เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
วิจารณ์โฆษณาส่งเสริมสังคมAlice Harmony
อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้ The Everlasting Teacher 7-Eleven Thailand ALICE HARMONY






  • ชื่อโฆษณา  : อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้

    ประเภท : โฆษณา
    แนว :  ส่งเสริมสังคม
    ผู้กำกับ :  อรรณพ ชั้นไพบูลย์
    ผู้จัดทำ  :  บริษัท: บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน)

    นำเสนอ : ต้อนรับวันครูแห่งชาติ16 มกราคม 2558


    เครดิตผู้จัดทำ

    บริษัท: บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน)

    สินค้า: 7-Eleven / CSR   ความยาว: 120วินาที

    เอเจนซี่โฆษณา: บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด

    Creative Group Head: นิภาภรณ์ อัครผลพานิช

    Production House: หมง ราม่า  ผู้กำกับ: อรรณพ ชั้นไพบูลย์


    เรื่องย่อ 

    โดยเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของ หมอณพ(นามสมมติ) ที่เล่าถึงความรักความผูกพัน ที่มีต่ออาจารย์หมอ ผู้ที่เป็นมากกว่าครูผู้ให้ความรู้ โดยได้เล่าย้อนไปในสมัยที่ตัวเองเข้ามาเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่1 ในคณะแพทย์ศาสตร์ และได้เรียนกับอาจารย์หมอ ศาสตราจารย์ นพ.เกษม(นามสมมติ) หมอณพตั้งใจเรียนและมุ่งมั่นที่จะเป็นหมอ เพื่อรักษาคนป่วย แต่ด้วยปัญหาส่วนตัวอีกทั้งยังต้องทำงานเลี้ยงตัวเองไปด้วย ทำให้ผลการเรียนออกมาไม่ดี ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็ได้ปั่นทอนกำลังใจและความตั้งใจของหมอณพลงไป อาจารย์หมอสังเกตเห็นว่าหมอณพขาดเรียนบ่อยๆ จึงตัดสินใจไปตามหมอณพ ให้กลับมาเรียนอีกครั้งอาจารย์หมอ ได้พูดให้กำลังใจหมอณพ ซึ่งก็ทำให้เขามีกำลังใจ และกลับมาตั้งใจเรียนอีกครั้ง

    โดยอาจารย์หมอก็ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ทั้งในด้านการเรียน รวมไปถึงเรื่องทุนการศึกษาของหมอณพ ทำให้หมอณพเรียนจบสำเร็จเป็นหมออย่างที่ตั้งใจและได้มีโอกาสกลับดูแลอาจารย์หมอที่เคยสอน และช่วยเหลือมา แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถยื้อชีวิตอาจารย์หมอเอาไว้ได้อาจารย์หมอจากไปพร้อมทิ้งจดหมายฉบับหนึ่งไว้ให้หมอณพ บอกเล่าความภูมิใจที่ได้เป็นครูได้ดูแลได้ให้ความรู้กับนักเรียน และถึงแม้จะหมดลมหายใจ แต่ก็ยังที่อยากจะเป็นครูต่อไปในร่างของอาจารย์ใหญ่



     ตัวละครในเรื่อง



          หมอทะเล ชลันธร หาญนิรัญกูร รับบทเป็น หมอนพ



    อาจารย์หมอเกษม


    โฆษณาชุดเรื่อง  อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้


    บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด นำเสนอภาพยนตร์ภาพยนตร์โฆษณาเชิดชูพระคุณครูและส่งเสริมสังคมชุด “อาจารย์ใหญ่  ครูผู้ให้”The Everlasting Teacher ต้อนรับวันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2558

     

            จุดมุ่งหมายของภาพยนตร์โฆษณาเรื่องดังกล่าวเริ่มต้นจากที่ทาง เซเว่น อีเลฟเว่น ต้องชวนคนไทยร่วมรำลึกถึงพระคุณครูผู้ให้ ปลุกจิตสำนึกคนไทยให้เห็นความสำคัญของคุณครูส่งเสริมวิชาชีพ และอยากให้ครูมีกำลังใจในการทำหน้าที่แม่พิมพ์ของชาติสืบต่อไป

     

