“การจะทำอะไรที่ชอบต่อไปน่ะ
มันไม่ได้มีแค่ 'ความสนุก' หรอกนะ
แล้วจะทำได้จริงๆ หรือ
ข้อความนี้คือส่วนหนึ่งของเนื้อเพลง ‘Gunjou’ ของวง ‘YOASOBI‘ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘Blue Period’ ผลงานการ์ตูนญี่ปุ่นที่เล่าเรื่องราวการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะของเหล่าวัยรุ่นผู้มีความหลงใหลในการสร้างงานศิลปะ
*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของมังงะ*
เนื้อเพลงข้างต้นนั้นคือหนึ่งในสารที่มังงะเรื่องนี้ต้องการจะสื่อกับผู้อ่าน นี่คืออีกหนึ่งจุดเด่นที่ทำให้ Blue Period ผลงานจากปลายปากกาของ ‘ยามากุจิ ซึบาสะ’ คว้ารางวัลชนะเลิศจากเวที Manga Taisho Awards ครั้งที่ 13 และ รางวัล BestGeneral Manga จากเวที Kodansha Manga Awards ครั้งที่ 44 นอกเหนือจากการตีแผ่และถ่ายทอดชีวิตของคนในวงการศิลปะแล้ว ยังเจาะลึกถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นระหว่างที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ไล่ตามในสิ่งที่รัก และใช้ชีวิตตามความหลงใหลอีกด้วย
Blue Period
ชีวิตที่ได้มีสิ่งที่ชอบหรือได้หลงใหลและไล่ตามบางสิ่ง ฟังดูแล้วคงเป็นชีวิตที่ดีไม่น้อย เป็นชีวิตที่ดูแล้วคงจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอด แต่หนึ่งในสารที่ Blue Period ต้องการจะบอกกับเราคือ ‘การทำในสิ่งที่ชอบไม่ได้มีแต่ความสุขเสมอไป’ ซึ่งถ่ายทอดออกมาผ่านความเจ็บปวดที่ตัวละครแต่ละคนต้องพบเจอจนทำให้รู้สึกสงสัยว่า ‘การได้ทำในสิ่งที่ชอบอย่างจริงจังนี่…มันดีจริง ๆ หรือ?’ โดยมังงะเรื่องนี้นั้นได้ถ่ายทอดมุมที่เจ็บปวดของตัวละครออกมาได้อย่างละเอียดอ่อนและยังค่อนข้างให้ความสำคัญทีเดียวซึ่งมีความแตกต่างจากเรื่องอื่น ๆ ในแนวเดียวกันพอสมควรที่มักจะเน้นถ่ายทอดมุมที่สร้างแรงบันดาลใจมากกว่าแต่เพราะสิ่งนี้เองที่ทำให้ Blue Period นั้นพิเศษและสร้างแรงบันดาลใจได้ในแบบของตัวเอง
หลังจากที่ยาโทระได้ค้นพบว่าตัวเองชอบอะไรแล้ว แทนที่จะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขหรือเต็มไปด้วยความตื่นเต้น แต่สิ่งที่เขาพบเจอเป็นลำดับถัดไปคือความจริงอันเจ็บปวดที่จะเข้ามาทดสอบเขาอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเขาได้เข้าคอร์สเรียนเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะ ที่นั่นเขาได้พบว่าตัวเองนั้นอยู่ห่างจากเป้าหมายมากขนาดไหนจากการที่ได้พบกับเหล่าเพื่อนร่วมรุ่นที่มีความสามารถมากมายและมีเป้าหมายเดียวกันที่เริ่มเดินบนเส้นทางนี้มาก่อนหน้าเขาและความจริงที่ว่าพวกคนเหล่านั้นก็ยังเรียกได้ว่าอยู่ห่างจากเป้าหมายเช่นกัน แล้วเขาที่มีความสามารถน้อยกว่าและเริ่มต้นช้ากว่าล่ะ
ไม่ใช่แค่เรื่องของการไล่ตามเป้าหมายเท่านั้นแต่ในเรื่องของการ ‘เป็นในสิ่งที่ชอบ’ ก็มีมุมที่เจ็บปวดเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ‘อายุคาว่า ริวจิ’ อีกหนึ่งตัวละครหลักของเรื่องที่เป็นเพื่อนในชมรมศิลปะของยาโทระนั้นถ่ายทอดประเด็นเรื่องความเจ็บปวดเพราะเป็นในสิ่งอยากจะเป็นไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม
ริวจินั้น แม้จะมี
ดูเหมือนว่าการทำในสิ่งที่ชอบนั้นไม่ว่าจะแง่ไหนก็ต้องพบเจอความเจ็บปวดไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่งอยู่เสมอถ้าเช่นนั้นแล้วเราจะยังทำมันอยู่อีกหรือไม่? สำหรับยาโทระและริวจินั้น คำตอบคือ ‘ทำต่อ’ แน่นอนว่าพวกเขาเจ็บปวดและรู้สึกสับสนไม่น้อยกับสิ่งที่เจอ แต่สิ่งที่ขับเคลื่อนให้พวกเขายังเดินอยู่บนเส้นทางของตัวเองอยู่ได้คือ ‘
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากประเด็นดีๆ ที่ถูกนำเสนอในเรื่องเท่านั้น ยังมีประเด็นดี ๆ มากมายที่
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in