เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรื่องเล่าจากโลกสีเทาCruella
ซีรีย์วาย กับ สังคมไทย
  • การเปิดกว้างแต่ไม่เปิดรับของระบบความคิดเรื่องเพศที่มีในละคร ซีรีย์และภาพยนต์ เรื่องราวเหล่านั้นมีการแฝงการไม่ยอมรับหรือการเปิดรับบางอย่างที่มีในชีวิตจริงๆ ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นผลงานละคร ซีรีส์ ที่เป็นคู่จิ้น หรือที่เรียกกันว่า "วาย" กระนั้นการมีละคร ซีรีส์ออกมาสู่สายตาผู้คนมันไม่เป็นผลดีหรอ? ผู้คนจะได้ยอมรับมากขึ้นไม่ใช่หรอ? มันอาจจะจริงแต่ก็ไม่จริง ฟังดูอาจจะงงแต่เดี๋ยวจะมาอธิบายให้ ซีรีส์มี่มีความเป็นวายนั้นล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกับสังคม LGBT ทั้งนั้นแต่แทบไม่มีเรื่องไหนเลยที่กล้านำเสนอถึงสังคม LGBTแบบจริงๆจังๆ ในความเป็นจริงข้อที่1 เรามักจะเห็นหรือรู้สึกได้ว่า สังคมในปัจจุบันนั้นมีการเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงสังคมLGBTนั้นยังถูกจำกัดสิทธิ เสรีภาพอยู่มากที่ทางรัฐบาลพยายามที่จะแก้ไข(จนลืมไปแล้วว่าตอนนี้เรื่องพรบ.อยู่ไหนแล้วนานเกินคาดหมาย) ในความเป็นจริงข้อที่2 สังคมLGBTนั้นถูกคุกคามทางสังคม เผชิญปัญหาทางสังคมอยู่เรื่อยมา เพราะในประเทศไทยนั้นลึกๆแล้ว ไม่ได้มีการยอมรับสังคมLGBTอย่างจริงจังเท่าที่ควร ในความเป็นจริงข้อที่3 ปัญหาที่สังคมLGBTต้องเจอนั้นมีอยู่ 2 สาเหตุหลักๆคือ 1.ปัญหาทางด้านกฎหมาย 2.ปัญหาทางด้านการถูกมองภาพรวม ซึ้ง2ปัญหานี้แหละที่ทำให้สังคมของชาวLGBTนั้นไม่ถูกยอมรับทางสังคม ปัญหาทางด้านกฎหมายก็เป็นปัญหาที่ใหญ่มากๆ เช่นการเข้ารักษาพยาบาล การใช้สิทธิบางอย่างแทนกัน การจดทะเบียนสมรส การเลี้ยงดูบุตร ฯลฯ ส่วนปัญหาทางด้านการมองภาพรวมนั้นจึงกลายเป็นเครื่องมือหากินของกลุ่มคนโดยการอ้างถึงการสร้างการยอมรับในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ภาพจำต่างๆที่เราเห็นในละคร ซีรีส์ ภาพยนต์ กะเทยต้องตลก โวยวาย มีปัญหาทะเลาะตบตี ทอมต้องขี้เก๊กต้องพูดฮะ เกย์ต้องรวย การแสดงหรือสวมบทบาทเกย์ในภาพยนต์ ละครในอดีต ต้องใส่สีม่วง แอ๊บเสียง ทำไม้ทำมือ ฯลฯ เพื่อเป็นการสื่อสารกับคนดูว่านี้คือตัวละครที่เป็นเกย์นะ เป็นตุ๊ดนะ เป็นกะเทยนะ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างภาพจำที่บิดเบือนต่อความเป็นจริง เพื่อสร้างให้กลุ่มคนดูเห็นและจดจำภาพนั้น มาจนถึงยุคปัจจุบันผู้คนส่วนมากก็ยังติดภาพจำเหล่านั้นมา