เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ติ่งญี่ปุ่นมือใหม่ ฉบับคนสนใจภาษาและแอนิเมชันIcedMatchaLatte
EP.6 : คุณยายโซฟีพูดกับใครหรอคะ | 独り言 ลักษณะพิเศษของภาษาญี่ปุ่น
  • สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน เรากลับมาแล้วหลังจากเจอมรสุมไฟนอลไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา(>人<;) ขอโทษที่ให้รอนานนะคะ วันนี้เราขอนำเสนออีกหนึ่งแอนิเมชันยอดนิยมของสตูดิโอจิบลิที่จะช่วยฮีลใจทุกท่านจากความเหนื่อยล้าในช่วงที่ผ่านมาได้ เป็นอีกหนึ่งอนิเมชันที่เกี่ยวกับโลกเวทมนตร์ มีฉากแอคชันและเรื่องราวที่ตื่นเต้น น่าติดตาม แต่ก็แฝงไปด้วยข้อคิดดี ๆ ที่จะทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจหลังจากชมแอนิเมชันเรื่องนี้จบ นั่นคือเรื่อง Howl's Moving Castle ハウルの動く城 หรือในชื่อไทยคือ ปราสาทเวทมนตร์ของฮาวล์ นั่นเองค่ะ

    https://www.ghibli.jp/works/howl/ 

    ในวันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นทางภาษาที่พบตั้งแต่ในฉากแรก ๆ ของเรื่องกันค่ะ โดยฉากหลัก ๆ ที่เราจะยกมาคือฉากหลังจากที่โซฟีถูกแม่มดจากทุ่งร้างสาปให้กลายเป็นคุณยายอายุราว ๆ 90 ปีทำให้เธอตัดสินใจหนีออกจากบ้านเพื่อหาทางแก้คำสาปนี้ หลังจากที่เธอติดรถของชาวบ้านไป เธอก็ได้เดินเท้าต่อไปยังทุ่งหญ้าอันไกลโพ้นและหยุดพักระหว่างทางเพื่อทานขนมปังที่เธอพกไว้ 

    https://www.ghibli.jp/works/howl/#&gid=1&pid=9 

    ในตอนนั้นเธอหันไปเห็นกิ่งไม้ปักอยู่ในพุ่มไม้ เธอคิดว่ากิ่งไม้นั้นคงจะช่วยให้เธอเดินทางได้สะดวกขึ้น (น่าจะต้องการเอามาทำเป็นไม้เท้า) จึงลุกขึ้นไปดึงกิ่งไม้นั่นออกจากพุ่มไม้ พอเห็นกิ่งไม้ใกล้ ๆ เธอก็พูดขึ้นมาว่า「ちょっと太いかしらね」แปลเป็นภาษาไทยคือ “สงสัยจะหนาไปหน่อย” แล้วพอได้ลองดึงกิ่งไม้นั้นแต่ก็ดึงไม่ขึ้นสักทีก็พูดขึ้นมาอีกว่า「ガンコな枝ね....」หรือที่ซับไตเติ้ลขึ้นว่า “ทำไมหักยากอย่างนี้” ทั้ง ๆ ที่ ณ ขณะนั้นเธออยู่คนเดียวแท้ ๆ แต่เธอพูดกับใครกันนะ? หรือว่าจะมีพลังงานบางอย่าง⊙﹏⊙∥?!?! 

    คำตอบก็คือ ณ ตอนนั้นคุณยายโซฟีไม่ได้พูดกับใครอยู่เลย แต่พูดกับตัวเองหรือที่เรียกกันว่า การพูดคนเดียว ひとりごと (独り言) นั่นเองค่ะ

    การพูดคนเดียว หรือ ひとりごと (独り言) เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่มีในภาษาญี่ปุ่นค่ะ โดยการพูดคนเดียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีคือกรณีที่ผู้ฟังไม่ปรากฏอยู่ชัดเจนและกรณีที่มีผู้ฟังปรากฏอยู่แต่ไม่ได้แสดงการเข้าถึงผู้ฟังอย่างชัดเจนค่ะ โดยในบล็อกนี้จะขอให้ชื่อง่าย ๆ กับทั้ง 2 กรณีว่า กรณีที่ไม่มีผู้ฟัง และ กรณีที่มีผู้ฟังแต่ก็ยังพูดคนเดียว นะคะ

    สำหรับคำพูดของคุณยายโซฟีที่รำพึงรำพันกับตัวเองว่า「ちょっと太いかしらね」และ「ガンコな枝ね....」จะนับเป็นกรณีที่ไม่มีผู้ฟังเพราะ ณ ตอนนั้นยังไม่มีผู้ฟังปรากฏขึ้นชัดเจนค่ะ นอกจากนี้การพูดคนเดียวในกรณีนี้ยังมีตัวอย่างการใช้งานอีกมากมายและใกล้ตัวกว่าที่คิดอีกด้วย อย่างสำนวนที่ใช้พูดก่อนรับประทานอาหาร「いただきます」และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ「ごちそうさまでした」หรืออย่างตอนที่กลับถึงบ้านแล้วพูดว่า「ただいま」ก็นับเป็นการพูดคนเดียวเช่นกัน เพราะแม้ว่าจะอยู่คนเดียว ไม่ได้มีใครอยู่ด้วย ณ ขณะนั้น แต่คนญี่ปุ่นหลายคนก็พูดคำนั้น ๆ ออกมาค่ะ

