คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่ม 8 ตอน อย่าออกมาเดินตอนกลางคืน YORU ARUKU
ผู้เขียน โยโคมิโซะ เซชิ
ผู้แปล ชมนาด ศีติสาร
สำนักพิมพ์ JBOOK
ราคา 190 บาท (ปัจจุบันร้านขายหนังสือมือสองหลายๆร้าน ก็ปั่นราคาจนเกินราคาปกแล้วจ้าาา)
จากปกหลัง
ข้ามาถึงโตเกียวแล้วอีกไม่นานก็จะพบเจ้า ... เจ้าจงอย่าออกมาเดินตอนกลางคืน จดหมายประหลาดถูกส่งมาถึงยาชิโยะ ลูกสาวคนเดียวแห่งตระกูลฟุรุงามิผู้มั่งคั่งพร้อมกับรูปถ่ายไร้หัวของชายลึกลับ หญิงสาวหวาดผวากับจดหมายพิสดาร หวั่นใจว่าชายใดรอบกายเธอจะเป็นคนผู้นั้น แต่ระหว่างนั้นเองฆาตรกรรมแสนสยดสยองได้เปิดฉากขึ้น ฆาตรกรหั่นคอศพ...ศพแล้วศพเล่า
** เรื่องย่อไม่ทำให้หนังสือน่าอ่านเลยเด้อ ทั้งๆที่ในเล่มสนุกมาก และเหมือนจะไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับเนื้อเรื่องเลย เผื่อใครอ่านเรื่องย่อแล้วคิดว่ามันไม่น่าจะสนุก**
เป็นคินดะอิจิตอนขนาดยาวตอนแรกที่ได้อ่านในรอบ 4 ปี
ซึ่งถือว่าไม่ทำให้ผิดหวังเลย
ท้าวความ(อีกแล้ว)ก่อนว่า
เมื่อประมาณปี 2014 -2015 ตอนนั้นก็เริ่มอ่านคินดะอิจิมาเรื่อยๆ จนถึงเล่มที่ 5
แต่ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้ ตอนนี้เราก็จำไม่ได้ เลยทำให้หยุดอ่านไปพักนึง หลังจากนั้นพอจะกลับไปตามซื้อตามเก็บ ตามอ่าน มันกลับไม่มีความ "อยาก" ที่จะทำ เหมือนหมดความสนใจไปเลย
จนกระทั่งปีที่แล้ว เริ่มกลับมาสนใจตามเก็บนิยายอีกรอบ ซึ่งก็ตามเก็บเรื่องที่อยากได้จนครบ จนมันไม่เหลืออะไรให้เก็บ
เลยหันกลับมามองเรื่องที่เราได้หันหลังให้กับมัน นั่นก็คือคินดะอิจินี่แหละ
จากนั้นก็หาข้อมูล หาหนังสือเพื่อทบทวนความทรงจำ จนได้ทราบว่า คินดะอิจิฉบับแปลบ้านเรานั้น เค้าไม่ได้แปลแบบเรียงตามไทม์ไลน์
แต่เป็นการแปลแบบตอนๆ ไม่สนใจช่วงปีหรือเวลาในเนื้อเรื่องว่ามันจะเป็นช่วงที่เกิดขึ้นก่อนรึหลัง
ไอเราก็เลยเกิดความสงสัยว่า แล้วถ้ามีการเรียงลำกับตามไทม์ไลน์ มันจะเป็นยังไง
ก็เลยลองไปหาข้อมูลในเว็บของญี่ปุ่นและแปลออกมาคราวๆ จนได้รายชื่อตอนคินดะอิจิแบบที่เรียงตามช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่อง
จากนั้นเราก็ตามเก็บหนังสือ(และตอนนี้ ขาดแค่เล่ม 24 กับ 25 ของแรร์ทั้งนั้น ฮือออ เล่มละ 1,500 อะ)
พอมีข้อมูลตามที่เราต้องการ เราก็เริ่มอ่านเรียงตามไทม์ไลน์มาเรื่อยๆ
เรียงตอนละลำดับเล่มที่แปลไทยตามนี้
Showa 12 (1937)
On November 27 - 29
01. ในห้องที่ปิดตาย (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 9)
Showa 21 (1946)
Early September
02. บ่อพยาบาท (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 9)
03. ใต้ต้นยี่เข่ง (Talent 1 คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 31)
Late September - early October
04. คดีฆาตกรรมบนเกาะโกะกุมน (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 5) [เคยอ่านเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เลยข้าม]
Mid November
05. เจ้าหญิงชุดดำ (Talent 1 คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 31)
06. นายค้างคาวกับคุณนายทาก (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 16)
Showa 22 (1947)
March 26, 28 - 30
07. แมวในความมืด (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 15)
08. คดีร้านแมวดำ (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 9)
Mid April - 26th
09. ปีศาจฆาตกร (Talent 1 คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 31)
