เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รู้หรือไม่?ryeomook
LAR กับวงการ K-pop
  • ADVERTISEMENT

    ADVERTISEMENT

    LAR คืออะไร?
    ทำไมวงการ K-pop ของเกาหลีถึงฮิตใช้กัน?


    ก่อนอื่นเลย คงไม่มีแฟนคลับท่านไหนที่ไม่รู้จักคำว่า 
    MR removed จากคลิปมากมายในยูทูปที่เป็นการลบเสียงดนตรีออกเหลือไว้เพียงเสียงร้องของศิลปินเท่านั้น ใช่แล้ว มันคือการลบ MR (Music Recorded) หรือเพลงออกทั้งหมด โดยเป้าหมายคือการเหลือไว้เพียงเสียงร้องเท่านั้น อธิบายแบบเข้าใจง่ายที่สุด MR ก็เปรียบได้เหมือนคาราโอเกะที่มีเพียงเสียงดนตรี ไม่มีเสียงร้อง

    ถ้าสิ่งที่ทำการลบเป็น AR (All Recorded) หรือเสียงที่ถูกอัดไว้รวมกันหมด ทั้งเสียงดนตรีและร้อง เรียกง่าย ๆ ว่ามันคือเทป Studio Version ที่เราได้ยินได้ฟังจากใน MV หรือจากในอัลบั้มตามปกติ.. ถ้าหากสิ่งนี้ถูกลบจะทำให้เสียงหายไปทั้งหมด เพราะเสียงร้องกับดนตรีคือไฟล์เดียวกัน

    แต่ถ้าอัดเสียงร้องแยกแบบ LAR พอตัดเสียงดนตรีออกก็จะยังเหลือไฟล์เสียงร้องอยู่ดี...




    แล้วสรุปว่า LAR คืออะไรนะ?

    LAR (Live All Recorded) ง่าย ๆ เลยคือการอัดเสียงร้องแบบสดแยก โดยที่ยืนร้องเฉย ๆ ไม่ต้องเต้น ไม่ต้องทำการแสดง แต่การอัดเสียงก็ไม่ถึงขั้นเข้าห้องสตูดิโออัดทีละท่อนเพื่อไปตัดแปะ ไม่มีการตกแต่งเสียง แต่อาจผ่านการ mixed และ mastered เสียงเพื่อผสมและปรับความดังกับความถี่ของเสียงร้องให้ได้ตรงตามมาตรฐาน นั่นเท่ากับว่ามันไม่ใช่ Studio Version แบบใน MV ที่มีทั้งเสียงร้องและดนตรีผสมกันแล้ว เมื่อทำการตัดเสียง MR (เสียงดนตรี) ออกจึงยังมีเสียงร้องที่เกิดจากการอัดเสียงแยกทีหลังหลงเหลืออยู่


    ทำไมถึงต้องเป็น LAR?

    LAR เป็นระบบที่ทำให้การแสดงสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงและตัดหลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่ทันตั้งตัว เช่น

    • performance มีท่าเต้นที่หนักและทำให้เหนื่อยมาก หากต้องอัดหลายเทคก็จะมีความเสี่ยงที่เทคหลัง ๆ อาจจะทำให้ร้องไม่ไหว เกิดข้อผิดพลาดได้
    • ท่าเต้นมีท่าที่อาจทำให้มีเสียงอื่นแทรก เช่น เสียงปรบมือ
    • ลดปัญหาเสียงแทรกที่เกิดจาก accessories ต่าง ๆ ที่อาจไปกระแทกกับไมโครโฟนระหว่างเต้น
    • ตัดปัญหาการเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคที่มักเกิดได้บ่อย ๆ เช่น ไมโครโฟนหลุด หูฟังหลุด เสียงร้องไม่เข้าหูฟัง แบตเตอรี่เครื่องควบคุมหมด สัญญาณขัดข้อง และอื่น ๆ อีกมากมาย
    • sound engineer หรือวิศวกรเสียงทำงานหน้างานสะดวกขึ้น ไม่ต้องต้องคอยปรับไมโครโฟนทีละตัว บางทีเดี๋ยวเสียงดังเสียงเบา แต่ละคนเสียงที่ออกมาไม่เท่ากันก็จะทำให้การทำงานยุ่งยาก การ mix เสียงสดก็เช่นกัน เป็นต้น


    จะเห็นได้ว่าการใช้ LAR ช่วยลดความเสี่ยง ตัดหลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ performance ที่ถูกถ่ายทอดออกมามีคุณภาพที่สูงมากยิ่งขึ้น การใช้ LAR จึงค่อนข้างเป็นที่นิยมมากในช่วงที่ผ่านมาที่การแสดงและท่าเต้นมีความยากขึ้น ไม่เอื้ออำนวยต่อการร้อง.. และนอกจากจะมีข้อดีตามที่กล่าวมาแล้ว เสียงที่อัดมาก็ยังคงมีเสียงหายใจ เสียงลมกระแทกที่เกิดจากการออกเสียง และอื่น ๆ แทรกอยู่ตลอด ทำให้คนฟังยังรู้สึกว่ามันเป็นการแสดงสด มีความสมจริง




    แล้วมีอย่างอื่นนอกจาก LAR อีกหรือไม่?

    LMR (Live Music Recorded)  เป็นอีกรูปแบบที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม ซึ่ง LMR มีความคล้ายกับ LAR แต่แตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือการเปิด AR (มีทั้งเสียงร้องและดนตรี) แล้วร้องสดทับไปพร้อม ๆ กันกับเสียง AR ในระหว่างที่เต้นไปด้วย ซึ่งถ้าหากเราลบ MR (เสียงดนตรี) ออกจะได้ยินเสียงร้องสดแบบค่อย ๆ ไม่ดังมาก เพราะส่วนใหญ่มักจะเปิด AR ให้ดังจนแทบกลบเสียงร้องสดหมด บางทีก็ร้องสดบ้าง หยุดบ้าง (โดยเฉพาะท่อนฮุค) ก็ถือเป็นการโชว์การแสดงสดในเลเวลที่ปลอดภัยเช่นกัน เนื่องจากมีเสียง back up อยู่ตลอด แต่คุณภาพเสียงที่ออกมาอาจจะไม่ดีและสะอาดเท่า LAR





    ในความเป็นจริงแล้ว การแสดงแบบสดนั้นหาได้ไม่ยากก็จริง แต่การแสดงสดที่ถูกอัดและเผยแพร่นั้นมักจะไม่ใช่การแสดงสด 100% ล้วน มักจะมีการตัดแต่งเล็กน้อย อย่างวงออร์เคสตราที่ดัง ๆ อันดับต้น ๆ ของโลกเองก็จะมีการอัดล่วงหน้าก่อนการแสดงจริงที่จะถูกเผยแพร่ภาพทางออนไลน์ เพราะในระหว่างการแสดงอาจเกิดข้อผิดพลาดหรือเหตุสุดวิสัยอย่างที่ไม่คาดคิดได้เสมอ เมื่อทำการไลฟ์จบจึงมักมีการตัดต่อแก้ไขเล็กน้อยก่อนที่คลิปจะถูกปล่อยออกสู่สาธารณชน



    LAR จึงเป็นเสมือนหนทางในการนำเสนอการแสดงที่มีคุณภาพสูงสุด
    ในรูปแบบที่ยังคงความสมจริงมากที่สุดเช่นกัน


    อ่านวิเคราะห์ดนตรี click

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in