การรักษารากฟัน คืออะไร
การรักษารากฟัน คือ การตัดเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน หรือตัดโพรงประสาทฟัน เมื่อโพรง
ประสาทฟันถูกตัดออก ก็จะทำความสะอาด จัดรูปทรง และอุด ซึ่งเป็นกระบวนการปิดคลุมรากฟัน ซึ่งแต่ก่อนหากฟันมีโพรงประสาทอักเสบจะต้องถูกถอนออก แต่ปัจจุบันการรักษารากฟันช่วยได้
สำหรับคนไข้ที่ปล่อยให้ฟันผุ ไม่มีการดูแลรักษา จนทำให้เกิดอาการลุกลามไปถึงชั้นโพรงประสาท ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ มีหนองที่รากฟัน ถ้าใครเป็นถึงขั้นนี้บอกเลยเจ็บปวดทรมานมากและยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค จนต้องถอนฟัน
แต่สำหรับคนที่ไม่อยากถอนฟัน ก็ยังพอสามารถแก้ไขได้ แต่แน่นอนว่า คนไข้ที่ปล่อยให้ปัญหามาลุกลามขนาดนี้ต้องมีขั้นตอนรักษาที่ยุ่งยาก ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร เพื่อทำ
การรักษารากฟันเอาไว้ ดั้งนั้นเมื่อตัดสินใจแล้วจะรักษารากฟัน ต้องทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
ทำไมต้องรักษารากฟัน
คนที่มารักษารากฟัน จะมีอาการปวดฟัน แบบเป็นๆ หายๆหรือปวดฟันอย่างรุนจนแทบทนไม่ไหว
ต้องตื่นกลางดึกบ่อยๆ เพราะอาการปวดฟัน เวลาดื่มเครื่องดื่มร้อนและเย็นจะรู้จักเสียวฟัน เวลา
เคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บ ฟันจะเริ่มมีสีคล้ำและมีอาการเหงือกบวม เป็นหนอง ฟันผุลึกจนทะลุโพรง
ประสาทฟัน หรือบางคนประสบอุบัติเหตุได้รับแรงกระแทรก จนทำให้ฟันแตกหักทะลุจนถึงโพรง
ประสาท จนเกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน จึงต้องมาทำการรักษารากฟัน
ถ้าไม่รักษารากฟันจะเป็นยังไง
เมื่อโพรงประสาทเกิดการติดเชื้อและเกิดหนองที่ปลายรากฟัน
หากไม่รักษารากฟันคนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดมาก เจ็บจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ดื่มน้ำร้อนน้ำเย็นไม่ได้ เอาเป็นว่า ใช้ชีวิตประจำลำบากเลยทีเดียว และเชื้อยังลุกลามไปยังซี่อื่นๆ ยิ่งทำให้เจ็บปวดมากยิ่งขึ้น การรักษารากฟัน โดยการเอาโพรงประสาทฟันที่อยู่กลางฟันออก แล้วใส่วัสดุเติมโพรงที่ว่างช่วยหยุดการติดเชื้อ ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวด และยังสามารถรักษาฟันนี้นั้นไว้ได้ด้วย
ลักษณะอาการที่คนไข้ต้องมารักษารากฟัน โดยด่วนเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น
เจ็บปวดเวลาเคี้ยวอาหาร
ฟันหลวม ฟันโยก
เหงือกมีอาการบวมตรงฟันที่ติดเชื้อ
มีน้ำหนองไหลออกฟันที่ติดเชื้อ
ฟันเริ่มมีสีคล้ำ
เกิดอาการหน้าบวม
การเตรียมตัวรักษารากฟัน
ก่อนการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะเอกซเรย์ฟันซี่ที่ต้องทำการรักษา
เพื่อให้เห็นบริเวณฟันที่ได้รับความเสียหายได้ชัดเจน และตรวจสอบการติดเชื้อของบริเวณโดยรอบ
กรณีจำเป็นจะฉีดยาชา เพื่อให้บริเวณที่จะทำการรักษารู้สึกชาเพื่อไม่ให้เจ็บปวดเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
เอาโพรงฟันออก โดยการวางแผ่นยางกั้นน้ำลายไว้รอบฟันที่จะทำการรักษา เพื่อทำให้บริเวณที่จะรักษาแห้งสะอาด ทำให้การรักษาสะดวกขึ้น
และยังเป็นการป้องกันไม่ให้วัสดุที่ทำการรักษาหรือน้ำยาที่ใช้ไหลลงคอคนไข้
ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือเจาตรงส่วนบนของฟัน เพื่อนำเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันทิ่ติดเชื้อออกมา หากฟันซี่นั้นมีหนอง
ก็จะทำความสะอาดและทำการรักษาในคราวเดียวกันเลย
ทำความสะอาด โดยการล้างทำความสะอาดและใช้เครื่องมือขยายโพรงประสาทฟัน ให้มีช่องว่างเพื่อเข้าไปทำความสะอาดโพรงรากฟัน
หากมีเนื้อเยื่ออักเสบยังเหลืออยู่ก็จะตัดออก
ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาให้เสร็จในครั้งเดียว ทันตแพทย์จะปิดโพรงฟันไว้ด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว ในช่วงนี้หากมีการติดเชื้อ
