เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รู้แล้วดี GOOD TO KNOWliebefriday
Toxic Masculinity ความเป็นพิษ ที่แทรกซึมอยู่ในสังคมชายเป็นใหญ่

  • หลายคนอาจสงสัยว่า " Toxic Masculinity " คืออะไร  ? เหตุใดเราจึงควรรับรู้และพยายามแก้ไขพฤติกรรม ที่อาจจะนำไปสู่ Toxic Masculinity 
    Toxic Masculinity หรือ ความเป็นชายที่เป็นพิษ คือพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ที่ส่งผลให้คน ๆ นั้นคิดว่า นี่คือสิ่งที่ตนควรกระทำ และพยายามคิดลบหรือต่อต้านจากสิ่งที่ตนเชื่อว่า นี่คือ ' ความเป็นชาย '

    นักวิจัยบางคนเชื่อว่า Toxic masculinity มีองค์ประกอบหลักสำคัญ 3 ประการ 

    (1) Toughness
    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า " เป็นลูกผู้ชาย ต้องอดทน " ซึ่งคำนิยามพวกนี้ คือวลีที่จำกัดให้ผู้ชายต้องเป็นเพศที่แข็งแรง ห้ามอ่อนแอ และต้องดุดันเหมือนเครื่องจักรอยู่เสมอ จึงส่งผลให้การกระทำต่าง ๆ อาจมาในรูปแบบของการใช้
    ความรุนแรง เพื่อแสดงถึงความเป็นชายของตนเอง

    (2) Antifeminity 
    " เป็นผู้ชาย อย่าทำตัวเหมือนผู้หญิง " คำนิยามนี้คงแสดงให้เห็นถึงความหมายของ Antifeminity ได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะผู้ชายหลายคนอาจคิดว่า การแสดงออกทางอารมณ์ หรือการยอมรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น อาจส่งผลทำให้ความเป็นชายของตนลดน้อยลง จึงพยายามปฏิเสธหรือต่อต้านพฤติกรรมเหล่านี้ออกไป

    (3) Power
    " การมีอำนาจเพื่อใช้กดขี่ผู้อื่น " เราอาจจะเคยเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ ผ่านชีวิตประจำวันกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะจากครอบครัว สังคม หรือแม้กระทั่งผ่านบทเพลงในสื่อออนไลน์ ที่ถูกแต่งมาเพื่อสนองตัณหาของผู้ชาย ที่พยายามบอกเล่าเรื่องราวว่าตนนั้นเจ๋ง คูล ดูดี และมีอำนาจทางชื่อเสียง หรือการเงินมากแค่ไหน ถึงขั้นที่จะใช้สิ่งนั้นทำอะไรกับใครก็ได้ อย่างเช่น เพลงบางเพลงที่กล่าวถึงการใช้เงินเพื่อบังคับให้ผู้หญิงทำตามใจตน หรือมีเงินแล้วใคร ๆ ก็ต้องเข้าหา ฯลฯ 

    ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเห็นแล้วว่า Toxic Masculinity มีความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนในสังคมมากแค่ไหน ไม่เพียงแต่ผลกระทบต่อเพศตรงข้ามเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อตัวของเพศชายเองอีกด้วย ที่ต้องถูกตีกรอบและไม่สามารถแสดงออกถึงการกระทำอื่น ๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำให้ตนคิดว่า " นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผู้ชายเขาทำกัน "

    ' ความเป็นชาย ' ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเข้มแข็ง หรือร้องไห้ไม่ได้ เราทุกคนล้วนมีมุมที่อ่อนแอ หากเพียงแค่เปิดใจ เรียนรู้ และยอมรับความเท่าเทียมของกันและกัน ในอนาคตคนทุกเพศทุกวัย คงไม่ต้องประสบปัญหาที่มาจาก Toxic Masculinity และสังคมไทยของเราอาจจะสามารถพัฒนาได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่

    อ้างอิง:
    Verywell mind: https://shorturl.asia/Po3rv

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in