เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Politicstobysmintchoc
ดร.ธีรรัตน์ “สื่อนิติบัญญัติ กับการมีส่วนร่วมของประชาชน” | แกะเทป
  • “ การเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเขา เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามาเสนอความคิดเห็น เข้ามาให้คำเสนอแนะถึงสิ่งที่ผู้แทนราษฎรกำลังทำอยู่ในขณะนี้ได้ “

    - ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย
    ในการเข้าร่วมงานเสวนา “ สื่อนิติบัญญัติ กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ”
    วันเสาร์ ที่ 5 สิงหาคม 2566 ณ อาคารรัฐสภา 

    ประเด็นที่ 1

    ในมิติของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

    คาดหวังอย่างไรในการพัฒนาสื่อนิติบัญญัติ ?

         ก่อนอื่นเลย ในรอบแรกนี้ ก็ขอสวัสดีพี่น้องที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ที่อยู่ในห้องส่งนี้เองก็ตาม หรือที่ติดตามชมอยู่ทางบ้านในขณะนี้นะคะ ทุกคนล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยกัน ในการเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์สื่อของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะนอกจากท่านจะดูทางโทรทัศน์หรือทางมือถือ ท่านสามารถที่จะแชร์ต่อไปให้เพื่อนของท่านได้รู้ ว่าในวันนี้เรากำลังทำอะไรกันอยู่ได้ด้วย เมื่อสักครู่ที่อิ่มเดินทางมาถึง ทางคณะผู้จัดงานได้ประชาสัมพันธ์ว่า เรามีการถ่ายทอดสดอยู่ในขณะนี้ ทุกท่านสามารถดูและแชร์สิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอต่อพี่น้องประชาชนไปด้วยกันได้


          ในส่วนของอิ่มเอง ต้องเรียนว่าเติบโตมากับการติดตามงานทางการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยยังเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยม และจบระดับการศึกษาทุกรุ่น ก็ได้ดูการประชุมสภาทุกๆครั้งและได้เห็นบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการทำหน้าที่เพื่อพี่น้องประชาชน ตั้งแต่สภาหลังเก่า ตรงถนนอู่ทอง อิ่มเองก็ได้มีโอกาสสัมผัสบรรยากาศนั้น ก่อนจะมาเป็นสภาหลังใหม่นี้ แต่ก่อนเราไม่มีห้องที่สะดวกสบายอย่างนี้เสียด้วยซ้ำ ไม่มีห้องโดยเฉพาะสำหรับการจัดสัมมนา 

    การที่จะเรียนเชิญพี่น้องประชาชนเข้ามารับฟัง เราต้องจัดที่ห้องโถงกลาง ด้านหน้าสภา หลายๆท่านในที่นี้น่าจะเคยได้ไปสัมผัส และเคยเข้าร่วมการเสวนาในสภาหลังเก่ามาแล้ว เราใช้พื้นที่ด้านหน้า บริเวณบ่อปลาคาร์ฟ อยากให้ทุกท่านย้อนหลังกลับไปยังสภาหลังเก่าว่า 

    ‘ ในขณะนั้นทางณะทำงานทีมประชาสัมพันธ์ของสภาผู้แทนราษฎรเองนั้นก็พยายามที่จะขับเคลื่อนกันอย่างเต็มที่ ที่จะให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม แต่ไม่แปลกใจว่า ทำไมถึงยังไม่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น เนื่องจากเทคโนโลยียังไม่ก้าวไกลดังเช่นปัจจุบันนี้  


          ในสมัยนี้เรามีช่องทางการสื่อสารต่างๆมากมาย ที่สามารถที่จะบอกว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ แม้จะจัดในสถานที่เล็กๆ หรือในพื้นที่ใดก็ตาม แต่ผู้คนทั่วโลกสามารถที่จะรับฟังและรับรู้ว่าเรากำลังทำอะไรกันอยู่ นั่นอยู่ที่ความร่วมมือ แล้วก็เราจะมีเนื้อหาสาระอะไรให้กับพี่น้องประชาชน ให้ได้รู้สึกว่าสิ่งที่พวกเราพูดคุยกันอยู่ในวันนี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวของเขาจริงๆ 

    เรื่องการเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเขา เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง 
    เข้ามาเสนอความคิดเห็น เข้ามาให้คำเสนอแนะถึงสิ่งที่ผู้แทนราษฎรกำลังทำอยู่ในขณะนี้ได้ 

    การที่เราได้ซึมซับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะเป็นเส้นทางนึงที่เราจะสามารถพัฒนาและต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น อะไรที่เราต้องปรับปรุง เราก็มาช่วยกันให้ข้อเสนอ เพื่อที่จะให้การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ได้มีการพัฒนาการทำงานที่ดีขึ้นได้

