ผีตาโขน เป็นการละเล่นของชาวพื้นเมืองในอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเพณีแห่ผีตาโขนเป็นขบวนแห่รวมอยู่ในงานบุญพระเวส หรือ งานบุญหลวง หรือ งานบุญเดือน 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต้นกำเนิดของประเพณีผีตาโขนนี้มาจากตำนานพระธาตุศรีสองรักที่เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญาณคู่หนึ่งที่รักกันมากแต่ถูกครอบครัวกีดกันทำให้ทั้งสองหนีไปซ่อนตัวในอุโมงค์จนเสียชีวิตที่นั่นต่อมาฝ่ายชายถูกเรียกว่า เจ้าพ่อกวน ส่วนฝ่ายหญิงถูกเรียกว่า เจ้าแม่นางเทียม ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญาณของเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียมจะคอยดูแลรักษาพระธาตุศรีสองรักอยู่ตลอดเวลาต่อมาดวงวิญาณของผู้ล่วงลับจะขอเป็นบริวารแก่เจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียมเมื่อถึงงานบุญพระเวสเหล่าดวงวิญาณเหล่านั้นก็จะออกมาช่วยกันทำพิธีแห่แหนพระอุปคุตเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
ชื่อประเพณีผีตาโขนนี้เพี้ยนมาจากคำว่า ผีตามคน เป็นผีที่ติดตามคนมาร่วมพิธีงานบุญเพื่อรอการแผ่เมตตาอุทิศส่วนบุญกุศลให้ตนหลังเสร็จสิ้นงานบุญตามความเชื่อในมหาเวสสันดรชาดกซึ่ง ต่อมาก็เพี้ยนเป็น ผีตามขน และ ผีตาโขน มาจนถึงปัจจุบัน
โดยลักษณะทั่วไปการแต่งตัวของผีตาโขนส่วนมากจะน่ากลัวแต่วิธีการเล่นการเต้น และการแสดงต่างๆนั้นน่าดูทำให้บรรยากาศของงานมีสีสันมากยิ่งขึ้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in