              รามักได้ยินเสมอว่า“ครูเปรียบเสมือนเรือจ้าง” ที่มีหน้าที่ส่งศิษย์ให้ถึงฝั่ง แต่โฆษณาชิ้นใหม่จาก7-Elevenชิ้นนี้จะทำให้คุณเปลี่ยนความคิดไปจากเดิม

     

              “อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้”  The Everlasting Teacher โฆษณาชิ้นใหม่ล่าสุดจาก 7-Eleven ที่ผลิตขึ้นเพื่อเชิดชูพระคุณครูและส่งเสริมสังคมเรื่องราวตลอด 9.27 นาทีที่เราจะได้ชมต่อไปนี้ถูกสร้างจากเค้าโครงเรื่องจริงของอาจารย์หมอผู้เป็นครูผู้ให้อย่างแท้จริงเป็นครูผู้ที่นอกจากส่งให้ลูกศิษย์ทุกคนถึงฝั่งเเล้ว แต่ยังทำหน้าที่เป็นผู้เตือนสติเป็นคนที่ช่วยศิษย์ในวันที่หมดหนทาง และเรื่องราวของอาจารย์หมอผู้นี้นอกจากตอนที่ท่านยังมีลมหายใจจะสร้างหมอมารักษาและช่วยชีวิตคนนับแสนแม้ในวันที่ไร้ซึ่งลมหายใจก็ท่านก็ยังขอเป็นครูผู้ให้ตลอดกาล

       จากจุดหมายที่ดีจึงก่อให้เกิด Concept โฆษณาที่ดีตามมานอกจากเนื้อหาที่ซาบซึ้งกินใจโฆษณาที่ดียังต้องสามารถช่วยส่งเสริมสังคมได้ ทีมงานสร้างสรรค์ได้เลือกใช้การถ่ายทอดเรื่องราวของครูที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณและอุดมการณ์ความเป็นครู ผ่านเค้าโครงเรื่องจริงของอาจารย์หมอ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความเสียสละเป็นอย่างมากเนื่องจากรายได้ที่ได้รับจะน้อยกว่าบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปเรียกว่าเป็นผู้ให้อย่างแท้จริงและแม้จะหมดลมหายใจ ก็ยังได้สละร่างกายเพื่อเป็นวิทยาทานในร่างของ “อาจารย์ใหญ่”


     

    สรุปทฤษฎีรูปแบบนิยม

            ในสื่อโฆษณาปัจจุบันมักจะทำสื่อที่นำเสนอเป็นภาพยนตร์โฆษณาสั้น เพื่อสะท้อนสังคมสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม ให้น่าสนใจภาพยนตร์โฆษณาสั้นบางเรื่องก็มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริงและเรื่องเหตุการณ์สมมุติ และโดยคนไทยจะชอบละครที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึก อินตามแต่ในภาพยนตร์โฆษณาสื่อโฆษณาจะแทรกสาระและปลูกจิตใต้สำนึกให้ผู้ชมได้ตะหนักถึงความสำคัญในเรื่องที่นำเสนอ ที่เป็นเรื่องง่ายๆที่อยู่รอบตัวแต่ทุกคนมักจะลืมให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น เพื่อเตือนสติและเกิดแรงจูงใจให้บุคคลในสังคมถือและปฎิบัติตาม

       และมีภาพยนตร์โฆษณาสื่อแบบนี้จากบริษัทสินค้าต่างๆ ออกมาเลยขอยกตัวอย่างของ 7-Eleven Thailand ภาพยนตร์โฆษณาชุดส่งเสริมสังคมและเชิดชูพระคุณครู

