เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
แอปแจปแอปใจjustalazygurl
01_พีอาร์พีใจ:สมัครงานบริษัทญี่ปุ่นเขาทำกันแบบนี้เองเหรอเนี่ย!?【自己PR】
  • สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน!

    ยินดีต้อนรับเข้าสู่เอ็นทรี่แรกของบล็อกแอปแจปแอปใจนะคะ ◡̈


    ก่อนอื่นก็มาทำความรู้จักกันสักนิดดีกว่าเนอะ เราเป็นนิสิตเอกญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 ที่มีโอกาสได้มาเขียนบล็อกให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น ในฐานะโปรเจ็กต์ของวิชาภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นประยุกต์ (Applied Japanese Linguistics aka APP JP LING ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบล็อกนี้นั่นเอง) ค่ะ!

    นี่เป็นครั้งแรกของเราเลยล่ะค่ะที่ได้มีโอกาสได้เขียนบล็อกให้ความรู้อย่างจริงจัง และก็นับเป็นเวลานานมาก ๆ แล้วจากครั้งล่าสุดที่เราได้เขียนข้อความยาว ๆ ขนาดนี้ลงในพื้นที่สาธารณะ 5555555555 มีแต่อะไรที่ไม่คุ้นชินทั้งนั้นเลย แต่เราก็อยากจะถือให้บล็อกนี้เป็นก้าวเล็ก ๆ ในการออกจาก comfort zone ของตัวเอง และจะพยายามเขียนออกมาให้ดีที่สุดค่ะ หลังจากนี้ก็ขอฝากเนื้อฝากตัวและฝากบล็อกนี้ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยนะคะ 🤍

    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    เกริ่นไปซะยาวเลย เรามาเข้าสู่เนื้อหาหลักในวันนี้ของเรากันดีกว่า
    ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสฟังบรรยายของผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียน 自己PR文 ที่ได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรพิเศษในคาบเรียนค่ะ ซึ่งเนื้อหาในคาบเรียนก็นับว่ามีประโยชน์สำหรับเด็กเอกญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มจะได้ใช้สิ่งที่เรียนในคาบนี้ในอนาคตอันใกล้เป็นอย่างมากเลย 😂

    วันนี้เราจึงอยากจะมาแบ่งปันเทคนิควิธีเขียน 自己PR พีอาร์พีใจอย่างไรให้ปังมัดใจบริษัทญี่ปุ่นกันค่ะ!

    自己PR นี่มันคืออะไรเหรอคะพี่ ๆ
    (ที่มาภาพ : https://www.irasutoya.com/2016/03/blog-post_6.html)

    แต่ก่อนจะลงรายละเอียดว่า 自己PR คืออะไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความพิเศษ 3 ประการของระบบการจ้างงานในญี่ปุ่นกันแบบคร่าว ๆ ก่อนดีกว่า!


    ความพิเศษประการแรกเลยก็คือ ช่วงเวลาหางานของเด็กจบใหม่ หรือ 新卒一括採用 นั่นเองค่ะ บริษัทที่ญี่ปุ่นจะนิยมรับเด็กจบใหม่มาก ๆ และมีกำหนดการรับสมัครที่ชัดเจนในแต่ละปีเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น นั่นจึงทำให้นักศึกษาต้องเริ่มเตรียมตัวสำหรับ 就職活動 (aka 就活) หรือกิจกรรมการหางานกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ เด็กปี 4 ส่วนมากจะต้องวิ่งวุ่นหางานตั้งแต่ตอนที่ยังเรียนอยู่เพื่อที่ตนเองจะได้เริ่มงานเมื่อจบการศึกษาพอดีค่ะ เพราะอย่างนี้เลยทำให้นักศึกษาปีี 3 ปี 4 ที่ญี่ปุ่นแทบไม่ได้เรียนหรือเก็บเกี่ยวช่วงเวลาชีวิตมหา'ลัยเลย และดูเหมือนว่าเรื่องนี้ก็ค่อนข้างจะเป็นปัญหาในสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันอยู่เหมือนกันค่ะ 😢

    ตัวอย่างตารางเวลาการสมัครงานของเด็กจบใหม่ปี 2024 จะเห็นได้ว่าต้องเริ่มเตรียมตัวกันตั้งแต่กลางปี 2022 ด้วยซ้ำ!
    (ที่มาภาพ : https://job.rikunabi.com/contents/howto/16147/)