    นอกจากในเรื่อง Howl's Moving Castle จะปรากฏการพูดคนเดียวของคุณยายโซฟีแบบกรณีที่ไม่มีผู้ฟังแล้ว ยังปรากฎการใช้งานในกรณีที่ 2 หรือกรณีที่มีผู้ฟังแต่ก็ยังพูดคนเดียวอีกด้วยนะคะ โดยปรากฏอยู่ในฉากที่คุณยายโซเฟีย ฮาวล์ และมาร์เคิล ร่วมโต๊ะกันรับประทานอาหารเช้าค่ะ

    https://www.ghibli.jp/works/howl/#&gid=1&pid=18 

    ในตอนนั้นจู่ ๆ ฮาวล์ก็ถามขึ้นมาว่า「で、あなたのポケットの中のものは何?」”อะไรอยู่ในกระเป๋า” คุณยายโซฟีได้ยินเช่นนั้นก็อุทานออกมาว่า 「あ....?え....」ด้วยความงุนงงเพราะเธอไม่ได้ใส่อะไรไว้ในกระเป๋าของเธอ แต่เมื่อลองใช้มือคลำกระเป๋ากระโปรงของเธอกลับพบจดหมายสีแดง (ที่เธอไม่ได้ใส่ไว้) จึงพูดออกมาว่า「何かしら」”นี่มันอะไร” จากนั้นฮาวล์ก็ขอดูจดหมายนั้นและเรื่องราวก็ดำเนินต่อไปค่ะ

    คำพูดที่ว่า「何かしら」ของคุณยายโซฟีนั่นเองคือการพูดคนเดียว กรณีที่มีผู้ฟัง โดยคนฟังที่ว่านั่นก็คือฮาวล์หรือคู่สนทนาที่คุยกันก่อนหน้านี้ค่ะ ซึ่งการพูดคนเดียวในกรณีที่มีผู้ฟังเช่นนี้ อาจสังเกตได้จากการที่จู่ ๆ ผู้พูดก็เปลี่ยนระดับภาษาเป็นรูปธรรมดาเพื่อพูดกับตัวเองทั้งที่ก่อนหน้านั้นก็ใช้รูปสุภาพเพื่อคุยกับคู่สนทนาหรือผู้ฟัง แต่ในกรณีนี้คุณยายโซฟีก็ใช้รูปธรรมดาพูดกับฮาวล์ตั้งแต่ต้นนี่นา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณยายโซฟีกำลังพูดกับตัวเอง?

    คำตอบก็คือ ในกรณีนี้เราสังเกตจากการลงท้ายประโยคด้วย かしら ค่ะ ในภาษาญี่ปุ่นมีไวยากรณ์รูปประโยคและคำช่วยท้ายประโยคมากมายที่แสดงให้เห็นผู้พูดกำลังรำพึงรำพันกับตัวเองอยู่ เช่น だろう ที่อาจใช้ทั้งกรณีพูดกับผู้ฟังที่สนิทกันโดยไม่แสดงความสุภาพและใช้เมื่อต้องการรำพึงรำพันกับตัวเอง, การใช้คำช่วยท้ายประโยค หรือ なぁ ที่ใช้แสดงทัศนะของผู้พูดที่มีต่อตนเอง, การใช้คำช่วยท้ายประโยค ในกรณีแสดงการยืนยันข้อมูลของตนเอง รวมไปถึงการใช้ かしら ที่ใช้รำพึงรำพันกับตัวเองในลักษณะเดียวกับ だろう แต่เป็นคำที่ผู้หญิงมักใช้

    จะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นมีการพูดคนเดียวกันจนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นลักษณะพิเศษของภาษาญี่ปุ่นที่ทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับ ひとりごと เกิดขึ้นมากมายเลยค่ะ ดังนั้นหากใครรับชมแอนิเมชัน ภาพยนตร์หรือได้ลองพูดคุยกับคนญี่ปุ่น แล้วอยู่ดี ๆ ตัวละครหรือคู่สนทนาของเราก็พูดกับตัวเองขึ้นมา หรือจู่ ๆ ก็เปลี่ยนมาใช้รูปธรรมดาพูดแล้วค่อยเปลี่ยนกลับเป็นรูปสุภาพก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ヾ(≧ ▽ ≦)ゝ

    .

    .

    .

    ที่มา :

    https://www.ghibli.jp/works/howl/ 

    https://www.ghibli.jp/works/howl/#&gid=1&pid=9

    https://www.ghibli.jp/works/howl/#&gid=1&pid=18

    กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ. (2565). มองมุมภาษาญี่ปุ่นผ่านการเปรียบต่าง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Proud Praorawee (@fb7254036048038)
สานฝันคนเป็นสลิ่มเรื่องท่านฮาวล์มากเลยค่ะ ปกติเราเองก็เป็นคนชอบพูดคนเดียวเหมือนกัน ดีใจที่นางเอกอย่างโซฟีก็เป็นเหมือนกันค่ะ ‎ꉂꉂ(ᵔᗜᵔ*) แล้วก็เพิ่งสังเกตเลยว่า かしら หรือ なぁ ก็เป็นภาษาพูดคนเดียวได้เหมือนกัน ที่ผ่านมารู้จักแค่ だろう
k.l.k (@k.l.k)
สังเกตเรื่องการ switch ภาษา (สุภาพ) มาเป็นภาษาไม่สุภาพ (ตอนมาพูดกับตัวเอง) ได้เก่งมาก ในจิบบลี่มีภาษาพูดคนเดียวเยอะเลย