    ในตอน“ อาจารย์ใหญ่ครูผู้ให้ ” เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่เรียกความซึ้งและร้องไห้ตามที่สะท้อนถึงพระคุณครูที่ไม่หวังผลตอบแทนโครงเรื่องนั้นได้กล่าวว่าทำมาจากเค้าโครงจริงของอาจารย์ซึ่งไม่ได้ระบุว่าที่มานั้นถูกสร้างขึ้นมากจากใคร แต่ผู้รวบรวมมาจากทวิตเตอร์ของหมอแมว  @mor_maew โดย เนื้อเรื่องหลักเป็นเรื่องที่สร้างมาจากเรื่องของอาจารย์แพทย์อ.สุด แสงวิเชียร ในเรื่องเล่าถึงอาจารย์แพทย์ที่สอนวิชากายวิภาคศาสตร์  ท่านหนึ่งในศิริราช  สำหรับคนที่ไม่รู้จักประวัติ อาจจะไม่อินเท่าไหร่  อาจารย์สุด สมัยที่มาสอนกายวิภาคศาสตร์ พบว่าปัญหาหนึ่งของนักศึกษาคือไม่มีอุปกรณ์ในการเรียนวิชาเอมบริโอวิชาที่บอกถึงการเจริญของตัวอ่อนที่นี้สไลด์ต่างประเทศก็ราคาแพงมาก อาจารย์สุดเลยคิดทำสไลด์ขึ้นเองตัวอ่อนก็ใช้ตัวอ่อนหมู โดยอ.สุดจะไปที่โรงฆ่าสัตว์ที่หัวลำโพง  จากนั้นขอซื้อเอามดลูกหมูตัวเมียมาผ่าเพื่อเอาตัวอ่อนหมูในท้องนำเอาไปแช่น้ำยา ตัดออกมา แล้วนำไปทำสไลด์อาจารย์สุดทำอยู่หลายปีร่วมกับอาจารย์ท่านอื่นด้วยจนที่สุดก็ได้สไลด์ที่ใช้มาจนปัจจุบันมากมาย

           ในโฆษณาเราจะเห็นแค่ว่าไปที่เขียงหมูแล้วซื้อซึ่งจริงๆไม่ได้ง่ายแค่นั้น
    ฉากที่ มีการยกกล่องพลาสติกใส่อวัยวะสอนนักศึกษา , กล่องรูปแบบนั้น คือการสอนรูปแบบที่ล้ำสมัยมากในสมัยนั้นคือวิชาtopographicanatomy  topographic anatomy คือวิชาที่ว่าด้วยการบอกว่าที่ระดับลำตัวเราระดับไหน ข้างในมีอวัยวะอะไรอยู่สัมพันธ์กับอวัยวะอื่นยังไง
    ที่ว่าล้ำสมัย เพราะ อาจารย์สุด สอน และนำร่างผู้บริจาค มากทำ  section  เพื่อสอนซึ่งในสมัยนั้นหลายคนไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าไม่มีที่ใช้

             

     

     แต่ในปัจจุบัน topographicanatomy คือสิ่งที่เราจะได้เห็นได้ใช้ในเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทั่วไป

             ชีท ที่อ.มอบให้ในคลิปในสมัยก่อนเราไม่มีหนังสือเรียนอนาโตมี การเรียนการสอนคืออาจารย์ทำเอกสารจากนั้นแจกให้นักเรียนก่อนที่จะผ่าอาจารย์ใหญ่ ชีทในคลิปตามรูปนั้น ในเวลาต่อมาก็รวมเป็นเล่มใช้ในการเรียนกายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาแพทย์ศิริราช (น่าจะ)จนถึงปัจจุบัน
    เรื่องจักรยาน อาจารย์สุดเคยเจอขโมยจักรยานและนักศึกษารวมเงินซื้อให้ อันนี้ก็เกิดขึ้นจริง (แต่เรื่องขายเลือดเพื่อเอามาซื้อ)  (ขายเลือดของนักศึกษาแพทย์ศิริราชจะเป็นตอนที่ขายเพื่อเอาเงินมาสร้างโรงยิมหลังโรงพยาบาล ปัจจุบันทุบไปแล้ว)
             สำหรับฉากที่อาจารย์ล้มในห้องน้ำเอ็นร้อยหวายขาดลูกศิษย์รักษาให้ อันนั้นไม่ใช่ของอาจารย์สุด แต่เป็นอาจารย์สรรใจที่เอ็นข้อมือบาดเจ็บแล้วอาจารย์ ธีรวัฒน์รักษา
    โดยอ.สรรใจ แสงวิเชียร ก็คือบุตรชายของอ.สุด แสงวิเชียรซึ่งก็เดินตามรอย เป็นอาจารย์กายวิภาคศาสตร์เหมือนกัน
             วันที่ ที่อาจารย์สุดแสงวิเชียร ถึงแก่กรรม คือวันเดียวกันกับวันที่ปรากฎในคลิป ครูผู้ให้ ของ7-ELEVEnแต่ที่ต่างกันคืออาจารย์สุด ถึงแก่กรรมที่บ้าน ไม่ใช่ที่โรงพยาบาล
    เมื่อถึงแก่กรรม อาจารย์สรรใจตัดขนผมของอาจารย์สุด ผู้บิดาใส่ในหีบศพ ส่วนร่างของอาจารย์สุด ก็ถูกนำไปสู่กระบวนการ
    ในเวลาต่อมา โครงกระดูกของอาจารย์สุดก็ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ ที่ตึกกรอส ศิริราช
    ประวัติของอาจารย์สุดในส่วนที่ปรากฎในคลิปสามารถหาอ่านได้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของอาจารย์เป็นประวัติที่มาจากคนรอบข้างและลูกศิษย์
          แต่ในส่วนภาพยนตร์โฆษณาที่ถ่ายทอดมานั้นมันจะขัดกับหลักความจริงไป ที่มันเป็นไปไม่ได้ แต่ไม่รู้ที่มาที่ไป เช่นในฉากที่ณพไม่มาเรียนคือก็ไม่มีเหตุผลหรือเรื่องอะไรที่ต้องหยุดเรียน ไปแอบกินข้าวเหลือถ้าความเป็นจริงในชีวิตคนถ้าลำบากก็อยากที่จะเรียกมากกว่า

