สเตฟานเด็กหนุ่มไฟแรงที่มีความมุ่งหวังจะสร้างเกม เนื้อเรื่องของเกมได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือที่สามารถเลือกการกระทำของตัวละครได้
เรื่องราวและประเด็นหลักๆของหนังเลยก็คือ Freewill หรือการเป็นอิสระในการตัดสินใจเลือก ตัวละครอย่างสเตฟานได้สงสัยในข้อเท็จจริงนี้ ว่าการกระทำของเขาเป็นสิ่งที่เขาอยากทำจริงๆหรือว่าเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมาให้ทำอีกทีหนึ่ง
เราดูหนังเรื่องนี้ผ่าน PS4 เพราะต้องการได้รับประสบการณ์แบบทั้งดูหนังและเล่นเกมไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือว่าเวิร์กอยู่ไม่น้อย ที่เด่นๆเล่นก็จะเป็นประกบการณ์การดูหนังผ่านการเล่นเกม และอีกอย่างคือจอยสติกจะสั่นเวลาต้องเลือกการกระทำตัวละครซึ่งก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว้าวมากขึ้นเท่าไรเลย
เรื่องราวดำเนินไปเรื่อยๆ คนดูอย่างเราๆก็ต้องเลือกการกระทำของตัวละคร ก็เช่นเลือกว่าจะกินอาหารอะไรดี จะฟังเพลงอะไรดี ไปจนกระทั่งต้องเลือกว่าจะฆ่าใครหรือเปล่า ซึ่งแต่ละการกระทำมันก็มีบางการกระทำที่ไม่รู้ว่าจะมีตัวเลือกไว้ให้ทำไม เพราะเมื่อเลือกไปแล้วมันก็วนมาให้เลือกอีกตัวเลือกอยู่ดี ให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ มีตัวเลือก A และ B สมมุติเราเลือก A ไป มันก็จะกระทำตัวเลือก A แต่ก็วนกลับมาทำตัวเลือก B อยู่ดี ในขณะทีสเตฟานเจอกับบัคของเกม ที่ยังไม่มีทางให้ไปต่อ เราก็คิดเลยว่าบัคของเกมก็เหมือนกับบัคของหนัง เมื่อไม่มีทางเดินให้ไปต่อ ยังไงก็ต้องย้อนกลับไปทางที่ถูกสร้างไว้ให้เดิน เราถูกบงการให้ดูหนังเรื่องนี้โดยมีคำโฆษณาว่าสามารถเลือกการกระทำของตัวละครได้ แต่ความจริงแล้วเราควบคุมอะไรไม่ได้เลย และตอนจบของทุกอย่างมันก็ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ซึ่งมันโคตรเซ็ง แทบจะเลิกดูเลย
แต่พอถึงจุดที่สเตฟนานรู้ตัวว่าถูกควบคุมโดยคนดู Netflix เราที่กำลังกดจอยสติกอยู่ถึงกับร้องเหี้ยออกมาเลยทีเดียว เพราะเราแม่งคือตัวอะไรสักอย่างที่สเตฟานสงสัยตั้งแต่แรกๆว่าชีวิตโดนควมคุมโดยใครสักคน ตลอดทั้งเรื่องก็คือพยายามช่วยสเตฟานตามหาว่าใครคือคนควบคุม ซึ่งคำตอบที่เราตามหาอยู่แม่งคือตัวเราเองเว้ย โคตรของโคตร Mind F*cking Blowing เลย
ส่วนตัวเราใช้เวลาดูหนังเรื่องนี้ไปกว่า 3 ชั่วโมง และจาก Mapping จากเว็บ reddit ก็คิดว่าน่าจะเจอ ending มาทั้งหมดแล้วล่ะ ตอนจบของเรื่องมันไม่ได้พีคเท่ากับการที่คนดูได้บังคับตัวละครสเตฟานหรอก ตัวเลือกที่คิดว่าเป็น true ending ที่สุดก็น่าจะเป็น เลือกทำงานคนเดียว, เล่าเรื่องแม่, ตามคอลินไป, ให้คอลินกระโดด, รูปครอบครัว, รูปหนังสือ, ตู้เซฟใส่รหัส TOY, ตอบตกลง จากนั้นสเตฟานจะขึ้นรถไฟไปกับแม่ และก็จบอย่างสันติสุข