    ความพิเศษประการที่สองคือ ระบบการจ้างงานแบบเมมเบอร์ชิปメンバーシップ型雇用)นั่นเองค่ะ เวลาญี่ปุ่นรับสมัครพนักงาน เขาจะไม่ได้มีเขียน Job Description แบบที่ไทยหรือประเทศอื่น ๆ นั่่นเป็นเพราะภาระงานในบริษัทญี่ปุ่นไม่ตายตัวค่ะ พูดง่าย ๆ ก็คือตามชื่อระบบของมันเลยเนอะ ระบบเมมเบอร์ชิปก็คือบริษัทรับเราไปเป็น "สมาชิกของบริษัท" โดยที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะให้เราทำอะไร (ex. ทำกราฟิกอยู่ดี ๆ วันดีคืนดีเราอาจจะได้ย้ายไปเป็นเซลล์ก็ได้) ซึ่งก็จะสอดคล้องกับความพิเศษประการแรกที่บริษัทจะนิยมรับเด็กจบใหม่ เพราะบริษัทจะไม่ได้เน้นประสบการณ์หรือความชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เน้นรับคนที่มีศักยภาพพร้อมจะเติบโตและพร้อมจะอยู่เคียงข้างบริษัทในระยะยาว ตามระบบการจ้างงานตลอดชีพที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นค่ะ

    ความแตกต่างระหว่างการจ้างงานแบบ ジョブ型 (หน้าที่งานตายตัวแบบตะวันตกและไทย) และ メンバーシップ型 (หน้าที่งานยืดหยุ่นแบบญี่ปุ่น)
    (ที่มาภาพ : https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUC07CB90X00C22A1000000/)

    ส่วนความพิเศษประการสุดท้าย ก็คือ การเขียน 自己PR และ 志望動機 เวลายื่นสมัครงาน ซึ่งเป็นส่วนที่เราจะมาโฟกัสกันในวันนี้นั่นเองค่ะ! ปกติเวลาเรายื่นเอกสารสมัครงาน ในนั้นก็จะมีข้อมูลจำพวกประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาเป็นพื้นฐานที่ไม่ว่าเรซูเม่ที่ไหนก็มีเนอะ แต่ความพิเศษสำหรับการสมัครงานในบริษัทญี่ปุ่นคือเราต้องเขียนสิ่งที่เรียกว่า 自己PR เพื่อ appeal ว่าตัวเองมีดีตรงไหน และจะเอาความสามารถนั้นมาทำประโยชน์ให้บริษัทยังไง และ 志望動機 เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราอยากร่วมงานกับบริษัทเพราะอะไร เรารู้จักบริษัทดีแค่ไหน นั่นเองค่ะ!

    เขียน 自己PR อย่างไรให้ปังมัดใจบริษัทญี่ปุ่นกันนะ?