          ในส่วนที่ดิฉันเองคาดหวัง ก็หวังว่า พี่น้องประชาชนจะได้เข้ามารับรู้ ได้ร่วมกันสร้างประเทศที่ดี สร้างสังคมที่ดี การมีส่วนร่วมของทุกๆคนเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ แล้วก็ต้องชื่นชมทางฝ่ายของสภาเอง ที่พยายามผลักดันให้เราอยู่ในจุดที่ทุกคนมองเห็น ให้ได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้การทำงานของพวกเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น และพี่น้องทุกคนได้มาสนใจ ว่าตอนนี้การเมืองของเราไปถึงไหนแล้ว ก็คงเป็นสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย


    ประเด็นที่ 2

    แนวคิดในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและรัฐสภา

    ผ่านกลไกสื่อนิติบัญญัติ

          ในส่วนที่จะขอกล่าวคือ ทำยังไงเราถึงจะแตกต่างจากสื่ออื่น อย่างที่ท่านอนันต์ได้กล่าวไป ว่าเรามีแหล่งข่าว มีข้อมูล มี source อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ทำยังไงให้พี่น้องประชาชนได้รู้สึกว่าสิ่งที่นำเสนอผ่านสื่อรัฐสภาคือข้อเท็จจริงที่สุด คิดว่าทางผู้บริหาร หรือแม้แต่ทางทีมงานทุกคน ต้องรู้สิทธิและหน้าที่ของตนเอง การให้สื่อมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร 

    ดิฉันคิดว่าจะทำให้เราสามารถเปิดช่องทางของคนทำงานให้ได้ทัดเทียมสื่อที่เป็น free tv อยู่ในสมัยนี้


    สื่อที่อยู่ในโลกออนไลน์ของเรา นำเสนอทุกอย่าง ทำให้ประชาชนอยากจะรู้และอยากที่จะเห็น และที่เรียนไปว่าพี่น้องประชาชนมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าอะไรเป็นความจริงอะไรเป็นความเท็จ  และสิ่งที่เป็นในอดีตที่ผ่านมา ที่ดิฉันจะขออนุญาตกล่าวถึงก็คือการให้นักเรียนหรือประชาชน ออกแบบโลโก้ของสถานีเรา ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เป็นเส้นๆในรูปของพานรัฐธรรมนูญ นี่ก็คือส่วนหนึ่งที่เป็นภาคประชาชนมในการเข้ามาร่วมกันออกแบบ แล้วก็ให้เขารู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวนะ ไม่ใช่เรื่องที่เขาจะเข้าไม่ถึง ถ้าหากว่าทางคณะทำงานได้คิดกิจกรรมเหล่านี้มาบ่อยๆ ได้เชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม วันนี้ก็เช่นเดียวกัน ดิฉันทราบว่ามาจาก 50 เขต กทม.เลยนะคะ จากลาดกระบังก็มาด้วย จากพื้นที่ใกล้เคียงก็เข้ามาร่วมเช่นเดียวกัน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขารู้สึกว่า การเมือง กฎหมาย การออกนิติบัญญัติต่าๆงนั้น เขาสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและรับฟัง แล้วก็นำข้อมูลความรู้เหล่านี้ นำไปขยายต่อให้กับผู้ที่ไม่ได้มาวันนี้ได้เช่นเดียวกัน  ก็คงต้องใช้วิธีหลายๆวิธี ในการที่จะให้พี่น้องประชาชนเกิดการมีส่วนร่วม รับรู้ในเรื่องของกฎหมาย ข้อบัญญัติต่างๆค่ะความเท็จที่นำเสนอไป สื่อเหล่านั้นก็จะถูกสังคมประณามและไม่ได้รับการสนับสนุนเอง 

    ดังนั้นการที่เราให้ความรู้แก่พี่น้องประชาชน ให้เขาได้เห็นถึงภาพรวมของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของทางผู้แทนที่จะต้องนำเสนอข่าวสารให้ครบถ้วนรอบด้าน ให้พี่น้องประชาชนได้เห็น 

    ทำยังไงให้ประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับประชาชน ดิฉันคิดว่าจะเป็นสิ่งนึงที่จะทำให้ทีมงานของเราได้รู้สึกถึงความรู้สึกที่ว่า ทำสิ่งใดไปแล้วนั้น จะไม่ถูกต่อว่าจากผู้บริหารได้ ก็คือการให้เสรีภาพกับสื่อ ให้เขากลัาที่จะนำเสนอความจริง ข้อเท็จจริงให้กับสาธารณชนให้ได้มาก


