เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ถอดแบบจากเปเป้อargentumnm
มหาวิทยาลัยออกนอกระบบไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่เป็นทางที่เลี่ยงไม่ได้ ? (1)
  • มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ คืออะไร ? 
    มหาวิทยาลัยออกนอกระบบหรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (Autonomous University) คือ มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคล ได้รับการจัดสรรงบประมาณเท่าที่จำเป็น ภายใต้การกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัยมีอิสระในการบริหารจัดการทุกๆด้านรวมทั้งมีอำนาจในการบริหารการเงินและทรัพย์สิน โดยไม่ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงคลัง แต่ต้องตรวจสอบได้ในภายหลัง (ทินพันธุ์ นาคะตะ, 2546, น.9) 
    พูดอีกทางหนึ่งก็ มหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการ มีอิสระและความคล่องตัว สามารถกำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ตามกรอบ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนั้นๆ ตั้งแต่การเงินและทรัพย์สิน การบริหารงานบุคคล จนถึงการบริหารงานวิชาการ ส่วนรัฐบาลได้ให้เงินอุดหนุนมหาวิทยาลัยเท่าที่จำเป็น

    แบบไหนที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ?

    วิจิตร ศรีสอ้าน (2552, น. 53) กล่าวถึงหลักการสำคัญของมหาวิทยาลัยในกำกับของรับไว้ว่ามี 3 ประการ คือ

    1.​อำนาจบริหารจัดการต่างๆภายในมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดอยู่ที่องค์กรสูงสุด ซึ่งก็คือสภามหาวิทยาลัยตรงกับคำว่า “Self Governance” หรือ “Autonomy”

    2.​ระบบการบริหารจะต้องมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ในการบรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการ มหาวิทยาลัยจะต้องมีระบบการจัดการเป็นของตนเอง ตรงกันข้ามกับส่วนราชการที่ไม่สามารถแบ่งส่วนหรือดำเนินการอย่างอื่นได้เอง

    3.​การบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยจะต้องยึดหลัก Good Governance หรือ หลักการบริหารจัดการที่ดี หรือธรรมาภิบาลซึ่งมี 6 ประการ คือ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปรงใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

    ทำไมถึงเกิด มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ขึ้นมา ?
    นักวิชาการและรัฐบาลในไทยยุคหนึ่งเคยคุยกันเรื่องการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา และทิศทางในอนาคตของมหาวิทยาลัย ประเด็นที่เขาพูดกันคือเรื่อง ความอิสระคล่องตัวจากการกำกับของราชการและข้อบังคับแบบราชการ เพื่อการพัฒนาวิชาการและการศึกษาให้ไวต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนักวิชาการและผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายมองว่า ระบบราชการที่มีความล่าช้าและไม่คล่องตัว เนื่องจากกฎระเบียบข้อบังคับมากมายที่กำกับการศึกษา ไม่นำมาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ไม่สามารถสร้างความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล

    ความพยายามในการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของรัฐมาสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
    เริ่มจากปี พ.ศ.2507 สัมนาเรื่องปัญหาและบทบาทของมหาวิทยาลัยในไทย แต่ช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลและมหาวิทยาลัยยังไม่พร้อมในการดำเนินการ ความพยายามในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการจึงชะงักไป
    การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กลับมาอีกครั้งช่วงปี พ.ศ.2530-2531 ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี เริ่มพูดถึงนโยบายการบริหารมหาวิทยาของรัฐ ในส่วนที่ไม่เป็นราชการ ในปี พ.ศ. 2533 จัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบราชการเป็นที่แรกของประเทศ ในสมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ 
    ความเคลื่อนไหวในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอ 2 แนวทางให้มหาวิทยาลัย คือ อยู่ในราชการต่อไป แต่ต้องแก้ไขกฎระเบียบให้คล่องตัว หรือ ออกนอกระบบราชการต่อไป ช่วงปี 2534 ประเด็นนี้ได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพราะมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 
    จนกระทั่ง เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2541 รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารแห่งเอเชียเพื่อพัฒนาการศึกษา(ADB) โดยมีเงื่อนไขว่า “มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ภายในปี พ.ศ. 2545” แนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงเกิดเป็นรูปธรรมขึ้น
    ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว แต่กลุ่มมหาวิทยาลัยที่อยู่ในขั้นตอนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมี 8 แห่ง ได้แก่

     

    1.​มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    2.​มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

    3.​สถาบันพระบรมราชชนก

    4.​มหาวิทยาลัยนเรศวร

    5.​มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    6.​มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    7.​มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

    8.​มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


    มหาวิทยาลัยกับความเป็นเสรีนิยมใหม่(Neoliberalism) นำไปสู่ NPM (New Public Management)

    เสรีนิยมใหม่ มองว่ารัฐต้องลดบทบาทและการกำกับลง ต้องลดการใช้จ่ายของรัฐลง และปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากร นั่นอาจจะพูดในอีกนัยหนึ่งว่า มหาวิทยาลัยเองก็คงต้องคิดเรื่องการแสวงหากำไรเช่นกัน ซึ่งอาจมาในรูปของค่าเทอมค่าเล่าเรียนของนิสิตและนักศึกษาที่สูงขึ้น เป็นต้น ช่องว่างของสวัสดิการที่บุคคลจะได้รับในมหาวิทยาลัยนั้น เป็นที่ต้องสงสัย 


    สำหรับด้านการบริหารงานบุคคล เปลี่ยนโครงสร้างจากระบบราชการมาสู่ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีแยกย่อยไปอย่าง ตำแหน่งสายวิชาการ สนับสนุนสายวิชาการ เป็นต้น พูดถึงตำแหน่งการทำงานของตัวพนักงานมหาวิทยาลัย ระยะเวลาปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแล้วแต่มหาวิทยาลัยจะกำหนดว่า เป็น 3-5 ปี มีการประเมิณการสอน หรือเกณฑ์การผลิตผลงานทางวิชาการตาม สกอ. เพื่อเป้าหมายเร่งรัดผลิตคุณภาพทางวิชาการ


    สังเกตกันหรือไม่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปตามโมเดลการปฏิรูปที่คาดหวังว่าต้องเข้าสู่ระบบตลาด คาดหวังว่าเราต้องเป็นส่วนหนึ่งของการตีมูลค่าสินค้า ตามวิถีกลไกตลาด


    หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนจากระบบราชการมาสู่ระบบที่ไม่เป็นส่วนราชการ ตำแหน่งงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ต้องมีการเร่งรัดทำผลงาน ไหนจะงานสอนและงานประเมิณ เกณฑ์กรอบวิชาการที่คาดหวังให้พนักงานมหาวิทยาลัยต้องทำผลงานทางวิชาการ เพื่อประสิทธิภาพของวิชาการตัวมหาวิทยาลัย หากสังเกตสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัย แม้จะมีเงินเดือนที่สูงกว่าข้าราชการ 1.7 เท่า แต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ให้เต็มหน่วย ไหนจะสิทธิในการรักษาพยาบาลไม่ได้ครอบคลุมเท่ากับข้าราชการ สังเกตกันดีๆว่า คุณภาพชีวิตผู้สอนในบางมหาวิทยาลัยในปัจจุบันน่าเป็นห่วง



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in