และมองผู้คนในสังคมLGBTเป็นแบบนั้น ส่วนการมาถึงของซีรีส์วายในยุคแรกนั้นๆ(ส่วนภาพยนต์ชาย-ชายในยุคนั้นยังไม่ได้เป็นที่นิยมและยังถูกสังคมในตอนนั้นกีดกัน จึงขอข้ามมาพูดเรื่องซีรีส์เลยละกัน) เริ่มมีการเขียนเป็นนิยายในเว็บจนมีคนเข้ามาอ่านและให้ความสนใจมากจนนำมาเป็นซีรีส์ พอออนแอร์ไปสักพักกระแสดีเกินคาดหมาย โด่งดังทั้งในไทยและต่างประเทศ ผู้คนเริ่มให้ความสนใจในวัฒนธรรมคู่จิ้น จนมีการทำออกมาอีกเยอะเเยะมากมาย แต่ทว่ายิ่งทำออกมายิ่งตีห่างจากความเป็นจริงที่สังคมLGBTอยากให้นำเสนอ การเลือกผู้กำกับ เลือกนักเขียน นักแสดง สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความหมายทั้งสิ้นอย่างว่าถ้ากลุ่มคนเหล่านี้พร้อมที่สนับสนุนสังคมLGBT มีความรู้เรื่องสังคมLGBT ทำความเข้าใจและตระหนักถึงสังคมนั้นจริงๆละก็ มันจะเป็นสิ่งที่ดีมาก สิ่งที่นำเสนอออกมาก็จะสะท้อนถึงปัญหาต่างๆที่ชาวLGBTต้องเจอ เพื่อที่จะได้จุดประเด็นทางสังคม เปลี่ยนรูปแบบความคิดต่างๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การแกไขปัญหาในอนาคต แต่อย่างว่าเขาคงไม่ได้ต้องการนำเสนอเรื่องเพศ สังคม และการยอมรับ เขาทำไปเพียงเพื่อหาเงิน ชื่อเสียง หรือผลประโยชน์ตอบแทนบางอย่าง เพราะในปัจจุบันนั้น กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า "สาววาย" "แฟนคลับ" ต่างๆนั้น ล้วนแล้วแต่มีกำลังซื้อที่สูงมาก เเละเป็นตลาดที่กว้างมากๆเช่นกัน การนำเสนอประเด็นต่างๆในละคร ซีรีส์ หรือภาพยนต์นั้นล้วนไม่เคยแตะถึงปัญหาที่สังคมLGBTได้พบเจอเลย แต่ไปเน้นการนำเสนอในรูปแบบ เซ็กส์และความรัก จึงทำให้ผู้คนในสังคมจำนวนมากล้วนคิดและเข้าใจไปเองว่า สังคมLGBTนั้นเพียงต้องการเรื่องเซ็กส์ และความรักแบบลวงๆ หรือถูกมองเป็นกลุ่มเบียงเบนที่เรียกร้องความสนใจของสังคม และแน่นอนคนไทยส่วนใหญ่ย่อมเป็นเช่นนั้นเพราะเห็นเเบบนั้น ในการปฏิบัติต่อ LGBT หลายคนจึงเห็นเป็นเรื่องปกติที่ไม่ควรเห็นเป็นเรื่องปกติเพียงเพราะพวกเค้าถูกมองในแบบที่ผิดๆ เช่นการถูกปฏิเสธเข้างาน ถูกสังคมbully ต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ ซึ่งมันไม่เหมือนในละคร หรือ ซีรีย์ เลย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่สังคมLGBTอยากให้แก้ไข แต่ก็มักจะถูกด่าถูกว่าและไม่สนใจทั้งๆที่ การนำเสนอนั้นเป็นเสมือนการขายอัตลักษณ์ตัวตนของพวกเขาที่พวกเขาไม่มีสิทธ์ที่จะพูดแม้แต่น้อย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in