    ในส่วนของที่ท่านอนันต์ได้กล่าวไป ในเรื่องของกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดผังรายการ เนื้อหาสาระ การให้ความรู้ นั่นคือวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นแนวทางที่จะทำให้สื่อของรัฐสภาได้มีหลักที่จะเดินอย่างไร และจะทำยังไงให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เข้ามารับรู้ข่าวสารของสื่อ 


    ดิฉันอยากให้ผู้บริหารมี database ในอดีตที่ผ่านมา ว่ามีคนติดตามการเมืองเท่าไหร่ และเข้ามาติดตามเพราะอะไร เนื้อหาอะไรที่เป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจ เราต้องมีข้อมูลเหล่านี้ว่า 

    พี่น้องประชาชนอยากที่จะรู้อะไร อยากที่จะได้ประโยชน์ตรงไหนจากสื่อรัฐสภา เราจึงจะสามารถผลิตเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ที่ทุกคนอยากรู้ได้จริงๆออกไป


    ’ หากว่าบอกเพียงแค่ว่าเราอยากจะให้อะไรแก่เขา แต่ไม่รู้เลยว่าเขาอยากได้อะไร

    ตรงนั้นก็คงจะไม่สามารถที่จะให้สื่อของเราเป็นประโยชน์แก่ทุกๆคนได้อย่างแท้จริง  



          ในวันนี้ก็ยังเป็นที่น่าดีใจว่า ในชั้นกรรมาธิการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องหรือญัตติที่สำคัญ เช่น เรื่องงบประมาณ เราก็มีความพยายามที่จะผลักดันให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามาเห็นถึงการทำงานของพวกเรา อาจจะไม่ได้ทั้งหมด 100%  แต่สิ่งที่เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขา ในส่วนของผู้แทนเอง ก็พยายามที่จะทำให้เกิดการถ่ายทอดสดให้ทุกคนได้มารับรู้ว่า 

    อะไรที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพวกเขา ในเรื่องงบประมาณแผ่นดินที่เป็นภาษีของพี่น้องประชาชนถูกจัดสรร ถูกใช้จ่าย ถูกทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติได้อย่างไร ตรงนี้ก็อยากที่จะให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตให้ได้


    แต่สิ่งที่ยังเป็นความลับ อาจจะเป็นเรื่องของความมั่นคงที่อาจจะทำให้ต่างประเทศได้รับทราบข่าวสารของเราในสิ่งที่ยังไม่ถึงบทสรุปแท้จริง ก็อาจจะต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าเพราะอะไรยังถึงไม่สามารถที่จะนำเสนอในชั้นการพิจารณาได้ ดิฉันคิดว่าพี่น้องประชาชนพร้อมที่จะเข้าใจ แลัวก็พร้อมที่จะสนับสนุนแนวทางการทำงานของรัฐสภาในทุกๆด้าน ถ้าหากมีการสื่อสาร มีการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ทำอะไรกันแบบงุบงิบ โดยที่พี่น้องประชาชนไม่รู้เลย อันนั้นก็อาจจะทำให้เกิดแรงระเบิดขึ้นมาในอนาคต 

    แต่ถ้าหากให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้ถึงการทำงานของเรา และเป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจ 

    นั่นก็จะทำให้การประชาสัมพันธ์ข่าวสารของรัฐสภา ได้ประสบความสำเร็จมากที่สุด





    ประเด็นที่สาม

    ในมุมประเด็นของการสร้างรูปแบบโดยผ่านสื่อที่เป็น digital transformation 

    รูปแบบใหม่ๆ ส.ส.อิ่ม คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นเหล่านี้ ?


          คิดว่าเป็นข้อแนะนำที่ดีที่เดียว ที่ควรจะนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันกับวิธีการในอดีตที่ผ่านมา ที่เรานำเสนอข้อเท็จจริงที่เรียกได้ว่า ถ้าผ่านจากสื่อของเรา สิ่งที่พี่น้องประชาชนมั่นใจได้ว่า อันนี้ออกมาจากปากของผู้แทนเองเลย อันนี้ออกมาจากฝ่ายสภานิติบัญญัติเองเลย เราจะทำยังไงให้เกิดการรับรู้ซ้ำๆ อย่างที่ท่านอนันต์บอกว่า บางทีเรื่องหลอก คนยังเชื่อเลยว่าเป็นเรื่องจริง เฟคนิวส์ต่างๆพอเข้ามาอยู่ในมือถือเรามากๆ ก็เหมือนกับอนุมานไปเลยว่าอาจจะจริงก็ได้ 