      ฉาก CPR (ปั๊มหัวใจ) คุณหมอพยายาม จะปั๊มหัวใจอย่างดียวและคนเดียวไม่มีบุคลากรอื่นช่วยเหลือ

    ปั๊มหัวใจโดยไม่มีการใส่ท่อช่วยหายหายใจมันขัดไปนิดนึงที่ พยาบาลเป็นบอกให้คุณหมอหยุดปั๊มหัวใจ

    ในฉากสุดท้าย  ที่เจ้าหน้าที่และพยาบาลเข็นเปลคนไข้วิ่งเข้ามา แล้วคุณหมอทำหน้าตาตื่นวิ่งออกมา ช่วยเข็น แต่ในความเป็นจริงคุณหมอน่าจะรอที่ห้องฉุกเฉินมากกว่าและน่าจะเป็นฉากที่ช่วยคนไข้สุดความสามารถน่าจะดีกว่าที่คืนชีพชีวิตให้คนไข้น่าจะดีมากกว่า

             ในการทำภาพยนตร์โฆษณา คือ การเสียสละของอาจารย์ในภาพยนตร์โฆษณาและละลึกถึงพระคุณ แต่ในภาพยนตร์โฆษณาไม่ได้อ้างอิงถึงอาจารย์สุด แต่ถึงอย่างไรก็สื่อออกมาได้ดี ที่นำเรื่องราวที่สำคัญต่างๆของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงมารวมๆสอดคล้องกันทำให้เราซึ้งถึงความเสียสละ การเป็นผู้ให้ของครู เป็นตัวอย่างที่ดี

               จุดเด่น 

                   – สอดแทรกเนื้อหาจากเหตุการณ์จริง มารวมๆเป็นบุคคลสมมุติทำให้ครูเป็นครูที่เสียสละจริงๆ

                   – การเล่าเรื่องย้อนกลับไป ที่นิยมของคำว่าครูเปรียบเสมือนเรือจ้างถ่ายทอดออกมาได้ซึ้งละอินตาม

            จุดอ่อน

                   – สะท้อนถึงชีวิตของหมอณพน้อยเกินไป น่าจะเชื่อมโยงชีวิตมากว่านี้

                  –  ฉากสุดท้าย ที่เหมือนจะแสดงถึงการตั้งใจทำของหมอณพมันดูขัดหลักความจริง ฉากเข็นเตียง ในโรงพยาบาล        จริงๆคงไม่มีหมอรีบวิ่งมาขนาดนั้น

           ใช้เทคนิคอย่างไร

    -                  ในการเล่าเรื่องย้อนกลับไปครูเปรียบเสมือนเรือจ้าง ที่นำคำพูดให้เห็นภาพจริง ที่นำลูกศัษย์ขึ้นจากเรือ



     

     

     


     

    NjIo.Uu��!

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in