เรื่องโดย...สิริโชค โกศัลวิตร ผลงานลำดับที่ 15 ในคอลัมน์ "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ"คลิกเพื่ออ่าน.....บทนำ: เล่นแร่แปรวัตถุดิบ...รวมเรื่องชุดโดยนักเรียนเขียนเรื่อง 2018 ได้ที่นี่
จำได้ว่า... ลืมกินยาก่อนอาหารยาก่อนอาหารจึงกลายเป็นยาหลังอาหารไปทุกที!
จำได้ว่า... อ่านหนังสือเรื่องนี้ไปจากหน้าใด จำได้ทุอย่าง ยกเว้นคำตอบ!
จำได้ว่า... ต้องส่งงาน แต่ดันลืมหยิบงานออกมาส่ง!
แต่พอกับบางเรื่อง ใจบอกให้ลืม เหตุใดสมองกลับยิ่งจดจำโดยเฉพาะเรื่องความรักพังๆ วันวานที่ไม่มีวันหวนคืน ยิ่งหยั่งรากลึกลงไปอย่างแข็งแกร่ง หรืออาจเพราะจริงๆแล้ว สมองกับหัวใจไม่สามารถแยกออกจากกันได้นั่นเอง
หากจะกล่าวว่าการที่มนุษย์จดจำสิ่งต่างๆได้ขึ้นกับความใส่ใจนั้น อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด การเอาใจใส่การจดจ่อต่อการรับรู้บางสิ่ง หรือการใช้ “ใจ” สั่งให้สมองจดจำนั้น เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการทำให้การรับรู้ ฝังแน่นอยู่ในความนึกคิดของเราได้นานขึ้น หรือกล่าวง่ายๆว่า ทำให้เรายังคงจดจำสิ่งนั้นๆได้ ซึ่งกระบวนการจำของมนุษย์นั้นมีอยู่ 3 ขั้น โดยเมื่อเราได้รับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ภายใต้การกระตุ้นจากสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น สิ่งเร้าความรู้สึกจะถูกแปลงให้เป็นข้อมูลและจัดเก็บ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่จะหายไปภายในไม่กี่เสี้ยววินาที เราเรียกกระบวนการในขั้นนี้ว่า ความจำการรู้สึกสัมผัส (Sensory Memory) เหมือนเวลาที่เราเห็นสิ่งของต่างๆ ไม่ใช่ทุกสิ่งที่เราอยากจะได้ เราอาจจะเพียงแค่มอง ชื่นชมเพียงชั่ววินาที แล้วเดินผ่านสิ่งๆนั้นไปอย่างไม่ติดใจ
สิ่งของแต่ละอย่างที่เราได้มาครอบครอง ในท้ายที่สุดสิ่งๆนั้นก็ต้องกลายเป็น “ขยะ”
หากของสิ่งนั้นเป็นของใช้ประจำกายเราจะวางมันไว้ในที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และแน่นอนว่าเป็นที่ประจำ ซึ่งเราหยิบใช้อย่างไม่มีทางหลงลืม นั่นก็เหมือนกับการการทบทวนข้อมูล เป็นประจำในช่วงเวลาหนึ่ง จนทำให้สมองจดจำรูปแบบการวนซ้ำ แล้วส่งข้อมูลนั้นให้ผ่านเข้าสู่การเป็น ความทรงจำระยะยาว
ความจำบางอย่างยังสามารถเข้าสู่การเป็นความจำระยะยาวได้ด้วยการประมวลจากจิตใต้สำนึก เหมือนของบางอย่าง เราอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจากมันอย่างประจำเป็นกิจวัตร แต่มันมี “คุณค่า” ในฐานะของที่เรา“ระลึก” ถึง เราจึงเก็บมันไว้ในตู้เซฟใส่รหัสอย่างแน่นหนา และจะถูกเปิดออกมาเมื่อใส่รหัสที่ตรงกัน
ดังนั้น เหตุการณ์อันน่าเจ็บใจ อย่างการลืมกินยาก่อนอาหาร ลืมส่งงาน หรือแม้แต่ลืมเนื้อหาที่ใช้สอบจึงมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง เพราะอาจเกิดจากการที่เรา ไม่ได้ใส่ใจในข้อมูลเหล่านั้น หรืออาจไม่มีการทวนซ้ำข้อมูลมากพอ จนทำให้ข้อมูลทั้งหลายตกลงไปในถังขยะ โดยที่เราแทบไม่รู้ตัว