    ฉะนั้นแล้ว ดิฉันคิดว่าวิธีที่ทั้ง 2 ท่านแนะนำก็คือการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน นำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสภา นำเรื่องของกฎหมาย ให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆในตอนนี้ ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นกับใครก็ไม่รู้ แต่ว่าวันนึงอาจจะมาเกิดกับคนใกล้ตัวเขาก็ได้ หรือเกิดกับครอบครัวเขาเองก็ได้ 

    อาจจะต้องทำในเรื่องการสมมติเหตุการณ์ขึ้นมาว่าถ้าหากเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ อย่างเช่นตอนนี้ที่เราเพิ่งผ่านพรก. ในเรื่องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ ทุกคนโดนมาหมดแล้ว แต่บางคนยังไม่รู้เลยว่ากฎหมายที่จะใช้กำจัดคนที่มาฉ้อโกงทางออนไลน์ได้ จะทำยังไงได้บ้าง 

    ฉะนั้น การที่จะส่งคอนเทนต์เหล่านี้ ให้เขาได้รู้สึกว่าวันนึงเราอาจจะโดนก็ได้ คือสิ่งที่สำคัญที่เราควรจะต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงพี่น้องประชาชนให้ได้มาก


    สิ่งหนึ่งที่ดิฉันอยากจะนำเสนอ ก็อาจจะเป็นในเรื่องของการให้นิสิตนักศึกษา เยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแข่งขัน ตอบคำถาม การให้ความรู้ในเรื่องของกฎหมาย เช่นการเปิดคอร์สต่างๆ ให้พวกเขาได้รู้สึกว่า พวกเขาก็คือคนหนึ่ง ที่จะทำเสนอสิ่งเหล่านี้ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ให้สื่อสารให้ทราบเช่นเดียวกัน 


    ในอดีตที่ผ่านมา ที่ดิฉันจะขออนุญาตกล่าวถึงก็คือการให้นักเรียนหรือประชาชน ออกแบบโลโก้ของสถานีเรา ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เป็นเส้นๆในรูปของพานรัฐธรรมนูญ นี่ก็คือส่วนหนึ่งที่เป็นภาคประชาชนมในการเข้ามาร่วมกันออกแบบ แล้วก็ให้เขารู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวนะ ไม่ใช่เรื่องที่เขาจะเข้าไม่ถึง 

    ถ้าหากว่าทางคณะทำงานได้คิดกิจกรรมเหล่านี้มาบ่อยๆ ได้เชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม วันนี้ก็เช่นเดียวกัน ดิฉันทราบว่ามาจาก 50 เขต กทม.เลยนะคะ จากลาดกระบังก็มาด้วย จากพื้นที่ใกล้เคียงก็เข้ามาร่วมเช่นเดียวกัน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขารู้สึกว่า การเมือง กฎหมาย การออกนิติบัญญัติต่าๆงนั้น เขาสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและรับฟัง แล้วก็นำข้อมูลความรู้เหล่านี้ นำไปขยายต่อให้กับผู้ที่ไม่ได้มาวันนี้ได้เช่นเดียวกัน  ก็คงต้องใช้วิธีหลายๆวิธี ในการที่จะให้พี่น้องประชาชนเกิดการมีส่วนร่วม รับรู้ในเรื่องของกฎหมาย ข้อบัญญัติต่างๆค่ะ


    สภาเยาวชนจะทำให้น้องๆมีส่วนร่วมจริงๆได้อย่างไร? 

          ในส่วนของพรรคเพื่อไทยเราเองก็เคยทำโครงการที่เรียกว่า Change Maker นะคะ นั่นก็คือให้น้องๆได้มากำหนดนโยบายด้วย ไม่ใช่เกี่ยวแค่เรื่องการศึกษาของตัวเองเท่านั้น แต่หมายถึงคุณภาพชีวิตของเขา ที่เขาจะเป็นบุคลากรคนสำคัญต่อไปในภายภาคหน้า เขาอยากจะให้ประเทศเป็นอย่างไร อยากจะให้รัฐบาลกำหนดนโยบายเรื่องไหนบ้าง 

    เสียงของน้องจะถูกนำมาบรรจุเป็นนโยบายของพรรคการเมือง และนำไปสู่การผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไปในอนาคต

     นี่คือเหตุผลและตัวอย่างนึงที่เราทำไปแล้ว และเรรมั่นใจว่าเสียงของทุกคน มีคุณค่า มีความหมาย เราจะได้นำข้อมูลเหล่านั้น มาประกอบเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไปในอนาคต 


    Written by Toby G. Culbert | 6 August 2023






Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in