September 28 - October 11
10. บทเพลงปีศาจ (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 3) [เคยอานเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เลยข้าม]
Showa era 23 (1948)
May 5th - 9th
11. อย่าออกมาเดินตอนกลางคืน (Bliss คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่มที่ 8)
ซึ่งเล่ม 5 และเล่ม 3 เราเคยอ่านแล้วเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก็เลยข้ามไป ส่วนตอนที่เหลือจะเป็นตอนคดีสั้นๆ จนมาถึงคดีลำดับที่ 11
นั่นก็คือตอน อย่าออกมาเดินตอนกลางคืน เลยเป็นที่มาที่ว่า นี่เป็นตอนขนาดยาวตอนแรกในรอบ 4 ปี
ทุกๆอย่างในเล่มนี้เราชอบหมดเลย และจุดพลิกของเรื่องก็ทำได้น่าประทับใจ ซึ่งบอกตามตรงว่าเดาไปถึงจุดนั้นไม่ได้เลย
แต่ถ้าใครเคยอ่านนิยายฝรั่งเรื่องนึงก็อาจจะคุ้นๆบ้างก็ได้
เรายังไม่เคยอ่านเรื่องนั้นหรอก แต่เราเผลอไปอ่านรีวิวคินดะอิจิตอนนี้ของบล็อกเกอร์คนนึง
แล้วเค้าดันบอกว่า คินดะอิจิตอนนี้้หมือนได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายสืบสวนฝรั่งเรื่องนั้น
กลายเป็นว่าเราโดนสปอยล์นิยายเรื่องนั้นไปเฉยเลย เพราะซื้อมาแล้ว และคนอวยกันหนักหน่วงว่าหักมุมสุดๆ เดาฆาตกรไม่ถูก แต่ถ้ามันเป็นตามทีี่บล็อกเกอร์คนนั้นบอก ก็เอวังแล้วจ้าา รู้ตั้งแต่ยังไม่อ่านเลยว่าฆาตกรเป็นใคร 55555 (น้ำตาจิไหล)
ใบ้ให้ว่า นิยายสืบสวนฝรั่งเรื่องนั้นเป็นหนึ่งในผลงานขึ้นชื่อของนักเขียนหญิงชื่อดังจากอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม และเรื่องที่ว่าเขียนในยุคสงครามโลก
ใจจริงก็ภาวนาให้มันแค่คล้ายๆกัน เคยอ่านรีวิวนิยายสืบสวนฝรั่งเรื่องนั้น ก็เคยมีคนบอกว่าการเล่าเรื่องมันต่างจากปกติ เหมือนคินดะอิจิเด๊ะเลย ฮืออออ (ควรรู้สึกยังไงดีอะ 55555 อ่านเรื่องนึงก็ดันไปสปอยล์อีกเรืองนึงที่ยังไม่ได้อ่าน)
จากการที่เราได้อ่านเล่มนี้
ทำให้เราเข้าใจแล้วว่าทำไมคนอ่านคินดะอิจิส่วนมากถึงชอบตอนที่เป็นเรื่องยาวมากกว่าเรื่องสั้น
นั่นเพราะมันมีพื้้นที่ให้เล่น และ หลอกคนอ่านนั่นเอง 55555
พวกตอนสั้นๆก่อนหน้านี้ พวก "บ่อพยาบาท" " ใต้ต้นยี่เข่ง" "เจ้าหญิงชุดดำ" ก็ต้องบอกเลยว่าอ่านจบแล้วก็จบเลย ไม่ได้มีอะไรให้จดจำ
จุดที่ใครหลายๆคนติในเรื่องนี้ก็คือ ความบังเอิญหลายๆอย่างๆ แต่สำหรับตัวเรากลับมองว่ามันคือความตั้งใจของคนเขียน
ที่ต้องการให้มันดูไม่เป็นธรรมชาติ แสดงถึงความบิดเบี้ยว และความฟอนเฟะของสังคมยุคนั้นอะ
คือมันไม่ปกติตั้งแต่ที่มีตัวละครหลังค่อม 2 คนที่หน้ารูปร่างหน้าตาคล้ายกัน หรือมีตัวลครที่เป็นโรคนอนละเมอ เดินไปเดินมาตอนกลางคืน คือมันมีหลายๆสิ่งที่ไม่น่าจะมารวมกันได้ขนาดนี้ แต่มันก็มาอยู่ในเรื่องนี้เรื่องเดียว คิดว่าคนอ่านควรจะเอะใจตั้งแต่ได้อ่านแล้ว
และอีกหนึ่งอย่างที่หลายๆคนติคือ แรงจูงใจของตัวฆาตกรที่ดูเยอะ ดูเวิ่นเว้อ
ส่วนตัวเรามองว่ามันสมเหตุสมผลนะ เพราะตัวฆาตกรเค้าก็.... อ๊ะ! บอกไม่ได้ 55555
แต่มันไม่ได้ขัดอะไรกับสิ่งที่คนเขียนพยายามปูมาอะ ถ้ากลับไปอ่านดูดีๆจะรู้ว่าสิ่งที่คนติหลายๆอย่างมันคือความตั้งใจของคนเขียนทั้งนั้น
ส่วนที่ชอบอีกหนึ่งอย่างคือ
บทก่อนที่จะถึงบทสรุป ในหน้าสุดท้ายของบทนั้นที่ตัวละครตัวนั้นกำลังไตร่ตรองและบอกเราว่าเค้ารู้ตัวคนร้ายแล้วว่าเป็นใคร ซึ่งในหน้านี้ก็ทำเอาเราอึ้งแล้ว แต่บทถัดไป มันกลับพลิกไปอีกแบบนึง ทำเอาเราต้องอุทานคำหยาบหลายครั้งเลย555 ถือว่าคนเขียนฉลาดมาก
ยกให้เป็นอีก 1 ตอนที่เราชอบมากๆ
มี 10 ก็ให้ 10
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in