จนทำให้คนไข้มีอาการบวมและมีไข้สูง ก็จะใช้ยาปฏิชีวนะเข้าช่วย
ทำการรักษาต่อ หลังจากอุดฟันไว้ชั่วคราว ทันตแพทย์จะนำเอายาและวัสดุเติมที่ใส่ไว้ชั่วคราวในครั้งก่อนออกมา
แล้วใส่วัสดุเติมรากฟันโพรงประสาท แล้วปิดสนิท ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำอีก
ใส่ครอบฟัน ซึ่งจำเป็นมากเพื่อป้องกันฟันผุหรือฟันแตกหัก ครอบฟันมีหลายชนิด ทั้งที่ทำจากวัสดุโลหะ กระเบื้อง หรือเซรามิก
ก่อนจะใส่ครองฟัน ทันตแพทย์จะทำการกรอตกแต่งเพื่อให้ใส่ที่ครอบได้พอดี กับรูปร่างและขนาดของฟัน
หลังจากนั้นใช้ปูนสำหรับอุดฟันยึดติดเข้าด้วยกันเพื่อให้ฟันเกิดความมั่นคง
หรือลองอ่าน ที่คุณหมอโบว์ บอกได้ที่นี่เลย
ขอบคุณ VDO : BowDentMU
การดูแลรักษาหลังรักษารากฟันหลังจากที่รักษารากฟันเสร็จแล้ว คนไข้จะรู้สึกว่าเหงือกตรงบริเวณที่รักษารากฟันนิ่มลง และรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของการรักษารากฟันในช่วงแรก อาการเจ็บปวดในช่วงแรกที่เกิดขึ้น สามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดทั่วไป ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 2-3 วัน แต่ถ้ามีอาการที่รุนแรงกว่านี้ ก็ให้รีบเข้าไปพบทันตแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการรักษาต่อไป
การดูแลรักษาหลังรักษารากฟัน
งดทานอาหารจนกว่าฤทธิ์ของยาชาจะหมดไป
งดเคี้ยวอาหารด้านที่ทำการรักษารากฟัน เพื่อให้ฟันฟื้นตัวได้เป็นปกติ
หากพบสิ่งผิดปกติที่เกิดกับฟันซี่ที่ทำการรักษา เช่น มีก้อนวัสดุบางอย่างหลุดออกมา ควรรีบแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบทันที
หมั่นรักษาความสะอาด ทั้งการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
หลังการรักษารากฟัน หากมีอาการปากบวม แพ้ยา ลมพิษ หรือมีการคล้ายตอนที่ยังไม่ได้รักษารากฟัน เวลาเคี้ยวอาหารรู้สึกว่าฟันไม่เสมอกัน ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
รักษารากฟันราคาเท่าไหร่
การรักษารากฟัน มีอัตราค่ารักษาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน ซึ่งมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไปแต่ละกรณี แต่จะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ของ อัตราค่ารักษารากฟัน ซึ่งต้องไปสอบถามทันตแพทย์ที่จะเข้าไปรักษาอีกครั้ง
ค่ารักษารากฟันหน้า ซี่ละ 4,000-7,000 บาท
ค่ารักษารากฟันกรามน้อย ซี่ละ 5,000-9,000 บาท
ค่ารักษารากฟันกรามใหญ่ ซี่ละ 8,000-11,200 บาท
ค่ารักษารากฟันกรามใหญ่ กรณีซับซ้อน ซี่ละ 12,000 บาท
รักษารากฟันเจ็บไหม
การรักษารากฟันเจ็บแน่นอน เพราะฟันทุกซี่มีเส้นประสาท และเส้นเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงฟัน พอเกิดฟันผุ เกิดอาการติดเชื้อ เป็นหนอง จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดมาก หากปล่อยไว้ไม่รักษา นอกจากเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหากต่อกระดูกรอบรากฟัน ลุกลามไปติดเชื้อถึงบริเวณใบหน้าและขากรรไกร จึงถึงชีวิตได้
แต่อย่าเพิ่งกลัวเพราะการรักษาทันตแพทย์จะฉีดยาชาก่อนการรักษา ทำให้ขณะรักษารากฟันไม่รู้สึกเจ็บ แต่พอหมดฤทธิ์ยาก็จะมีการเจ็บปวดอยู่ในช่วง 2-3 วันแรก ซึ่งสามารถกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้
การรักษารากฟัน เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากปล่อยไว้ไม่รักษา จะทำให้แผลลุกลาม จนทำให้ฟันผุ ฟันเน่า มีน้ำหนองไหลออกมา ซึ่งน่ากลัวมากๆ ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ปัจจุบัน ทำให้สามารถรักษารากฟันไว้ได้ถึงแม้ฟันจะเริ่มเนาและมีน้ำหนองแล้วก็ตาม ส่วนเรทราคาค่ารักษารากฟันก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับความเสียหายและอันตรายที่เกิดขึ้น หากไม่รักษารากฟัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in