วันนี้ Kiki อยากจะมาแชร์เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้เราพูดภาษาญี่ปุ่นแล้ว "ดู" ฉลาดขึ้นกันค่ะ ส่วนตัวเราฉลาดจริงมั้ยเนี่ยไม่รู้แต่เวลาพูดเราต้อง "ดูฉลาด" นะคะ55555555
เทคนิคที่จะทำให้เราพูดภาษาญี่ปุ่นให้ดูฉลาด ดูผู้ดี ดูลูกคุณ ดูเรียบร้อยไพเราะรื่นหูที่ว่านี้เนี่ยจริง ๆ แล้วมันก็มีมากมายหลายวิธี แต่ใน blog นี้เราขอแนะนำเทคนิคเรื่อง การใช้ approach ในระดับคำศัพท์ พูดง่าย ๆ ก็คือการใช้คำศัพท์คำใหม่หรือคำศัพท์ชุดใหม่อีกชุดนึง นั่นเองค่ะ การใช้ approach ในระดับคำศัพท์นี้เราจะขอแบ่งวิธีการเป็น 3 ข้อ และแบ่ง blog ออกเป็น 2 ตอนนะคะ
ในการใช้คำศัพท์คำใหม่หรือคำศัพท์ชุดใหม่อีกชุดนึงนั้น พูดง่าย ๆ ก็คือการใช้พวกคำศัพท์สวยหรูนั่นแหละค่ะ เราว่าไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรการเปลี่ยนมาใช้คำศัพท์สวยหรูก็จะทำให้เวลาพูดเราก็จะดูฉลาดขึ้นมาด้วย ยกตัวอย่างเช่นในภาษาอังกฤษ
รู้สึกเหมือนกันมั้ยคะว่าพอเปลี่ยนเป็นคำที่ยาวขึ้นก็ฟังดูดีมีความรู้ขึ้นมาทันทีเลย55555 ในภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกันค่ะ หากเราเปลี่ยนคำซักนิด ภาษาก็จะดูมีความเป็นทางการมากขึ้น ผู้พูดก็ดูดีดูฉลาดดูสวยปังขึ้นด้วย แต่ในภาษาญี่ปุ่นคำที่ดูดีมีการศึกษามีชาติตระกูลไม่ใช่คำที่มีจำนวนพยางค์เยอะ แต่จะเป็นคำจีน (คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดในภาษาจีนหรือสร้างขึ้นจากองค์ประกอบที่ยืมมาจากภาษาจีน) ที่ใช้ตัวอักษรจีนต่อ ๆ กัน ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 漢字熟語 หรือ 漢語 (คังโกะ) ตัวอย่างเช่น
ใครอยากหาพวกคำพ้องความหมายหรือ synonym เพ่ื่อนำมาใช้ในการหลากคำ ก็สามารถพิมพ์คำศัพท์เบสิคที่เราต้องการแล้วต่อด้วยคำว่า 類語 หรือ 類義語 หรือ 同義語 ต่อท้ายแล้วเสิร์ชใน Google ได้เลยค่ะ ตัวอย่างก็จะขึ้นมาให้เราเลือกเต็มไปหมดเลย หรือลองใช้เว็บนี้ดูก็ได้ค่ะ ใช้ง่ายดี แค่ใส่คำที่เราต้องการลงไปแล้วเว็บก็จะแสดงคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาให้เราได้เลือกใช้มากมายเลยค่ะ
หวังว่าทริคเล็ก ๆ 2 ข้อนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ เพียงแค่เราเปลี่ยนคำศัพท์เปลี่ยนสำนวนการพูดซักหน่อย ก็อาจจะทำให้เราพูดแล้วดูฉลาดดูมีความรู้ขึ้นได้ สามารถเอาทริคนี้ไปใช้ได้ทั้งในการพูดและการเขียนเลย อย่างไรก็ตาม Kiki คิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสื่อสาร คือการที่ผู้รับสารเข้าใจสิ่งที่ผู้ส่งสารส่งไปอย่างถูกต้องครบถ้วน บางทีการใช้คำศัพท์สวยหรูมันอาจทำให้เราดูฉลาดขึ้นจริง แต่ถ้าเราพยายามแต่จะใช้คำศัพท์ยาก ๆ ไป แล้วผู้รับสารไม่เข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อ มันก็คงไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ดังนั้นในบางบริบทบางโอกาสเราต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงผู้รับสารด้วยนะคะ
ไว้เจอกันใหม่กับทริคข้อที่ 3 ในตอนต่อไปค่ะ
ว่าแต่ 知的な言い方 ในภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นการใช้ 漢語 แทน แต่บางทีใช้ 和語 แทนบ้าง โดยเฉพาะ 会話敬語
เพราะ 和語 ดูอ่อนโยนกว่า
https://style.nikkei.com/article/DGXMZO76172660W4A820C1000000?page=3
(จริงๆ ผมเองขี้เกียจใช้ 敬語 อยากให้ยกเลิกใช้ 555)