เคยสงสัยไหมว่า
ทำไมถึงเรียกว่าสะพานหัน
คำว่าแพร่ง (แถวย่านสามแพร่ง)คืออะไร
ทำไม แถววัดโพธิ์ ถึงเรียกว่าท่าเตียน แล้ว ท่าช้างล่ะ
ถนนข้าวสาร เคยขายข้าวสารมาก่อนใช่ไหม
วัดไตรมิตร คำว่าไตรมิตร ชื่อนี้มาจากไหน
และคำถามหลายคำถามยังวนเวียนอยู่ในหัวของฉัน
เกริ่นมายาวแบบนี้ต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไรหรอกก็แค่อยากถาม เพราะว่า เมื่อวานหลังจากออกกังกายเรียบร้อยแล้วฉันได้เปิดทีวี เพื่อดูรายการหนึ่ง ซึ่งพาไปเที่ยว อ ตะกั่วป่า จ พังงา ระหว่างที่ดูนั้น ทำให้แม่นึกถึงสมัยเป็นเด็ก สมัยที่อยู่พังงาเพราะว่าทางทีวีได้พาไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงไปดูการทำขนมเต้าส้อ ตอนที่ดูนางก็ บอกว่าสมัยที่เรียนนั้น อาจารย์ไม่ได้สอนเกี่ยวกับท้องถิ่นเลยเช่นเดียวกับฉันที่สมัยที่เรียนอยู่ที่ระนองนั้น ก็ไม่ได้รู้จักบ้านเกิดตัวเองเลย โชคดีที่ได้เที่ยวบ้าง ต่างจากพ่อที่ได้เรียนเกี่ยวกับท้องถิ่นตั้งแต่เด็ก ทำให้ฉันเริ่มคิดว่าทำไมมันช่างต่างกันแบบนี้ เราควรรู้จักบ้านเกิดไม่ใช่หรอ แม้กระทั่งที่เที่ยว ก็ยังมีที่มา ฉันเคยถามแม่ว่า สะพานหันที่แม่ไปบ่อยๆทำไมถึงเรียกว่าสะพานหัน แล้วซอยช่างเหล็ก (บ้านแม่ ที่กรุงเทพฯ) เมื่อก่อนขายเหล็กไหม ฯลฯ นางก็ตอบว่าไม่รู้ ฉันก็เงิบสิคะ อ้าว เป็นไปได้ไง คำตอบของแม่ ทำให้ฉันคิดว่า เราควรสนใจท้องถิ่นนะ โดยเฉพาะการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งมักจะเรียนวิชาหลักวิชาเดียว นั่นก็คือเรียนตามหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ของโรงเรียน จนฉันอดคิดไม่ได้ว่าทางโรงเรียนเขาคงคิดถึงเรื่องวัฒนธรรมหลัก (mainstream culture) กับ วัฒนธรรมรอง (sub culture) หรือเปล่า ประวัติศาสตร์ที่เราเรียน คือวัฒนธรรมหลัก ส่วนท้องถิ่น คือวัฒนธรรมรอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่สำคัญเท่ากับเท่ากับประวัติศาสตร์กระแสหลักหรืออาจะคิดว่า เมื่อเราอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เราเห็นอยู่ทุกวัน ก็ต้องรู้จัก ไม่ต้องเรียนก็ได้ เพราะว่าไม่ได้ออกข้อสอบ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in