    อย่างที่บอกว่ามันคือการพรีเซนต์ตัวเองให้บริษัทอ่านแล้วรู้สึกอยากจะจ้างเนอะ ซึ่งเราก็สามารถพรีเซนต์ออกมาได้ผ่านหลายรูปแบบเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
    • การพรีเซนต์ข้อดีของตัวเองออกมาเลยตรง ๆ
    • การพรีเซนต์ข้อด้อยให้ออกมาเป็นข้อดี
    • การพรีเซนต์ความสำเร็จที่ผ่านมาของตัวเอง
    • การเล่าข้อผิดพลาดในอดีตที่ทำให้ตนเองได้เรียนรู้และเติบโต
    ซึ่งส่วนมากคนจะนิยมเล่าสิ่งพวกนี้ออกมาผ่าน episode สักเรื่องที่จะสามารถกินใจกรรมการได้ (ฮา) แต่ไม่ว่าจะเลือกพรีเซนต์ออกมาในแง่มุมไหน เทคนิคในการเขียนก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ค่ะ เพราะถึงเราจะมีความสามารถแค่ไหน แต่ถ้าเขียนออกมาได้ไม่ชัดเจนพอก็คงสื่อไปไม่ถึงกรรมการเนอะ วันนี้เราจึงมี 3 เคล็ดลับมาฝากทุกคน ดังนี้ค่ะ!
    1. เขียนสิ่งที่ทำมากกว่าสิ่งที่คิด
      สิ่งที่อยู่ในหัวของเราไม่สำคัญเท่าสิ่งที่เราได้ "ทำ" ออกมาค่ะ พยายามพรีเซนต์ตัวเองออกมาผ่านการกระทำสักอย่าง ประสบการณ์สักเรื่องว่าตัวเองได้ทำอะไรลงไปบ้างจะดีกว่าเขียนความรู้สึกของตัวเองนะ!
    2. เขียนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด
      ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า さまざま・いろいろ (แม้ว่ามันจะเป็นคำสารพัดประโยชน์มาก ๆ ก็ตาม 😭) แต่สำหรับการเขียน PR เนี่ย คำว่ามากมาย หลากหลายมันยังไม่เป็นรูปธรรมมากพอค่ะ ขอละเอียดกว่านี้ ขอให้ชัดเลยว่าเราทำอะไร ที่ไหน ยังไง กับใคร เพราะอะไร แล้วผลออกมาเป็นยังไง!
    3. เริ่มด้วยใจความสำคัญ และกลับมาขมวดปมนั้นอีกทีในตอนท้าย (Sandwich Method)
      คนญี่ปุ่นจะค่อนข้างโปรดปรานการเขียนแบบที่มีใจความสำคัญอยู่ทั้งตอนต้นและตอนท้าย หรือที่เรียกว่าแบบแซนด์วิชนั่นเองค่ะ เช่น เริ่มต้นมาด้วยการบอกว่า ฉันเป็นคนที่วางแผนเก่ง แล้วระหว่างทางก็เล่าว่าตัวเองเคยวางแผนอะไรมา แล้วตบท้ายด้วยการขมวดปมว่า เพราะฉันทำเรื่องแบบนี้มา จึงเรียกได้ว่าฉันเป็นคนที่สามารถวางแผนได้ดี และจะนำความสามารถนี้ไปใช้ในบริษัทOOO ประมาณนี้นั่นเองค่ะ!
    นอกจาก 3 เคล็ดลับที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรายังอยากจะฝากข้อพึงระวังอีก 1 อย่างคือการคำนึงถึงเรื่องของความแตกต่างของวัฒนธรรมค่ะ อย่างเช่นเรื่อง "ความตรงต่อเวลา" เนี่ย สำหรับไทยจินที่ใช้ชีวิตกับความอะลุ่มอล่วยทางเวลามาตลอดก็คงจะดูเป็นข้อดีที่สามารถนำมาพรีเซนต์ตัวเองได้ใช่ไหมคะ แต่ความตรงต่อเวลาสำหรับนิฮงจินแล้วถือเป็นเรื่องที่ 当たり前 เรื่องที่ทุกคนสมควรทำแบบแน่ซะยิ่งกว่าแช่แป้งซะอีกค่ะ (แรงแต่ปฏิเสธไม่ได้ 😭) เพราะฉะนั้นก็อยากฝากให้คำนึงดี ๆ ก่อนเขียน เพราะเรื่องที่ดูวิเศษวิโสในบ้านเรามันอาจจะเป็นเรื่องปกติ๊ปกติในอีกสังคมหนึ่งก็ได้ค่ะ

    สำหรับเอ็นทรี่แรกก็ขอฝากไว้เท่านี้นะคะ ขอบคุณคุณผู้อ่านที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ หากมีข้อเสนอแนะใด ๆ สามารถทิ้งคอมเมนต์ไว้ได้เลยนะคะ 🤍

    แล้วพบกันใหม่ค่ะ ◡̈

    แหล่งอ้างอิง :
    https://careerpark.jp/2611
    https://job.rikunabi.com/contents/howto/16147/
    https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUC07CB90X00C22A1000000/
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
untobuns (@untobuns)
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ้างงานบอญี่ปุ่นด้วย มีประโยชน์มากค่ะ🥺
spicygarlic (@spicygarlic)
อ่านเข้าใจง่าย มีประโยชน์สำหรับเด็กพึ่งจบใหม่มากๆ ค่ะ
k.l.k (@k.l.k)
ตอนนี้มีบริษัทญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนจาก メンバーシップ型雇用 เป็น ジョブ型雇用 บ้าง (เช่น ฟุจิสึ) แต่ยังเพิ่มเริ่มเองนะคะ เขียนสรุปได้เข้าใจง่ายมากค่ะ