เน็ตฟลิกซ์ได้โฆษณาอย่างหนักหน่วงเลยล่ะว่า หนังเรื่องนี้เป็น interactive films หรือเรียกอีกอย่างว่า หนังที่ผู้ชมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแทนตัวละครในเรื่องได้เลย รวมถึงสามารถเลือกตอนจบของเรื่องได้อีกด้วย ซึ่งจุดๆนี้มันก็เป็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของหนังเรื่องนี้ พูดถึงจุดเด่นก่อนเลยก็คือ มันเป็นสิ่งที่ใหม่แถมยังน่าดึงดูดใจจากผู้ชมอีกด้วย การได้รับประสบการณ์ในการดูหนังแบบใหม่ก็เป็นสิ่งที่หลายๆคนอยากจะลอง และ interactive films ก็ตอบโจทย์ทางด้านความต้องการนั้นๆไม่แน่ใจว่า interactive films จะเป็นอีกสารหนึ่งจากเว็บสตรีมถึงโรงหนังหรือเปล่า ว่าด้วยประเด็นประสบการณ์ของการรับหนังแบบใหม่ที่โรงหนังก็ทำไม่ได้ แถมการโหลดหนังผ่านเว็บบิทก็ทำไม่ได้ รวมถึงการดูหนังออนไลน์เถื่อนอีกด้วย แต่เอาจริงๆแล้วอนาคตก็ไม่แน่นอนหรอกเนอะ ยังไงก็เอาใจช่วยเว็บสตรีมที่ถูกต้องตามกฏหมายอยู่นะพูดถึง interactive films อีกสักนิด ส่วนตัวคิดว่าประสบการณ์ดูหนังแบบนี้ถึงแม้จะแปลกใหม่ แต่ต้องยอมรับว่ามันยังไม่ค่อยเสถียรสักเท่าไร ในหนังเรื่องนี้มันเหมือนกับว่ามีทางเดินถูกกำหนดไว้ว่าต้องเดินไปอยู่แล้ว แม้จะหลงทางไปนิดหน่อย แต่สุดท้ายก็ต้องเดินกลับมาทางที่ถูกกำหนดเอาไว้อยู่ดี ซึ่งในหนังเรื่องนี้เป็นแบบนั้นแหละ
ถ้าพูดถึงการตัดสินใจจริงๆของมนุษย์นั้นแล้วล่ะก็ ตัวเลือกที่มีให้ในหนังเรื่องนี้นั้นมีไม่มากเท่าไร จริงๆแล้วเราคิดว่าการตัดสินใจของมนุษย์มีหลายตัวเลือกมากๆ ไม่ใช่แค่ "ใช่หรือไม่ใช่", "มีหรือไม่มี", "ศูนย์หรือหนึ่ง" หรือแม้แต่ "ขาวหรือดำ" เอาจริงๆแล้วตัวเลือกของมนุษย์นั้นมันเป็นสีเทาๆที่มีหลายเฉดสี ซึ่งถ้าการที่จะทำหนังหรือแม้แต่เกมแบบนั้นได้ ก็คงจะยากสักหน่อยที่จะเข้าใจถึงจิตใจมนุษย์ทั้งหมด แต่การที่มีทีมที่ริเริ่มทำสิ่งที่ท้าทายแบบนี้ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นก้าวต่อไปที่ดีของวงการหนังและเกม ส่วนเราที่เป็นทั้งคนดูหนังดูซีรีส์และเล่นเกมก็จะสนับสนุนต่อไปแน่ๆจะไม่เอาไปเปรียบเทียบกับเกม Detroit: Become Human ที่วางขายให้ชาว PS4 เล่นก่อนหน้านี้ก็คงจะไม่ได้ เพราะว่าเกมนี้ก็เป้นเกมที่ผู้เล่นสามารถควบคุมการเป็นไปของเกม ผ่านการตัดสินใจแทนตัวละครในเกม เอาตรงๆถ้าดูหนังเรื่องนี้แบบไม่คิดอะไรเยอะ เราชอบ Detroit: Become Human มากกว่าหนังเรื่องนี้เสียอีก แต่ว่าถ้าดูหนังเรื่องนี้แล้วจับไอเดียเรื่องการที่นำ interative films มาคู่กับประเด็นหลักของเรื่องราวได้ มันโคตรของโคตรดีเลยล่ะ มันก็ได้นะถ้าหนังเรื่องนี้ไม่เอาเทคนิคนี้มาใช้ แล้วเรื่องราวในหนังก็ดำเนินไปเรื่อยๆ มันก็พีคแหละ แต่ก็คงไม่เท่ากับการนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้ เพราะเมื่อถึงจุดเฉลยของหนัง มันทำจอยสติกในมือเราแทบหลุดออกจากมือเลยล่ะ
ว่าด้วยเรื่อง Freewill ก็ทำให้นึกถึงซีรีส์สุดเจ๋งและเป็นท็อปสิบในดวงใจตอนนี้เลย ซีรีส์เรื่องที่ว่าก็คือ Westworld แต่มุ่งเน้นไปที่ซีซั่นหนึ่งเลยมากกว่า ประเด็นหลักก็คือการตามหาข้อเท็จจริงของเบื้องหลังการกระทำของตัวเองว่ามาจากการโค๊ดดิ้งของผู้สร้างหรือว่าเป็นการตัดสินใจจากจิตใต้สำนึกของตัวเอง ซึ่งมันทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มสำรวจตัวเองเลยว่าการกระทำของเรานั้นมีคนลิขิตไว้ วางแผนไว้ หรือแม้แต่เลือกทางเดินและเรื่องราวเอาไว้ให้เราแล้วหรือเปล่า
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in