혼불
หลังจากอ่านฮนบุล สิ่งที่ชัดที่สุดในความรู้สึกคือตีมคำถามเกี่ยวกับชีวิต
— เรามีชีวิตอยู่ไปทำไม?
— ชีวิตกับความตายไกลกันขนาดไหน?
— ชีวิตของทุกคนถูกลิขิตด้วยชะตาจริงไหม?
ฮนบุลพาเราทั้งตั้งคำถามและยกตัวอย่างคำตอบจากหลายๆ มุมมองในเวลาเดียวกัน
ตัวละครแจกยอมกับแทฮีเจอกันเมื่อเป้าหมายชีวิตที่ตรงกันข้ามมาบรรจบกันพอดีตรงกลาง คนหนึ่งรอที่จะบรรลุเป้าหมายชีวิตในการแก้แค้น อีกคนรอวันที่จะได้จบชีวิตที่ว่างเปล่าและน่าเบื่อ ทั้งสองคนควรจะเป็นเส้นที่ตัดกันบนจุดหนึ่งและแยกกันไป แต่ไม่ใช่แบบนั้น
นักเขียนกับเอาความเชื่อ local มาทำเป็นเซ็ตติ้งที่ใหม่ และน่าสนใจ ไม่ใช่แค่หยิบยืมมา แต่เป็นการเข้าไปตั้งคำถามและถ่ายทอดออกมาได้ด้วยวิธีที่เห็นภาพและคำบรรยายเป็นตรระกะ เป็นการอธิบายที่ทำให้รู้สึกว่าเป็น philosophy + science มากกว่า local folklore ถึงแม้ว่ามองจากข้างนอกมันจะเป็นอย่างหลัง แต่ทำออกมาได้ร่วมสมัย เข้าใจง่าย และเป็นมุมมองที่ทำให้เห็นว่านักเขียนมองจากหลายแง่มุมไม่ใช่แค่ถ่ายทอดความคิดของตัวเองเท่านั้น สำหรับคนที่ไม่เคยสัมผัสความเชื่อทางเกาหลีมาก่อนก็เข้าใจได้ง่าย และที่สำคัญคือถ่ายทอดออกมาด้วยมุมที่เป็นกลาง ไม่ทำให้รู้สึกว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ แต่แค่เล่าให้ฟังและให้คนที่อ่านเลือกเข้าใจเอง
ฮนบุลใช้ความตายในการสะท้อนกลับการใช้ชีวิต และทำให้เห็นว่าการใช้ชีวิตคือโอกาส อนาคตคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำในวันนี้ และแม้จะพลาดไป การปล่อยมือจากอดีตและใช้ชีวิตในวันนี้อย่างที่มันเป็นคือการสร้างวันข้างหน้าให้ตัวเอง แม้บางอย่างเหนือการควบคุมของมนุษย์ หรือจะมองว่าจริงๆ แล้วนั่นอาจเป็นผลของอดีต ณ จุดใดจุดหนึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองและทางเลือกของตัวเองด้วยเช่นกัน
“ความหมายของชีวิต ทั้งกระจอกและยิ่งใหญ่มากในเวลาเดียวกัน” -- Toldju (ตอน 339)
คอนเซปที่เห็นได้ในวัฒนธรรมเกาหลีอันหนึ่งคือการตั้งคำถามเรื่องว่าชีวิตถูกกำหนดไว้แล้วหรือเราเลือกได้ เคยเจอมาจากหนังสือ Pachinko ที่ถึงจะไม่ได้กล่าวถึงอินยอนโดยตรง แต่ก็มีการตั้งคำถามเรื่องชะตาชีวิตว่าจะฝืนได้หรือไม่ เลยคิดว่าคอนเซปและการตั้งคำถามประเภทนี้ค่อนข้างจะทั่วไปในวัฒนธรรมเกาหลีหรือเปล่า
เจาะจงลงไปอีก ในฮนบุลมีการพูดถึง 인연 อินยอน หรือ โชคชะตา ใครที่เคยดู Past lives อาจจะเคยเห็น ใน Past lives นางเอกอธิบายไว้ว่าเป็น Providence or Fate ที่ใช้กล่าวถึงโดยเฉพาะกับความสัมพันธ์ระหว่างคน ถ้าเป็นคอนเซปไทยๆ คงจะคล้ายๆ กับไอเดียของ ภพชาติ ตรงที่ว่าถ้าเคยทำอะไรร่วมกันไว้ในชาติที่แล้วก็จะส่งผลให้เจอกันอีกในหลายชาติต่อมา ในเกาหลีมีคำพูดว่า แค่ชายเสื้อปัดผ่านกันก็ถือเป็นอินยอนแล้ว การที่คนสองคนมาพบกัน แสดงว่าในชาติไหนซักชาติ เคยมีอะไรร่วมกันมาก่อนถึงได้เจอ จริงๆ คอนเซปนี้