ในทุกวินาทีเราได้รับข้อมูลใหม่เข้ามาตลอดเวลา เราจึงจำเป็นต้องเลือกเก็บเฉพาะสิ่งที่เราคิดว่า “
แต่ละบ้าน มีการจัดการคัดแยกขยะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับการให้ “คุณค่า” ของสิ่งๆนั้น ขยะของบางบ้าน อาจเป็น สิ่งมีค่า ทั้งต่อใจและต่อกาย ของอีกบ้าน ในขณะที่ บางบ้านเก็บสิ่งที่บ้านอื่นเรียกว่า“ขยะ” ไว้ในฐานะ “
เฉกเช่นเดียวกับ “
อย่างไรก็ตาม การคงอยู่ของความทรงจำขึ้นกับอีกหลายปัจจัย นอกเหนือจากการให้ความสนใจหรือการให้คุณค่าในข้อมูลนั้น ยังมีเรื่องของระดับความลุ่มลึกของวิธีการแปลงข้อมูล กล่าวคือ การแปลงข้อมูลที่ได้รับมาให้อยู่ในลักษณะต่างๆ มีความซับซ้อนไม่เท่ากัน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบภาพ
เมื่อเปรียบกับความรักของคนหนึ่งคู่ ฝ่ายหนึ่งอาจจดจำเรื่องราวดีๆที่มีร่วมกันเป็นภาพความประทับใจเมื่อตอนที่อยู่ด้วยกัน เสียงหวานๆที่คอยพร่ำรัก หรือการให้คำนิยามในเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้นร่วมกันว่าคือ ความสุข ในขณะที่อีกฝ่าย อาจจดจำเรื่องราวต่างๆโดยเชื่อมโยงถึงความทรงจำส่วนอื่นๆของตน เช่น เมื่อตนกับคู่รักฟังเพลงด้วยกันท่ามกลางบรรยากาศโรแมนติก ทำให้เกิดการเทียบเคียงความสุขนี้ กับฉากในภาพยนตร์ที่ชอบ ตอนที่ตัวเอกมีความสุขร่วมกัน ซึ่งคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับตน ดังนั้นความทรงจำของ เขา หรือ เธอ คนนี้จึงเป็นความทรงจำที่ฝังแน่นมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ที่บันทึกความทรงจำเป็นเพียงภาพเสียง หรือการให้คำนิยาม
นอกจากนี้ ความทรงจำหนึ่งๆสามารถคงอยู่นานหรือไม่ อาจขึ้นกับบริบท ณ ขณะที่มีการแปลงรหัสข้อมูล เช่น เวลาที่เดินเข้าไปในห้องแล้วจำไม่ได้ว่าต้องการจะเข้ามาเอาอะไร แต่เมื่อเราย้อนกลับไปในที่แห่งเดิม ที่ที่เราคิดว่าจะเดินเข้ามาในห้องเพื่อหยิบของบางสิ่ง เรากลับจำได้ว่าเมื่อสักครู่เราเข้าไปในห้องนอนเพื่อต้องการสิ่งใด สาเหตุที่เราจำไม่ได้ เนื่องจากบริบทที่เราใช้ระลึกถึงความจำนั้นไม่สอดคล้องกัน เวลาที่เราย้อนกลับมาในที่ที่เราเก็บบันทึกความจำนั้นไว้ จึงทำให้เราระลึกถึงความจำนั้นได้ เช่นเดียวกับบางคน ความทรงจำของความรักครั้งเก่าอาตเลือนลาง หรือถูกจัดไปเป็นขยะแล้ว แต่ภาพความทรงจำวันวานสามารถแสดงขึ้นมาให้ระลึกถึงได้ เมื่อเห็นสิ่งของบางอย่าง หรือผ่านไปสถานที่บางแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความรักครั้งเก่า
ดังที่กล่าวไปว่า การลืมหรือลบเลือนความทรงจำก็เหมือนกับการ “ทิ้งขยะ”
แต่บ่อยครั้ง ขยะนั้นก็เกิดความล้มเหลวในการกู้กลับคืน (Retrieval Failure) เช่นเดียวกับ ความทรงจำ เมื่อไม่มีสิ่งกระตุ้น ก็จะไม่สามารถปรากฏขึ้นมาในความคิดได้ และยิ่งประกอบกับหากมีแรงจูงใจที่จะลืม (Motivated Forgetting) ความทรงจำนั้นก็อาจจะไม่มีวันย้อนหวนคืนเหมือนขยะที่ถูกฝังกลบอย่างแน่นหนา ไม่มีค่าในการนำกลับมาใช้อีกได้อีกเลย
