พอดีวันนี้ (18 พฤษภาคม 2564) หลายสำนักข่าวได้มีการรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับนโนบาย ในการจัดการมาตรการเยียวยาจากภาวะโควิด-19 โดยมีพาดหัวข่าวมาประมาณนี้
ข่าวสด
ประชาชาติธุรกิจ
infoquest
ใจความส่วนใหญ่ มีไม่ค่อยให้อ่านมาก เป็นข้อสรุปเชิงสถิติแบบกว้าง ๆ ว่า สำรวจประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ จำนวน 9,000 คน ระหว่างวันที่ 8 - 15 มีนาคม 2564 และประชาชนร้อยละ 99.7 รับทราบถึงมาตรการช่วยเหลือ และพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 81.2
เนื้อข่าวเต็ม ๆ อ่านจากในลิ้งก์ข่าวด้านบนได้เลยค่ะ*
--------------------------------------
ใครเป็นยังไงเราไม่รู้นะ แต่เราเป็นคนนึง
ที่เวลาเจอการรายงานสถิติอะไรแบบนี้แล้วมีคำถามแบบว่า
- ไปสำรวจใครมาวะ?
- ไปสำรวจที่ไหนมาวะ?
- ทำไมกูไม่เคยโดนสำรวจบ้างวะ?
- ทำไมคนรอบข้างกูไม่เคยโดนสำรวจบ้างวะ?
- ใครมันตอบแบบนั้นวะ?
- เค้าตอบแบบนั้นกันจริง ๆ รึเปล่าวะ?
โอเค รอบนี้เราก็สงสัยตามนี้อีกแล้ว ก็เลยลองเอาชื่อ Keyword ของรายงานสถิตินี้ไปค้นหาดู ก็ได้แค่ใกล้เคียงอยู่ แต่เราไม่มั่นใจว่าใช่ไหม เนื่องจากได้เจอแค่ประกาศประชาสัมพันธ์โครงการสำรวจความคิดเห็น แต่ไม่มีตัวรายงานทั้งฉบับประกอบ
ที่มา : สำนักงานสถิติ จังหวัดยะลา
ก็ยังไม่หมดหวังนะ เราก็พยายามหาต่อ เผื่อจะเจออยู่ในหน้าอื่น ๆ ซ่อนไว้ตามสไตล์งานราชการที่คงอยู่ที่ไหนสักที่ เราก็เลยไปหาที่เว็บสำนักงานสถิติแห่งชาติ Website หลัก แต่แล้วเราก็เจอกับกำแพงที่เราก้าวผ่านไปไม่ไหวจริง ๆ จนต้องยอมแพ้ เมื่อจมอยู่กับหน้าเว็บสไตล์ราชการไทยแท้แต่โบราณ ๒.๐ แต่ละแถวมีข้อมูลย่อย ๆ ให้เลือก ตรงกลางมีรูป พร้อม Banner ประกอบ และแถบวิ่ง เราแทบจะร้องไห้แล้วค่ะ อยู่ตรงนี้มาพักนึง จิ้มแล้วไปโผล่ที่ไหนไม่รู้ จิ้มไปจิ้มมาจนหลงทาง กลับมาไม่ได้ก็มีค่ะ 555
ภาพตัวอย่าง :
สรุป
เราหารายงานสำรวจในหัวข้อ ความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับนโนบาย ในการจัดการมาตรการเยียวยาจากภาวะโควิด-19 ไม่เจอจริง ๆ
แต่...ไม่เป็นไร เราเจอหัวข้อรายงานสำรวจที่ "น่าสนใจกว่า"
ส่วนใครขี้เกียจอ่าน เรามาอ่านสรุปแบบฉบับขำขัน ขบขัน แทะขัน ตามสไตล์เราแทนแล้วกัน
ส่วนเริ่มต้นนี่เป็นส่วนบทสรุปของผู้บริหาร เราข้ามไปเลยละกัน เดี๋ยวไม่สนุก ใครอยากรู้อ่านในต้นฉบับเอาเลย เราไม่เน้นความรู้ ข้างล่างที่จะพิมพ์ต่อก็เช่นกัน ใครจะมาหาสาระมาผิดแล้วค่ะ
เรามาเริ่มที่กลุ่มประชากร และวิธีที่ใช้ในการสำรวจกันก่อนดีกว่า
สรุปได้ตามนี้ โน้ตไว้ก่อนนะ
1. สำรวจด้วยวิธีการสัมภาษณ์
2. มีกลุ่มประชากรตัวอย่างทั้งหมด 46,600 คน
3. ผู้ชาย 48.6% ผู้หญิง 51.4%
