลาไม่เป็นไปอย่างที่หวัง (ใครให้แกหวัง) ก็อดเสียใจ เสียความรู้สึกไม่ได้มันมี 2 ทฤษฎีแบบกว้างๆที่เคยเรียนมา (ถ้าผิดอย่าว่านะ เรียนมานานแล้ว) คือ อย่างแรก เวลานักเขียนเขียนงาน งานของเค้ามันแยกกับ ตัวตนจริงไม่ออกหรอก งานเขียนก็มีความสัมพันธ์ สะท้อนตัวตนของนักเขียน แต่อีกทฤษฎีหนึ่งบอกว่าให้ลองอ่านแบบคิดดูว่า นักเขียนตายไปแล้ว The Death of the Author คือ อย่าไปโยงชีวิตจริงนักเขียนกับงานเขียน อ่านเฉพาะตัวบท ให้ดูงานเขียนเป็นสำคัญ
บางทีชีวิตคนอ่านเลือกยากเหมือนกันนะว่าจะใช้ทฤษฎีไหน เอาเป็นว่าแล้วแต่สถานการณ์แล้วกัน
เราหลงรักเค้าผ่านตัวหนังสือได้ แต่นั่นล่ะ
นั่่นคืองานเค้า เป็นตัวตนแค่ส่วนหนึ่งของเค้า ไม่ใช่ตัวตนทั้งหมด อย่าคาดหวัง
คิดง่ายๆว่า แค่เราได้หัวใจฟูเพราะตัวหนังสือของใครบางคน - มันก็วิเศษๆมากแล้วนะ
ป.ล. ในจอยลดา เราเจอคนที่เราหลงรักตัวหนังสือของเค้าแล้วนะคะ หลงรักมากจริงๆ :) ถ้ามีโอกาสเจอตัวจริง อยากจะเข้าไปกอดเลยล่ะ (แต่คงไม่ทำจริงหรอก 5555)
55555