สำหรับฮนบุล คอนเซปนี้ก็ถูกพูดซ้ำถึงสองรอบ ว่าแค่ใบไม้ร่วงลงบนจุดหนึ่งก็ถือเป็นอินยอนแล้ว จะมองว่าเป็นการบอกว่าทุกอย่างมีเป้าหมายของการเกิดมา หรือจะมองว่าทุกชีวิตถูกกำหนดไว้แล้วก็ได้ ตรงนี้คือทางแยกของความเชื่อสองฝั่งเกี่ยวกับชีวิต ด้านที่เชื่อว่าทุกอย่างกำหนดไว้แล้วและหนีไม่พ้น กับด้านที่ว่าเรากำหนด/ต่อรองกับชะตาชีวิตได้ และเป็นอีกหนึ่งตีมหลักของเรื่อง
แต่เป็น take on อินยอนที่ไม่ได้มีแต่ด้านโรแมนติคหรือแฟนตาซีไปเลย อินยอนถูกแปรลงไปเป็นสัญลักษณ์เล็กๆ หลายๆ ความหมาย และเหมือนมีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน นักเขียนทำคอนเซปที่จับต้องไม่ได้และอธิบายยาก เปลี่ยนเป็นเซตติ้งสมมติและใส่ลงมาในนิยายให้เข้าใจง่ายและแนบเนียน เช่น เครื่องหมายแห่งมาตุภูมิ ตอนแรกที่อ่านเราพยายามหามากว่า ตราแห่งมาตุภูมิคืออะไร คิดว่าเป็นคอนเซปที่มีจริงอยู่แล้ว แต่จริงๆ มาเฉลยในตอนท้ายว่าเป็นสิ่งสมมติที่นักเขียนสร้างขึ้นมา ถ้าแทนคอนเซปของฝรั่งลงไปน่าจะเกือบเหมือน cosmos ที่เป็นจุดกำเนิดของทุกสิ่ง แม้แต่สิ่งที่เราคิดกันว่าคือ ตรรกะ แต่ตราแห่งมาตุภูมิยังมีความเชื่อปนลงลงไปในแง่ที่เป็นกระดานหมากกำหนดโดยความต้องการและความรู้สึกของใครซักคนเบื้องบน หรือจะเป็น
เหมือนกันกับเรื่องโชคชะตา นักเขียนเขียนเกี่ยวกับเรื่องชีวิตได้หลากหลายมุมมอง เหมือนเราได้เห็นการตีความของคนหลาย ๆ คน วิธีที่ใช้บ่อยคือการตั้งคำถามผ่านตัวละครแจกยอม แจกยอมเป็นตัวละครที่ perceptive และเปิดใจ รับฟัง พยายามเข้าใจคนอื่นมากๆ โดยเฉพาะกับแทฮี การตั้งคำถามของเค้าทำให้นักอ่านพลอยได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ทั้งจากการคุยกับเต่ายูที่ใช้ชีวิตไปแค่เพราะก็ต้องใช้ และวันใหม่มันมาเยือนเรื่อยๆ หรือแบบเมซานที่มีความสุขกับการได้เล่นกับแร็คคูนและนกเขา กินอาหารอร่อยๆ ของชองจู สนุกกับวันนี้และรอให้วันใหม่มาเยือนอีก หรือแม้แต่แทฮีที่มีชีวิตอยู่เพื่อแก้แค้น แต่ท้ายที่สุดเมื่อการแก้แค้นจบลง ก็พบว่าชีวิตว่างเปล่า และสิ่งที่ไล่ตามมาตลอด ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง
โดยรวมเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรพลาด สำหรับสายนิยายจีนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นรอง มีความเนิบในช่วงแรกแต่สำหรับเราส่วนตัวในมาตรฐานของนิยายเกาหลีเท่าที่อ่าจมา กับเซ็ตติ้งแนวนี้ก็ถือว่าดันเพดาน การสร้าง setting ก็ทำได้สอดคล้องกับเรื่องจริงจนรู้สึกทั้งจับต้องได้และแฟนตาซีในเวลาเดียวกัน สมกับเป็นนิยายเกาหลีที่ขึ้นชื่อเรื่องการสมมติและสร้างองค์ประกอบ มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่แต่ไม่ได้ฟุ้งซ่าน แต่อาจเพราะเป็นเรื่องแรกของนักเขียน พูดตรงๆ มาเข้มข้นช่วงตอน 100กว่าเป็นต้นไป ขนาดตัวเองที่ตั้งใจอย่างอ่านยังต้องใช้คำว่าเข็นอ่านในช่วงร้อยตอนแรก เพราะหงุดหงิดแทฮีด้วยหนึ่ง เป็นนิยายที่มีช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อ ไม่ได้เป็นแนวต้องอ่านไม่งั้นจะค้างแบบตอน Dash แต่ด้วยความที่ดีเทลค่อนข้างเยอะ เข้าใจว่านักเขียนอาจต้องใช้เวลากะ pace การเล่า คิดว่าเรื่องต่อไปของโทลจยูนิมน่าจะออกมาปังยิ่งกว่านี้อีกแน่นอน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in