จริงที่ว่ากระบวนการจำและลืมของมนุษย์ไม่ได้ง่ายดาย เหมือนกับการสะสมสิ่งของหรือทิ้งขยะ และมนุษย์ก็ยังคงเจ็บปวดกับความทรงจำเก่าๆ ที่โผล่ขึ้นมาให้โหยหาหรือเสียน้ำตาได้แทบทุกครั้ง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน จะมีความทรงดีๆใหม่ๆเท่าไหร่มากลบทับไว้ หรือไม่ว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เชื่อว่ามีความมั่นคงในความรู้สึกเพียงใด ความทรงจำนั้นก็ไม่ได้หายไป มันยังคงตกตะกอนอยู่ในซอกหลืบสักแห่งในกองขยะแห่งความทรงจำนั้น
เศษขยะของภาพความผูกพันระหว่าง เขา และ คุณ ในตู้เซฟใส่รหัสล็อคกุญแจอย่างแน่นหนา มันอาจถูกขยะชิ้นอื่น มาแทนที่ อาจไม่มีค่าพอ จนถูกฝังกลบอยู่ก้นลึกของผืนดิน และไม่สามารถขุดหลุมกู้คืนกลับมาในความทรงจำของ เขา ได้แล้ว แต่สำหรับ คุณ ขยะชิ้นนั้นยังคงเป็น
ผลงานชุด “ความทรงจำ” ประกอบด้วย
- ความเรียงเรื่อง “ให้ความทรงจำเป็นเหมือน ‘ขยะ’” โดย สิริโชค โกศัลวิตร
- เรื่องสั้น “ชื่อที่ไม่มีวันลืม” โดย ปุณยาพรสุข ศาลาสุข
- เรื่องสั้น “This white dog and that white wolf” โดย พิมพ์ภาณิณ โชติมา
วัตถุดิบ
- บทกวีคำซ้ำเรื่อง “ขาว” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
- บทกวีเรื่อง “ขยะบางชิ้นถูกเก็บรักษาอย่างดี” ของ โรสนี นูรฟารีดา
- ความเรียงเรื่อง“นักเดินทางน้อยๆ...ต้อยติ่ง” ของ รักษิตา
- คำว่า “เทียม” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา
-----------------------------------------
ผลงานเรื่องอื่นๆ สืบเนื่องจากกิจกรรม "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ"
ผลงานชุด “ต้นไม้” ประกอบด้วยเรื่อง
- เรื่องสั้น “พักพิง” โดย บุณฑริกา จิตพินิจกุล
- เรื่องสั้น “ต้นไม้โตขึ้นบ้าง หรือ กระถางเล็กลงหน่อย” โดย ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์
- เรื่องสั้น “ ‘กระถิน’ ปลูกลงดินไม่ได้” โดย จุฬารัตน์ กุหลาบ
ผลงานชุด “หมู่บ้านล้านดอก” ประกอบด้วย
- เรื่องสั้น “ดอกบัว” โดย นันทวัน มงคลสถิต - เรื่องสั้น “กะฮอม” โดย เมธินี โสภา - เรื่ิองสั้น “ดาวเรือง” โดย ณฐพร ส่งสวัสดิ์
ผลงานชุด “ชะตากรรม” ประกอบด้วยเรื่อง
- เรื่องสั้น “กรำชะตา” โดย พิชญา วินิจสร
- เรื่องสั้น “กำชะตา” โดย ณิชมน จันทวงศ์
ผลงานชุด “เด็กเด็กเด็ก” ประกอบด้วย
- ความเรียง “ฉันผิดที่เป็นเด็กสายศิลป์” โดย ธนวิชญ์ นามกันยา
- เรื่องสั้น “คุยกับเด็กในความทรงจำ” โดย ปิยภัทร จำปาทอง
- เรื่องสั้น “ดอกแก้วแลดาวเหนือ” โดย กัลยรัตน์ ธันยดุล
ผลงานชุด “LUNCH” ประกอบด้วย
- เรื่องสั้น “อาหารกลางวันบนชั้น 21” โดย วรันพร ตียาภรณ์
- เรื่องสั้น “อาหารฝันกลางวัน” โดย ชัญญานุช ปั้นลายนาค
- เรื่องสั้น “อาหารกลางวันที่เจ้าบ้านหายไป” โดย ณิชา เวชพานิช
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in