4. กลุ่มอายุ 15 - 19 ปี 2.4%
5. กลุ่มอายุ 20 - 29 ปี 10.9%
6. กลุ่มอายุ 30 - 39 ปี 16.8%
7. กลุ่มอายุ 40 - 49 ปี 23.5%
8. กลุ่มอายุ 50 - 59 ปี 25.2%
9. กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป 21.2%
ทีนี้เรามาใช้ความคิดแบบ Bias มีอคติกันเถอะ
เอางี้เลย เอาดื้อ ๆ แบบนี้นี่แหละ เราจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามนี้นะ
กลุ่มที่ 1
1. กลุ่มอายุ 15 - 19 ปี 2.4%
2. กลุ่มอายุ 20 - 29 ปี 10.9%
3. กลุ่มอายุ 30 - 39 ปี 16.8%
กลุ่มที่ 2
1. กลุ่มอายุ 40 - 49 ปี 23.5%
2. กลุ่มอายุ 50 - 59 ปี 25.2%
3. กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป 21.2%
ทีนี้ถ้าเรามองแบบหยาบๆว่า กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยประชาชนที่อยู่ในกลุ่ม Gen X และ Gen Y คิดเป็น 27.95% ขณะที่กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยประชาชนที่อยู่ในกลุ่มค่อนไปทาง Baby-boomer คิดเป็น 69.90% ถ้าเทียบแบบหยาบ ๆ ลงไปกว่านั้น ก็คิดได้ที่สัดส่วน 30 : 70 เลยนะ นับเป็นจำนวนบุคคลก็ 13,025 : 32,573
พอลองไปดูถึงคำถามที่ใช้ในการสำรวจความคิดเห็น และความคิดเห็นที่ได้ สำหรับเราจึงเกิดความรู้สึก "ไม่แปลกใจ" และ "เข้าใจ" ในทุก ๆ คำถาม ที่เรามีข้อสงสัยข้างบนทั้งหมดแล้ว แทบไม่ต้องไปดูอะไรอีกด้วยซ้ำ รายงานนี้คงไม่ใช่รายงานฉบับแรกที่เป็นแบบนี้หรอกมั้ง??
คำถาม : ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล
ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ
คำถาม : ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล
ตัวเลขไม่เคยโกหกใคร เราเชื่อแบบนั้น ตัวเลขมันมีที่มาที่ไป คำนวณได้เสมอ
แต่อยู่ที่ว่า จะเอาตัวเลขจากไหน จากใคร จากอะไร หยิบมาใช้ มันก็ออกมาตามนั้นแหละ แม้ว่าสำหรับคนบางคน คนบางกลุ่มจะรู้สึก ขัดแย้ง เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับสถิติแค่ไหนก็ตาม แต่นี่ก็เป็นเพียงภาพรวมเท่านั้นอยู่ดี ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความจริงในสังคมขึ้นมาได้ ก็หวังว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้นทั้งในด้านตัวเลขและความเป็นจริงนะ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าประชาชนต้องการอะไรบ้าง อยู่ที่จะทำหรือไม่ทำนั่นแหละนะ
- หลายคนบอกเราว่า ยังมีความหวัง แต่เราว่า เรายังไม่ค่อยเห็นสิ่งนั้นเท่าไหร่ -
อย่างไรก็ตามบทความนี้เป็นเพียงเรื่องไร้สาระ ละเมอเพ้อพก ใช้ Bias ไร้เหตุผล และจิตนาการสูงประกอบบทความ
ห้ามนำไปอ้างอิงความรู้ใดๆ แต่เอาไว้แซะใครก็ไม่น่าเกลียด(มั้ง??)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in