หลังจากที่ไปใช้ กระบวนการค้นหาตัวเอง
เราก็พบว่า " เราอยากเรียนใหม่ "
.
"เรียนใหม่ ทำไมไม่เรียนโทหละ"
"เรียนใหม่ทำไม เสียเวลาชีวิต"
"เรียนใหม่ คืออะไร"
ฯลฯ
ได้โปรดหยุดพูดประโยคเหล่านี้กับเรา
.
เบื่อจะฟังแล้ว!
.
เราเริ่มต้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ามหาวิทยาลัยในระดับ Undergraduate ของสหรัฐอเมริกา
ในความหมายก็ คือ เรายอมทิ้งปริญญาตรี (BA) ที่เรามีอยู่ และต้องเรียนให้ได้วุฒิ High School ใหม่
ถ้าหาก มีคำถามว่าทำไมต้องเป็นที่อเมริกา
" เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่มีวิชาที่เราอยากเรียน "
.
ตรงนี้เป็น Process สำหรับคนที่สนใจจะ Admission เข้ามหาวิทยาลัยใน USA
ทั้งนี้เราจะเล่า และเปรียบเทียบระหว่างการเข้ามหาวิทยาลัยในทั้งสองประเทศไปด้วย
ประเทศไทยใช้ระบบ Admission แบบคิดคะแนนรวมทั้งหมด และหลายคนก็คงเคยผ่านมา
(ส่วนเรา เป็นส่วนน้อยที่ใช้วิธีสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย เราไม่เข้าใจขั้นตอน Admission นัก)
ส่วนที่อเมริกาใช้วิธีการ Consideration โดยดูจากข้อมูล ประวัติ ผลการวัดระดับต่างๆ และ Essay
เคยอ่านเจอว่าทางมหาวิทยาลัย จะดูผู้สมัครแบบ T-model ก็คือ รอบรู้ และ รู้ลึกในเรื่องที่ตนเองสนใจ
.
แล้วผลการวัดระดับต่างๆ มีอะไรบ้าง
สำหรับเราที่เป็น International Student (แถมด้วย BA อีก 1 ใบ ที่สุดท้ายไม่ได้ใช้)
อย่างที่บอกแต่แรก เราต้องเรียน High School ใหม่ แล้วจะทำยังไงล่ะ? อายุก็ไม่ใช่น้อยแล้วนะ
เงื่อนไขของเข้ามหาวิทยาลัยที่อเมริกา จะมีข้อความที่ว่า High School Equivalency Diploma
ตรงนี้เป็นข้อสงสัยของเรา ว่า ในประเทศไทยมีการ Welcome นักเรียนกศน. มากน้อยแค่ไหน?
แต่สำหรับที่อเมริกาแล้ว เกือบ 90% ของมหาวิทยาลัย ไม่มีปัญหาในการรับนักศึกษานอกโรงเรียน
HSED (High School Equivalency Dipolma) นี่เขามีหลายประเภทนะ ส่วนของเรา คือ GED
General Educational Development หรือ เรียกย่อๆว่า GED (จี-อี-ดี) ความสะดวกของมัน
สามารถสอบในประเทศไทยได้ เมื่อสอบจบมาเราจะได้วุฒิเทียบเท่า High School ของอเมริกา
.
เมื่อสอบ GED แล้วต่อไปก็ต้องสอบ SAT/ACT (แล้วแต่จะเลือก) ต่อ
หนทางยังอีกยาวไกลแหนะ!
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in