ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากวิกฤติโควิด-19 หรือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้คนตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องของการทำประกันสุขภาพ แต่นอกจากประกันคุ้มครองโควิดแล้ว หลายๆ คนคงยังสงสัยว่า ประกันสุขภาพคืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท แต่ละแบบดีอย่างไร และมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วต้องทำเพิ่มจากประกันโควิดหรือไม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เราควรรู้ไว้เพื่อที่จะเลือกซื้อประกันสุขภาพได้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด
ประกันสุขภาพ คืออะไร
คือการประกันภัยที่ทางบริษัทประกันตกลงจะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัยก็ตาม โดยจะมีความคุ้มครองดังต่อไปนี้
- การรักษาตัวในโรงพยาบาล
- ค่าใช้จ่ายจากการผ่าตัด
- ค่าใช้จ่ายจากการประสบอุบัติเหตุ
- ค่าใช้จ่ายจากการรักษาที่คลินิก หรือ OPD ของโรงพยาบาล
- ค่าใช้จ่ายในการทำฟัน
- ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
- การชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการโดยพยาบาลพิเศษ
ประเภทของประกันสุขภาพมีอะไรบ้าง
- ประกันผู้ป่วยนอก OPD
ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันได้รับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล พบแพทย์ วินิจฉัย จ่ายยา(ถ้ามี) แล้วก็กลับบ้านได้เลย หรือกรณีที่เรามีอาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เช่น การฉีดวัคซีน เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย เป็นต้น
- ประกันผู้ป่วยใน IPD
เช่น นอนโรงพยาบาลเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดหรือนอนพักฟื้นหลังจากผ่าตัด ฯลฯ และยังรวมถึงการที่ทางโรงพยาบาลรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแล้วแต่เสียชีวิตก่อนจะครบ 6 ชั่วโมงด้วย
การคุ้มครองจาการทำประกันสุขภาพประเภท IPD นี้ ก็มีตั้งแต่ ค่าเอ็กซเรย์ ค่าตรวจทางชีวเคมี ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงพยาบาล ค่าบริการใช้ห้องผ่าตัด ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษ ค่าสินไหมทดแทนในการรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นต้น - ประกันโรคร้ายแรง
เนื่องจากบางโรคนั้นเป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาเป็นระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ซึ่งบางครั้งประกันสุขภาพที่มีอยู่จะให้ความคุ้มครองได้ไม่เพียงพอ จึงมี ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและต้องรักษาต่อเนื่องโดยเฉพาะ เช่น ประกันมะเร็ง เป็นต้น - ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาตัวของเรา ถ้าหากร้ายแรงถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้
- ประกันชดเชยรายได้
คือ ความคุ้มครองเกี่ยวกับรายได้ของผู้เอาประกันระหว่างนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนเป็นรายวันให้ ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็เพื่อเป็นการชดเชยรายได้เมื่อเราไม่สามารถทำงานได้จากการพักรักษาตัวนั่นเอง รายละเอียดก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรมธรรม์ เช่น ชดเชยวันละ 300 บาท 500 บาท หรือวันละ 1,000 บาท เป็นต้น
ประกันเหมาจ่ายล่ะ คืออะไร?
ด้วยความที่ประกันสุขภาพมีความคุ้มครองหลากหลายรูปแบบ บริษัทประกันเลยออกแผนประกันสุขภาพแบบที่คุ้มครองทุกอย่าง ครบจบในที่เดียว ซึ่งประกันสุขภาพเหมาจ่ายนั้นก็คือ ประกันสุขภาพที่ไม่กำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลในแต่ละหมวดหมู่ แต่จะจ่ายให้ตามจริงโดยไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันสูงสุด โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ค่ารักษาพยาบาลที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยจะกำหนดวงเงินค่ารักษาแบบเหมาจ่ายรวมกันต่อปี แถมยังเบิกจ่ายได้แทบทุกกรณีที่กล่าวมาขั้นต้น แต่ค่าเบี้ยประกันก็สูงกว่าแบบประกันสุขภาพทั่วไปอีกด้วย
สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพหรืออยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสุขภาพประเภทต่างๆ ก็สามารถเข้ามาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของโกแบร์ด้านล่างนี้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in